บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว หาได้ยากในโลก

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

“บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว

หาได้ยากในโลก”

 

เล่ม ๓๔ หน้า ๕๒๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๔๙-๕๕๐ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓

 

ก็เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัติ นี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

“ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า

ความลำบากจักมีแก่เรา

และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ

เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ

มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก

แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้

ก็เรื่องความลำบากของเรา

และความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัติ

นี้เป็นเรื่องเล็กน้อย

ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล

ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า”

 

เล่ม ๒๒ หน้า ๖๕-๗๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๒-๖๘ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑

คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑

คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล”

 

เล่ม ๓๓ หน้า ๓๔๕-๓๔๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๐๕-๓๐๖ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒

พระที่ต้องอาบัติปาราชิกหรือต้องอาบัติเป็นประจำทั้งที่รู้อยู่แล้วไม่แก้ไข สึกแล้วยังมีทางรอด

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

“เหตุเกิดเรื่อง อัคคิขันโธปมสูตร”

 

“พระศาสดา ประทับนั่งแล้ว

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูกองไฟใหญ่โน้น

แล้วทรงแสดงอัคคิขันโธปมสูตร.

 

ก็เมื่อตรัสไวยากรณ์นี้อยู่

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปรากเลือด.

ภิกษุประมาณ ๖๐ ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์.

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปมีจิตไม่ยึดมั่น

ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย.

 

ก็เพราะได้ฟังไวยากรณ์นั้น

นามกายของภิกษุประมาณ ๖๐ รูปก็กลัดกลุ้ม

เมื่อนามกายกลัดกลุ้ม กรัชกายก็รุ่มร้อน

เมื่อกรัชกายรุ่มร้อน โลหิตอุ่นที่คั่งก็พุ่งออกจากปาก.

ภิกษุ (อีก) ประมาณ ๖๐ รูป

คิดว่าการประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต

ในพระพุทธศาสนา ทำได้ยากหนอ

แล้วพากันลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป

ส่งญาณมุ่งตรงต่อเทศนาของพระศาสดา

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุเหล่าใด รากเลือด ภิกษุเหล่านั้นต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุเหล่าใดสึกเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุเหล่านั้นพากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย.

ภิกษุเหล่าใดบรรลุพระอรหัต

ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล.

พระธรรมเทศนาของพระศาสดา

เกิดมีผลแม้แก่ภิกษุ ๓ จำพวก ดังกล่าวนี้.

 

ถามว่า พระธรรมเทศนาเกิดมีผลแก่ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัต

ยกไว้ก่อน อย่างไรจึงเกิดผลแก่ภิกษุนอกนี้. ?

ก็ว่า ก็ภิกษุแม้เหล่านั้น

ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้

เป็นผู้ประมาท ไม่พึงอาจละฐานะได้

แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น

จะพึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว

แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิดความสังเวช ละฐานะ.

ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐

ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ

บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นพระสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลก.

พระธรรมเทศนาได้มีผล

แม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการอย่างนี้.

ฝ่ายภิกษุนอกนี้

ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้

เมื่อกาลล่วงไป ๆ

ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง ปาราชิกบ้าง

ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า

พระพุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ

พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้

จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม

จักพ้นจากทุกข์ได้

ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์.

ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในสรณะ ๓

รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม

บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล.

พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุเหล่านั้น

ด้วยอาการอย่างนี้."

 

เล่ม ๓๒ หน้า ๑๑๒-๑๒๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๕-๑๐๔ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑

ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน

  

“บุคคลพึงเห็นผู้ใด ผู้แสดงโทษ กล่าวข่มขี่ มีปัญญา  

ว่าเป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้

พึงคบหาบุคคลเช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต

เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณอันประเสริฐ

ไม่มีโทษลามกเลย

บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน 

และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ 

บุคคลนั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น

เป็นที่ชังของพวกอสัตบุรุษ ดังนี้.”

 

เล่ม ๖๖ หน้า ๖๒๐-๖๒๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๗๗-๕๗๘ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒

ก็การที่บุคคลเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริง แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวรต่อไป นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะแล.

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

“ก็การที่บุคคลเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริง

แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวรต่อไป

นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะแล.”

 

เล่ม ๑๑ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๘๗-๒๘๘ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

ตัวอย่างนิตยภัตรที่ถูกต้องในพระไตรปิฎก

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

ตัวอย่างนิตยภัตรที่ถูกต้องในพระไตรปิฎก

 

เล่ม ๒๑ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๑๙-๓๒๐ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒

เล่ม ๙ หน้า ๒๖๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๕๘ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

เล่ม ๔ หน้า ๔๗๖  (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๘๕ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒

เล่ม ๔๓ หน้า ๔๒๓-๔๒๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๒๖-๓๒๘ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994