คำถาม-คำตอบ พระที่รับทอง-เงินไปแล้ว ต้องอาบัติไปแล้วจะแก้ไขอย่างไร ?

คำถาม

 

พระที่รับทอง-เงินไปแล้ว

ต้องอาบัติไปแล้วจะแก้ไขอย่างไร ?

 

คำตอบ

 

พระที่รับทอง-เงินไปแล้ว ต้องอาบัติไปแล้วแก้ไขโดย

ทอง เงิน ที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

และพระก็ต้องแสดงอาบัติหลังจากเสียสละแล้วด้วย

โดยเมื่อเสียสละแล้วปัจจัยที่ได้จากเงินที่พระรับ

ก็ไม่ควรแก่พระผู้รับ

 

ของที่ซื้อขายด้วยเงิน ซึ่งเป็นนิสสัคคีย์นั้น

ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

หลังจากนั้นพระก็ต้องแสดงอาบัติด้วย

 

เมื่อพระจัดการเงินสิ่งที่เกิดจากการจัดการนั้น

ก็เป็นอกัปปิยะจำจะต้องสละเหมือนกัน

 

หากแสดงอาบัติอย่างเดียวไม่สละทอง-เงิน

หรือของที่ซื้อขายมาด้วยเงินนั้นด้วย

ก็แสดงอาบัติไม่ผ่าน

 

เมื่อแสดงอาบัติแล้วจะต้องสำรวมระวังต่อไป

ไม่ให้ต้องอาบัติเดิมซ้ำอีก

ถ้าแสดงอาบัติโดยตั้งใจว่าจะต้องอาบัติเดิมซ้ำอีก

ก็แสดงอาบัติไม่ผ่าน

 

ส่วนพระใดรู้อยู่ว่ารับทอง-เงิน แล้วต้องอาบัติ

แต่หลอกลวงโยมว่าถวายได้เลยไม่ต้องอาบัติไม่มีโทษ

เมื่อพระได้เงินมาตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป

ต้องอาบัติปาราชิก (ขาดจากการเป็นพระ)

 

พระที่ต้องอาบัติปาราชิก

หรือต้องอาบัติเป็นประจำทั้งที่รู้อยู่แล้วไม่แก้ไข

สึกแล้วยังมีทางรอด

 

ส่วนวิธีการที่พระไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับเงิน

สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก

คำถาม-คำตอบ

ถ้าไม่ให้พระรับเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในวัด

ทั้งค่ารถ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกเยอะแยะ

จะทำอย่างไรล่ะ

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/question/897-q003

 

อ้างอิง

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม

ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

พระที่รับทอง-เงินไปแล้ว ต้องอาบัติแล้วแก้ไขโดย

ทอง เงิน ที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

และพระก็ต้องแสดงอาบัติหลังจากเสียสละแล้วด้วย

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/856-3-941-943

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๑-๙๔๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๘๘-๘๙๐ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

          ที่ชื่อว่า  ทอง  ตรัสหมายทองคำ

          ที่ชื่อว่า  เงิน  ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ

มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง

ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.

          บทว่า  รับ  คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์.

          บทว่า  ให้รับ  คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บทว่า  หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้  ความว่า

หรือยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอกว่า

ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้เป็นต้น เป็นนิสสัคคีย์

ทอง เงิน ที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลภิกษุพึงเสียสละรูปิยะนั้น อย่างนี้:-

 

วิธีเสียสละรูปิยะ

 

          ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า

กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า

นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

          ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว

ของนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ

ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์

           ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ

ถ้าคนผู้ทำการวัด หรืออุบาสก

เดินมาในสถานที่เสียสละนั้น

พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้

ถ้าเขาถามว่า จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา

อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา

ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น

เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย

ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย

เว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป

ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้พึงบอกเขาว่า

โปรดช่วยทิ้งของนี้ ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าเขาไม่ทิ้งให้

พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ

 

          องค์ ๕ นั้น คือ

๑.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ

๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย

๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ

๕. รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-

 

วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ

 

          พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน

ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ

พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

 

คำสมมติ

 

          ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว

สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ

          ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

          ภิกษุมีชื่อนี้

สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้

          ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก

ถ้าทิ้งหมายที่ตกต้องอาบัติทุกกฏ.

 

http://www.tripitaka91.com/3-942-1.html

 

------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/865-3-948

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๘-๙๕๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๕-๘๙๗ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘

พรรณนารูปิยสิกขาบท

 

          ในคำว่า  สงฺฆมชฺเฌ นิสฺสชฺชิตพฺพํ  นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า

พึงสละแก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล

ก็เพราะธรรมดาว่ารูปิยะเป็นอกัปปิยะ (เป็นของไม่สมควร).

