เนื้อหาสำคัญ

ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า

จากพระไตรปิฎกเพิ่มเติมได้ที่

http://www.tripitaka91.com

 

เอกสารสื่อฯ

https://bit.ly/2SkQgjG

 

รวมเรื่องพระภิกษุ รับ ให้รับ

หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

https://bit.ly/2A8tRzi

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbsNWJaa_PTjRst5_A

 

รวม คำถาม-คำตอบ

เรื่องพระรับเงิน-ทองและกิจกรรมแจกสื่อฯ

https://bit.ly/2CrwNbI

 

ข้อมูลจากพระไตรปิฎกฯ

ที่เกี่ยวข้องกับการแจกสื่อฯ

https://bit.ly/2PTho7q

 

ข้อธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของฆราวาส

https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/960-secular

 

กิจกรรมแจกสื่อฯ ทั้งหมด

(เฉพาะที่บันทึกอย่างเป็นทางการ)

https://bit.ly/2R89g7T

 

ภาพรวมการแจกสื่อฯ ทั้งประเทศไทย

https://bit.ly/2SeAQhd

 

Facebook กิจกรรมแจกสื่อฯ

https://www.facebook.com/315109618595115

กิจกรรมแจกสื่อฯ ทั้งหมด (ทั้งในและต่างประเทศ)

กิจกรรมแจกสื่อฯ ทั้งหมด (ทั้งในและต่างประเทศ)

01 August 2019

กิจกรรมแจกสื่อฯ ทั้งหมด   ภาพรวมการแจกสื่อหยุดทำร้ายพระพุทธศาสนาทั้งประเทศไทย [358] 23-26 ธันวาคม 2566 บึงกาฬ สกลนคร กาฬสินธุ์ วังสามหมอ กันทรวิเชียร [357] 12-14 พฤศจิกายน 2566 เลย อุดรรธานี อำเภอสังคม [356] 29-30 ตุลาคม 2566 ร้อยเอ็ด [355] 23, 24...

ข่าวล่าสุด

[360] 18 และ 26-29 กุมภาพันธ์ 2567 ชัยภูมิ นครราชสีมา

[360] 18 และ 26-29...

[360] 18 และ 26-29...

2024-03-10 13:29:00

มุกดาหาร

...

2014-09-01 14:56:00

ข่าวยอดนิยม

ประกาศกิจกรรมแจกสื่อ

  • ไม่มีกระทู้แสดง

ความคิดเห็นล่าสุดในกิจกรรมต่าง ๆ

ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๘-๙๕๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๕-๘๙๗ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘

พรรณนารูปิยสิกขาบท

 

          ในคำว่า  สงฺฆมชฺเฌ นิสฺสชฺชิตพฺพํ  นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า

พึงสละแก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล

ก็เพราะธรรมดาว่ารูปิยะเป็นอกัปปิยะ (เป็นของไม่สมควร).

          อนึ่ง เพราะรูปิยะนั้น เป็นเพียงแต่ภิกษุรับไว้เท่านั้น

เธอไม่ได้จ่ายหากัปปิยภัณฑ์อะไรด้วยรูปิยะนั้น;

ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงการใช้สอยโดยอุบาย

จึงตรัสว่า พึงสละในท่ามกลางแห่งสงฆ์.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ข้อว่า  กปฺปิยํ อาจิกฺขิตพฺพํ สปฺปิ วา  มีความว่า

พึงบอกอย่างนี้ว่า อุบาสก เนยใส หรือน้ำมัน ย่อมควรแก่บรรพชิตทั้งหลาย.

 

[ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ]

 

          ข้อว่า  รูปิยปฏิคฺคาหกํ   ฐเปตฺวา  สพฺเพเหว  ปริภุญฺชิตพฺพํ  มีความว่า

ภิกษุทั้งหมดพึงแจกกันบริโภค.

ภิกษุผู้รับรูปิยะไม่พึงรับส่วนแบ่ง.

แม้ได้ส่วนที่ถึงแก่พวกภิกษุอื่น

หรืออารามิกชนแล้ว จะบริโภคก็ไม่ควร.