          อนึ่ง เพราะรูปิยะนั้น เป็นเพียงแต่ภิกษุรับไว้เท่านั้น

เธอไม่ได้จ่ายหากัปปิยภัณฑ์อะไรด้วยรูปิยะนั้น;

ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงการใช้สอยโดยอุบาย

จึงตรัสว่า พึงสละในท่ามกลางแห่งสงฆ์.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ข้อว่า  กปฺปิยํ อาจิกฺขิตพฺพํ สปฺปิ วา  มีความว่า

พึงบอกอย่างนี้ว่า อุบาสก เนยใส หรือน้ำมัน ย่อมควรแก่บรรพชิตทั้งหลาย.

 

[ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ]

 

          ข้อว่า  รูปิยปฏิคฺคาหกํ   ฐเปตฺวา  สพฺเพเหว  ปริภุญฺชิตพฺพํ  มีความว่า

ภิกษุทั้งหมดพึงแจกกันบริโภค.

ภิกษุผู้รับรูปิยะไม่พึงรับส่วนแบ่ง.

แม้ได้ส่วนที่ถึงแก่พวกภิกษุอื่น

หรืออารามิกชนแล้ว จะบริโภคก็ไม่ควร.

โดยที่สุด เนยใส หรือน้ำมันนั้น อันดิรัจฉานมีลิงเป็นต้น

ลักเอาไปจากส่วนแบ่งนั้น วางไว้ในป่า

หรือที่หล่นจากมือของสัตว์เหล่านั้น

ยังเป็นของอันดิรัจฉานหวงแหนก็ดี

เป็นของบังสุกุลก็ดี ไม่สมควรทั้งนั้น.

แม้จะอบเสนาสนะ

ด้วยน้ำอ้อยที่นำมาจากส่วนแบ่งนั้นก็ไม่ควร.

จะตามประทีปด้วยเนยใส หรือน้ำมันแล้วนอนก็ดี

กระทำกสิณบริกรรมก็ดี สอนหนังสือก็ดี

ด้วยแสงสว่างแห่งประทีป ไม่ควร.

อนึ่ง จะทาแผลที่ร่างกายด้วยน้ำมัน

น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น

จากส่วนแบ่งนั้น ก็ไม่ควรเหมือนกัน.

คนทั้งหลาย เอาวัตถุนั้น

จ่ายหาเตียงและตั่งเป็นต้นก็ดี

สร้างอุโบสถาคารก็ดี สร้างโรงฉันก็ดี

จะบริโภคใช้สอย ก็ไม่ควร.

แม้ร่มเงา (แห่งโรงฉัน เป็นต้น)

อันแผ่ไปอยู่ตามเขตของเรือน ก็ไม่ควร.

ร่มเงาที่เลยเขตไป ควรอยู่ เพราะเป็นของจรมา.

จะเดินไปตามทางก็ดี สะพานก็ดี เรือก็ดี แพก็ดี

ที่เขาจำหน่ายวัตถุนั้นสร้างไว้ไม่ควร.

จะดื่มหรือใช้สอยน้ำที่เอ่อขึ้นเต็มปริ่มสระโบกขรณี

ซึ่งเขาให้ขุดด้วยวัตถุนั้นก็ไม่ควร.

แต่ว่า เมื่อน้ำภายใน (สระ) ไม่มี น้ำที่ไหลมาใหม่ หรือ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

น้ำฝนไหลเข้าไป สมควรอยู่.

แม้น้ำที่มาใหม่ซึ่งซื้อมาพร้อมกับสระโบกขรณี

ที่ซื้อมา (ด้วยวัตถุนั้น) ก็ไม่ควร.

       สงฆ์ตั้งวัตถุนั้นเป็นของฝาก (เก็บดอกผล) บริโภคปัจจัย

แม้ปัจจัยเหล่านั้น ก็ไม่ควรแก่เธอ.

แม้อารามซึ่งเป็นที่อันสงฆ์รับไว้ (ด้วยวัตถุนั้น)

ก็ไม่ควรเพื่อบริโภคใช้สอย.

ถ้าพื้นดินก็ดี พืชก็ดี เป็นอกัปปิยะ,

จะใช้สอยพื้นดิน จะบริโภคผลไม้ ไม่ควรทั้งนั้น.

ถ้าภิกษุซื้อพื้นดินอย่างเดียว เพาะปลูกพืชอื่น,

จะบริโภคผล ควรอยู่.

ถ้าพืชภิกษุซื้อมาปลูกลงในพื้นดินอันเป็นกัปปิยะ

จะบริโภคผล ไม่ควร.

จะนั่งหรือนอนบนพื้นดิน ควรอยู่.

          ข้อว่า  สเจ โส ฉฑฺเฑติ  มีความว่า

เขาโยนทิ้งไป ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง.

ถ้าแม้นเขาไม่ทิ้ง หรือถือเอาไปเสียเอง,

ไม่พึงห้ามเขา

          ข้อว่า  โน เจ ฉฑฺเฑติ  มีความว่า

ถ้าเขาไม่ถือเอาไป และไม่ทิ้งให้ หลีกไปตามความปรารถนา

ด้วยใส่ใจว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยการขวนขวายนี้,

ลำดับนั้น สงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้มีลักษณะ

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.

 

http://www.tripitaka91.com/3-948-17.html

 

------------------------------------------------------------------------------------------------

 

“ภิกษุจัดการกหาปณะ

สิ่งของที่พวกเขานำมา

เป็นอกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไป”

 

ถ้าชาวนาทั้งหลายนำกหาปณะมากล่าวว่า

กหาปณะเหล่านี้พวกผมนำมาเพื่อสงฆ์,

และภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง กล่าวว่า

ท่านจงนำผ้ามาด้วยกหาปณะเท่านี้,

จงจัดข้าวยาคูเป็นต้นด้วยกหาปณะประมาณเท่านี้

ด้วยความสำคัญว่า สงฆ์ไม่รับกหาปณะ

สิ่งของที่พวกเขานำมา

เป็นอกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไป.

 

ถามว่า เพราะเหตุไร

ตอบว่า เพราะภิกษุจัดการกหาปณะ.

(จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑๐ พรรณนาราชสิกขาบท)

มมร. เล่ม 3 หน้า 869 (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า 818-819 (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-869-8.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

 

[อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์]

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/866-3-968

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๖๘-๙๗๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๑๔-๙๑๕ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ พรรณนารูปิยสัพโยหารสิกขาบท

 

[อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์]

 

          อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบปัตตจตุกกะนี้

อันแสดงถึงความที่รูปิยสัพโยหารสิกขาบทนี้หนัก.

ความพิสดารว่า ภิกษุใด รับเอารูปิยะ

แล้วจ้างให้ขุดแร่เหล็กขึ้นด้วยรูปิยะนั้น,

ให้ช่างเหล็กถลุงแร่เหล็กนั้น แล้วให้ทำบาตรด้วยโลหะนั้น.

บาตรนี้ ชื่อว่า เป็นมหาอกัปปิยะ

ภิกษุนั้นไม่อาจทำให้เป็นกัปปิยะได้ด้วยอุบายไร ๆ.

ก็ถ้าว่า ทำลายบาตรนั้นแล้วให้ช่างทำกระถาง.

แม้กระถางนั้นก็เป็นอกัปปิยะ.

ให้กระทำมีด แม้ไม้สีฟันที่ตัดด้วยมีดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ.

ให้กระทำเบ็ด

แม้ปลาที่เขาให้ตายด้วยเบ็ดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ.

ภิกษุให้ช่างเผาตัวมีดให้ร้อนแล้ว แช่น้ำ หรือนมสดให้ร้อน.

แม้น้ำและนมสดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะเช่นกัน.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

       ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า

ก็ภิกษุใด รับรูปิยะแล้วซื้อบาตรด้วยรูปิยะนั้น,

แม้บาตรนี้ของภิกษุนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ

ไม่สมควรแม้แก่สหธรรมิกทั้ง ๕.

แต่ภิกษุนั้นอาจทำบาตรนั้น ให้เป็นกัปปิยะได้.

จริงอยู่ บาตรนั้น จะเป็นกัปปิยะได้

ต่อเมื่อให้มูลค่าแก่เจ้าของมูลค่า

และเมื่อให้บาตรแก่เจ้าของบาตร.

ภิกษุจะให้กัปปิยภัณฑ์แล้วรับเอาไปใช้สอยสมควรอยู่.

          ฝ่ายภิกษุใด ให้รับเอารูปิยะไว้แล้ว

ไปยังตระกูลช่างเหล็กกับด้วยกัปปิยการก

เห็นบาตรแล้วพูดว่า บาตรนี้ เราชอบใจ.

และกัปปิยการกให้รูปิยะนั้นแล้ว ให้ช่างเหล็กตกลง.