โดยที่สุด เนยใส หรือน้ำมันนั้น อันดิรัจฉานมีลิงเป็นต้น

ลักเอาไปจากส่วนแบ่งนั้น วางไว้ในป่า

หรือที่หล่นจากมือของสัตว์เหล่านั้น

ยังเป็นของอันดิรัจฉานหวงแหนก็ดี

เป็นของบังสุกุลก็ดี ไม่สมควรทั้งนั้น.

แม้จะอบเสนาสนะ

ด้วยน้ำอ้อยที่นำมาจากส่วนแบ่งนั้นก็ไม่ควร.

จะตามประทีปด้วยเนยใส หรือน้ำมันแล้วนอนก็ดี

กระทำกสิณบริกรรมก็ดี สอนหนังสือก็ดี

ด้วยแสงสว่างแห่งประทีป ไม่ควร.

อนึ่ง จะทาแผลที่ร่างกายด้วยน้ำมัน

น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น

จากส่วนแบ่งนั้น ก็ไม่ควรเหมือนกัน.

คนทั้งหลาย เอาวัตถุนั้น

จ่ายหาเตียงและตั่งเป็นต้นก็ดี

สร้างอุโบสถาคารก็ดี สร้างโรงฉันก็ดี

จะบริโภคใช้สอย ก็ไม่ควร.

แม้ร่มเงา (แห่งโรงฉัน เป็นต้น)

อันแผ่ไปอยู่ตามเขตของเรือน ก็ไม่ควร.

ร่มเงาที่เลยเขตไป ควรอยู่ เพราะเป็นของจรมา.

จะเดินไปตามทางก็ดี สะพานก็ดี เรือก็ดี แพก็ดี

ที่เขาจำหน่ายวัตถุนั้นสร้างไว้ไม่ควร.

จะดื่มหรือใช้สอยน้ำที่เอ่อขึ้นเต็มปริ่มสระโบกขรณี

ซึ่งเขาให้ขุดด้วยวัตถุนั้นก็ไม่ควร.

แต่ว่า เมื่อน้ำภายใน (สระ) ไม่มี น้ำที่ไหลมาใหม่ หรือ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

น้ำฝนไหลเข้าไป สมควรอยู่.

แม้น้ำที่มาใหม่ซึ่งซื้อมาพร้อมกับสระโบกขรณี

ที่ซื้อมา (ด้วยวัตถุนั้น) ก็ไม่ควร.

          สงฆ์ตั้งวัตถุนั้นเป็นของฝาก (เก็บดอกผล) บริโภคปัจจัย

แม้ปัจจัยเหล่านั้น ก็ไม่ควรแก่เธอ.

แม้อารามซึ่งเป็นที่อันสงฆ์รับไว้ (ด้วยวัตถุนั้น)

ก็ไม่ควรเพื่อบริโภคใช้สอย.

ถ้าพื้นดินก็ดี พืชก็ดี เป็นอกัปปิยะ,

จะใช้สอยพื้นดิน จะบริโภคผลไม้ ไม่ควรทั้งนั้น.

ถ้าภิกษุซื้อพื้นดินอย่างเดียว เพาะปลูกพืชอื่น,

จะบริโภคผล ควรอยู่.

ถ้าพืชภิกษุซื้อมาปลูกลงในพื้นดินอันเป็นกัปปิยะ

จะบริโภคผล ไม่ควร.

จะนั่งหรือนอนบนพื้นดิน ควรอยู่.

          ข้อว่า  สเจ โส ฉฑฺเฑติ  มีความว่า

เขาโยนทิ้งไป ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง.

ถ้าแม้นเขาไม่ทิ้ง หรือถือเอาไปเสียเอง,

ไม่พึงห้ามเขา

          ข้อว่า  โน เจ ฉฑฺเฑติ  มีความว่า

ถ้าเขาไม่ถือเอาไป และไม่ทิ้งให้ หลีกไปตามความปรารถนา

ด้วยใส่ใจว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยการขวนขวายนี้,

ลำดับนั้น สงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้มีลักษณะ

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.

 

http://www.tripitaka91.com/3-948-17.html

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994