แม้บาตรใบนี้ อันภิกษุนั้นถือเอาโดยกัปปิยโวหาร

เป็นเช่นกับบาตรใบที่ ๒ นั่นเอง

จัด เป็นอกัปปิยะเหมือนกัน เพราะภิกษุรับมูลค่า.

          ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรแก่สหธรรมิกที่เหลือ ?

          แก้ว่า เพราะไม่เสียสละมูลค่า.

          อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รับรูปิยะไปยังตระกูลช่างเหล็ก

พร้อมกับกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า

ท่านจงซื้อบาตรถวายพระเถระ

เห็นบาตรแล้ว ให้กัปปิยการกจ่ายกหาปณะว่า

เธอจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว

ให้บาตรนี้แล้วได้ถือเอาไป.

บาตรนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุรูปนี้เท่านั้น เพราะจัดการไม่ชอบ,

แต่ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น เพราะไม่ได้รับมูลค่า.

          ได้ทราบว่า อุปัชฌาย์ของพระมหาสุมเถระ

มีชื่อว่าอนุรุทธเถระ.

ท่านบรรจุบาตรเห็นปานนี้ของตน

ให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว สละแก่สงฆ์.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๗๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

พวกสัทธิวิหาริกแม้ของพระจุลนาคเถระผู้ทรงไตรปิฎก

ก็ได้มีบาตรเช่นนั้นเหมือนกัน.

พระเถระสั่งให้บรรจุบาตรนั้นให้เต็ม

ด้วยเนยใสแล้วให้เสียสละแก่สงฆ์ ดังนี้แล.

นี้ชื่ออกัปปิยปัตตจตุกกะ.

ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่รับรูปิยะไปสู่ตระกูล แห่งช่างเหล็ก

พร้อมด้วยกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า

เธอจงซื้อบาตรถวายพระเถระ

เห็นบาตรแล้วกล่าวว่า

บาตรนี้เราชอบใจ หรือว่า เราจักเอาบาตรนี้,

และกัปปิยการกจ่ายรูปิยะนั้นให้แล้ว

ให้ช่างเหล็กยินยอมตกลง.

บาตรนี้สมควรทุกอย่าง

ควรแก่การบริโภคแม้แห่งพระพุทธทั้งหลาย.

 

http://www.tripitaka91.com/3-968-12.html

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------

 

ของที่ซื้อขายด้วยเงิน ซึ่งเป็นนิสสัคคีย์นั้น

ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๕๙-๙๖๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๐๕-๙๑๒ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙

 

พระบัญญัติ

 

๓๘. ๙.  อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ

มีประการต่าง ๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 

 

เรื่องพระฉัพพัคคีย์  จบ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

สิกขาบทวิภังค์

 

          [๑๑๐] บทว่า  อนึ่ง...ใด  ความว่า ผู้ใด คือ

ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด

มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด

มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด

เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  อนึ่ง...ใด. 

          บทว่า  ภิกษุ  ความว่า

ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ

ชื่อว่า ภิกษุ  เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว

ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา

ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ

ชื่อว่า ภิกษุ  เพราะอรรถว่า มีสารธรรม

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ  เพราะอรรถว่า  เป็นพระอเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน

อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ

บรรดาภิกษุเหล่านั้น  ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบท

ให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ 

          ที่ชื่อว่า  มีประการต่างๆ  คือ

เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณบ้าง

เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณบ้าง

          ที่ชื่อว่า  เป็นทั้งรูปพรรณ  ได้แก่

เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับคอ

เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ที่ชื่อว่า  ไม่เป็นรูปพรรณ  คือที่เรียกกันว่าเป็นแท่ง

          ที่ชื่อว่า  เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ  ได้แก่ ของ ๒ อย่างนั้น

          ที่ชื่อว่า  รูปิยะ  ได้แก่

ทองคำ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ

มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง

ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.

          บทว่า  ถึงความซื้อขาย  คือ

เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อของที่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย

          เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่มิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ

ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณเละมิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          ของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ ซึ่งเป็นนิสสัคคีย์นั้น

ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลภิกษุพึงเสียสละของนั้น อย่างนี้:-

 

วิธีเสียสละของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ

 

          ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า

กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า

นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-

          ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ

ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ

ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์

          ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ

ถ้าคนทำการวัด หรืออุบาสกเดินมาในสถานที่เสียสละนั้น

พึงบอกเขาว่า

ท่านจงรู้ของสิ่งนี้

ถ้าเขาถามว่า

จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา

อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา

ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น

เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย

ถ้าเขานำของสิ่งนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย

เว้นภิกษุผู้ซื้อขายด้วยรูปิยะ

ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป

ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี

ถ้าไม่ได้ พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของสิ่งนี้

ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี

ถ้าเขาไม่ทิ้งให้

พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ

 

          องค์ ๕ นั้น คือ

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ

๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย

๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ

๕. รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้ง หรือไม่เป็นอันทิ้ง

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-

 

วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ

 

          พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน

ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ

พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

 

คำสมมติ

 

          ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว

สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี้เป็นญัตติ

          ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

          ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว

ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้

          ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น

พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก

ถ้าทิ้งหมายที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

บทภาชนีย์

 

          [๑๑๑] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

          รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

          รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์

 

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 

ทุกกฏ

 

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ... ต้องอาบัติทุกกฏ

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ไม่ต้องอาบัติ

 

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ... ไม่ต้องอาบัติ

 

อนาปัตติวาร

 

          [๑๑๒] ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

 

โกสิยวรรค  สิกขาบทที่  ๙  จบ

 

โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙

พรรณนารูปิยสัพโยหารสิกขาบท

 

          รูปิยสัพโยหารสิกขาบทว่า  เตน   สมเยน  เป็นต้น

ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-

ในรูปิยสัพโยหารสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

          บทว่า  นานปฺปการก  ได้แก่ มีประการมิใช่น้อย

ด้วยอำนาจรูปิยะที่ทำ (เป็นรูปภัณฑ์)

และมิได้ทำ (เป็นรูปภัณฑ์) เป็นต้น .

          บทว่า  รูปิยสพฺโยหาร  ได้แก่

การแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงิน.

          บทว่า  สมาปชฺชนฺติ  มีความว่า

พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มองไม่เห็นโทษ

ในการแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงินที่ตนรับไว้แล้ว

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการรับอย่างเดียว

จึงกระทำ (การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ).

          ในคำว่า  สีสุปค  เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:-

ทองเงินรูปภัณฑ์

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ที่ชื่อว่าสีสูปคะ เพราะอรรถว่า ประดับศีรษะ.

ก็ในคัมภีร์ทั้งหลายเขียนไว้ว่า สีสูปก ก็มี.

คำว่า  สีสูปก  นี้ เป็นชื่อของเครื่องประดับศีรษะชนิดใดชนิดหนึ่ง.

ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

          ในบทว่า  กเตน   กต  เป็นต้นนี้

บัณฑิตพึงทราบการซื้อขาย

ด้วยรูปิยะล้วน ๆ เท่านั้น.

          ข้าพเจ้า จักกล่าววินิจฉัยในบทว่า  รูปิเย รูปิยสญี  เป็นต้นต่อไป:-

บรรดาวัตถุที่กล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน

เมื่อภิกษุซื้อขายนิสสัคคิยวัตถุด้วยนิสสัคคิยวัตถุ

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทก่อน

ในเพราะการรับมูลค่า,

ในเพราะการซื้อขายของอื่น ๆ

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้แล.

แต่เมื่อซื้อขายทุกกฎวัตถุ

หรือกัปปิยวัตถุด้วยนิสสัคคิยวัตถุ

ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

 

[ว่าด้วยการซื้อขายรูปิยะด้วยรูปิยะเป็นต้น]

 

          จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบติกะว่า

ภิกษุมีความสำคัญในรูปิยะว่าเป็นรูปิยะ

ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะ เป็นต้น

นี้ เป็นอีกติกะหนึ่ง ซึ่งแม้มิได้ตรัสไว้

เพราะอนุโลมแก่ติกะที่สองที่ตรัสไว้ว่า

ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่มิใช่รูปิยะว่าเป็นรูปิยะ

ซื้อขายรูปิยะ เป็นต้นนี้.

แท้จริง ภิกษุซื้อขายรูปิยะของผู้อื่น

ด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะของตนก็ดี

ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะของผู้อื่นด้วยรูปิยะของตนก็ดี

แม้โดยการซื้อขายทั้งสองประการ

ก็จัดเป็นทำการซื้อขายด้วยรูปิยะเหมือนกัน.

 

http://www.tripitaka91.com/3-959-17.html

 

------------------------------------------------------------------------------------------------

 

หากไม่ทำการเสียสละสิ่งที่เป็นนิสสัคคีย์

ก็แสดงอาบัติไม่ผ่าน

และหากไม่สำรวมระวังต่อไป

คิดว่าจะจะต้องอาบัติเดิมซ้ำอีกก็ไม่ได้

 

[อธิบายวิธีเสียสละและวิธีแสดงอาบัติ]

(จีวรเป็นนิสสัคคีย์)

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/926-3-709

 

เล่ม ๓ หน้า ๗๐๙-๗๑๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๖๙-๖๗๓ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑

พรรณนาปฐมกฐินสิกขาบท

 

[อธิบายวิธีเสียสละและวิธีแสดงอาบัติ]

 

          ข้อว่า  นิสฺสชฺชิตฺวา อาปตฺติ เทเสตพฺพา  มีความว่า

ถามว่า พึงแสดงอาบัติอย่างไร ?

          แก้ว่า พึงแสดงเหมือนอย่างที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในขันธกะ.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗๑๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ถามว่า ก็ตรัสไว้ในขันธกะนั้น อย่างไร ?

          แก้ว่า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์

กระทำอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

ไหว้เท้าแห่งภิกษุผู้แก่ทั้งหลายแล้ว

นั่งกระโหย่ง ประนมมือ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนามํ อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทเสมิ

(ท่านเจ้าข้า ! กระผมต้องอาบัติมีชื่ออย่างนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น).

          ก็ในอธิการนี้ ถ้าจีวรมีผืนเดียว พึงกล่าวว่า

เอกํ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ...

(ต้องแล้ว) ซึ่งนิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ตัวหนึ่ง.

ถ้าจีวร ๒ ผืน พึงกล่าวว่า

เทฺว... ซึ่งอาบัติ ๒ ตัว.

ถ้าจีวรมากผืนพึงกล่าวว่า สมฺพหุลา... ซึ่งอาบัติหลายตัว.

แม้ในการเสียสละ ถ้าว่า จีวรมีผืนเดียว

พึงกล่าวตามสมควรแก่บาลีนั่นแลว่า  อิทํ เม ภนฺเต จีวรํ

ท่านเจ้าข้า ! จีวรของกระผมผืนนี้ เป็นต้น

ถ้าหากว่าจีวร ๒ ผืน หรือมากผืน พึงกล่าวว่า

อิมานิ เม ภน เต จีวรานิ ทสาหาติกฺกนฺตานิ นิสฺสคฺคิยานิ

อิมานาหํ สงฺฆสฺส นิสฺสชฺชามิ

(ท่านเจ้าข้า ! จีวรของกระผมเหล่านี้ล่วง ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์,

กระผมเสียสละจีวรเหล่านี้แก่สงฆ์)

 

เมื่อไม่สามารถจะกล่าวบาลีได้ พึงกล่าวโดยภาษาอื่นก็ได้.

 

ภิกษุพึงรับอาบัติโดยนัยดังกล่าวไว้ในขันธกะนั่นแลว่า

ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ.

สมจริงดังที่ตรัสไว้ ในขันธกะนั้นอย่างนี้ว่า

ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ระลึกได้ เปิดเผย กระทำให้ตื้น ย่อมแสดงซึ่งอาบัติ,

ถ้าความพรั่งพร้อมแห่งสงฆ์ถึงที่แล้ว,

ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุมีชื่ออย่างนี้ ดังนี้.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗๑๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุรับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า

ปสฺสสิ  (เธอเห็นหรือ).

          ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ  (ขอรับ ! ผมเห็น)

          ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (เธอพึงสำรวมต่อไป).

          ผู้แสดง: สาธุ สุฏฺฐุ สํวริสฺสามิ (ดีละ ผมจะสำรวมให้ดี).

          ก็ในอาบัติ ๒ ตัว หรือหลายตัวด้วยกัน

ผู้ศึกษาพึงทราบความต่างแห่งวจนะโดยนัยก่อนนั่นแล

แม้ในการให้จีวร (คืน)

ก็พึงทราบความแตกต่างแห่งวจนะด้วยอำนาจแห่งวัตถุ คือ

สงฺโฆ อิมํ จีวรํ อิมานิ จีวรานิ...

สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ พึงให้จีวรทั้งหลายเหล่านี้...

ถึงในการเสียสละแก่คณะ และแก่บุคคล ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

          ก็ในการแสดงและการรับอาบัติในอธิการนี้ มีบาลีดังต่อไปนี้:-

เตน ภิกฺขุเว ภิกฺขุนา ฯ เปฯ เอวมสฺสุ วจนียา อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนามํ

อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทสมิ แปลว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อันภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุมากรูป

กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

ไหว้เท้าทั้งหลายแห่งภิกษุผู้แก่ทั้งหลายแล้ว

นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี พึงกล่าวอย่างนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ! ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ขอแสดงคืนซึ่งอาบัตินั้น.

          อันภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงภิกษุเหล่านั้นให้ทราบว่า

สุณาตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา อยํ อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ อาปตฺตึ สรติ วิวรติ

อุตฺตานีกโรติ เทเสติ ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ อหํ อิตฺถนฺนามสฺส

ภิกฺขุโน อาปตฺตึ ปฏิคฺคณฺเหยฺยํ แปลว่า

ท่านเจ้าข้า ! ท่านผู้มีอายุ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗๑๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า

ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ รูปนี้ย่อมระลึก ย่อมเปิดเผย

ย่อมกระทำให้ตื้น ย่อมแสดงอาบัติ,

ถ้าว่าความพรั่งพร้อมแห่งท่านผู้มีอายุทั้งหลายถึงที่แล้ว

ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุชื่อนี้.

          ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุผู้รับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า

ปสฺสสิ  (ท่านเห็นหรือ).

          ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ! ผมเห็น).

          ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (ท่านพึงสำรวมระวังต่อไป).

          ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า

แล้วนั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

ดูก่อนอาวุโส ! ข้าพเจ้าต้องอาบัติ มีชื่ออย่างนี้แล้ว, จะแสดงคืนอาบัติ,

ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุผู้รับอาบัตินั้นพึงกล่าวว่า

ปสฺสสิ (ท่านเห็นหรือ).

          ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ! ผมเห็น).

          ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (ท่านพึงสำรวมระวังต่อไป).

          ในวิสัยแห่งการแสดงและรับอาบัตินั้น

ผู้ศึกษาพึงทราบการระบุชื่ออาบัติและความต่างแห่งวจนะ

โดยนัยก่อนนั่นแล.

และพึงทราบบาลี แม้ในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูป

เหมือนในการสละแก่คณะฉะนั้น.

ก็ถ้าว่าจะพึงมีความแปลกกันไซร้,

พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสบาลีไว้แผนกหนึ่ง

แม้ในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูปนี้

เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสปาริสุทธิอุโบสถแก่ภิกษุ ๓ รูป

โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย !

เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลภิกษุเหล่านั้นพึงทำอุโบสถเหล่านั้นอย่างนี้;

ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงภิกษุ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗๑๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เหล่านั้นให้ทราบ แล้วตรัสปาริสุทธิอุโบสถแก่ภิกษุ ๒ รูปอีกแผนกหนึ่ง

ต่างหาก โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป

ทำปาริสุทธิอุโบสถ, ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลภิกษุเหล่านั้น พึงทำอุโบสถ

นั้นอย่างนี้ ภิกษุเถระพึงทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า* ดังนี้ ฉะนั้น. ก็เพราะ

ไม่มีความแปลกกัน; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมิได้ตรัสไว้ ทรง

ผ่านไปเสีย เพราะฉะนั้น บาลีในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูปนี้ เป็นบาลีที่

ตรัสไว้แก่คณะเหมือนกัน.

          ส่วนในการรับอาบัติมีความแปลกกันดังนี้:-

บรรดาภิกษุ ๒ รูป ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง อย่าตั้งญัตติ เหมือนภิกษุผู้รับอาบัติ ตั้งญัตติ

ในเมื่อภิกษุผู้ต้องอาบัติสละแก่คณะแล้วแสดงอาบัติ

พึงรับอาบัติเหมือนบุคคลคนเดียวรับฉะนั้น.

แท้จริง ชื่อว่าการตั้งญัตติสำหรับภิกษุ ๒ รูป ย่อมไม่มี.

ก็ถ้าหากจะพึงมี, พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงตรัสปาริสุทธิอุโบสถไว้แผนกหนึ่ง

สำหรับภิกษุ ๒ รูป แม้ในการให้จีวรที่เสียสละแล้วคืน จะกล่าวว่า

อิมํ จีวร อายสฺมโต เทม พวกเราใหัจีวรผืนนี้แก่ท่าน

เหมือนภิกษุรูปเดียวกล่าวว่า

อิมํ จีวรํ อายสฺมโต ทมฺมิ ผมให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้ ก็ควร.

จริงอยู่ แม้ญัตติทุติยกรรม ซึ่งหนักกว่านี้ ตรัสว่า ควรอปโลกน์ทำ ก็มี

วินัยกรรมมีการสละนี้ สมควรแก่ญัตติทุติยกรรมเหล่านั้น.

แต่จีวรที่สละแล้ว ควรให้คืนทีเดียว, จะไม่ให้คืนไม่ได้.

ก็การให้คืนจีวรที่สละเสียแล้วนี้เป็นเพียงวินัยกรรม.

จีวรนั้นเป็นอันภิกษุนั้นให้แก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล

หามิได้ทั้งนั้นแล.

 

http://www.tripitaka91.com/3-709-17.html

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------

 

“อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง”

(ต้องลหุกาบัติ)

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/927-8-598

 

เล่ม ๘ หน้า ๕๙๘-๖๐๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๓๔-๕๓๗ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑

 

บางส่วนของ สมถขันธกะ

 

อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง

 

          [๖๘๙] อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมณะเท่าไร ?

อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ

สัมมุขาวินัย ๑

ปฏิญญาตกรณะ ๑

ติณวัตถารกะ ๑.

          [๖๙๐] บางที อาปัตตาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ

ติณวัตถารกะพึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ

สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑

บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องลหุกาบัติแล้ว

เธอพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า

นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น

          ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า  ท่านเห็นหรือ

          ภิกษุผู้แสดงนั้นพึงกล่าวว่า  ขอรับ ผมเห็น

          ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า  ท่านพึงสำรวมต่อไป

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว

ระงับด้วยอะไร ?

ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ

ในสัมมุขาวินัยมีอะไรบ้าง ?

มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล....

          ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ?

คือผู้แสดงกับ ผู้รับแสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน

นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น

 

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ ๕๙๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง ?

มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ

ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ

ปฏิญญาตกรณะอันใดนี้มีในปฏิญญาตกรณะนั้น

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้

ผู้รับรื้อฟื้นเป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น

หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี

หากไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุมากรูปด้วยกัน

ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า

นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้

ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้น

          ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ

พึงประกาศให้ภิกษุพวกนั้นทราบด้วยคณะญัตติว่า

ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ รูปนี้

ระลึก เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ

ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว

ข้าพเจ้าขอรับอาบัติของภิกษุมีชื่อนี้

แล้วกล่าวว่า  เธอเห็นหรือ

          ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า  ขอรับ ผมเห็น

          ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า  คุณพึงสำรวมต่อไป

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว

ระงับด้วยอะไร?

ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ

ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง?

มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล.....

          ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ?

คือ ผู้แสดงกับผู้รับแสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน

นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลใน

 

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ ๖๐๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

สัมมุขาวินัยนั้น ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง ?

มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ

ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ

ปฏิญญาตกรณะอันใด นี้มีในปฏิญญาตกรณะนั้น

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้

ผู้รับรื้อฟื้นเป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น

หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี

หากไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์

ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า

นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้น

          ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ

พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ระลึกเปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ

ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว

ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุมีชื่อนี้

แล้วพึงกล่าวว่า  เธอเห็นหรือ

          ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า  ขอรับ ผมเห็น

          ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า  ท่านพึงสำรวมต่อไป

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว

ระงับด้วยอะไร ?

ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ

ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง ?

มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม

ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล...

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้

ผู้รับรื้อฟื้นเป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น

ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.

 

http://www.tripitaka91.com/8-598-1.html

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------

 

“อาบัติใด อันภิกษุไม่ทำความทอดธุระ

แสดงเสียด้วยจิตที่ยังมีความ อุกอาจ ไม่บริสุทธิ์ทีเดียว

อาบัตินั้น ชื่อว่าอันภิกษุแสดงแล้ว ไม่นับเข้าในจำนวน.

จริงอยู่ อาบัตินี้แม้แสดงแล้ว

ก็ไม่นับเข้าในจำนวนอาบัติที่แสดงแล้ว.”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/892-10-520

 

เล่ม ๑๐ หน้า ๕๒๐-๕๒๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๗๓ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

 

บางส่วนของ เอกุตตริก วัณณนา

 

          อาบัติใด อันภิกษุทำความทอดธุระแสดงเสีย

ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ต้องอีก.

อาบัตินั้น ชื่อว่าอันภิกษุแสดงแล้ว

นับเข้าในจำนวน (อาบัติที่แสดงแล้ว).

 

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๕๒๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

       อาบัติใด อันภิกษุไม่ทำความทอดธุระ

แสดงเสียด้วยจิตที่ยังมีความ อุกอาจ ไม่บริสุทธิ์ทีเดียว

อาบัตินั้น ชื่อว่าอันภิกษุแสดงแล้ว ไม่นับเข้าในจำนวน.

จริงอยู่ อาบัตินี้แม้แสดงแล้ว

ก็ไม่นับเข้าในจำนวนอาบัติที่แสดงแล้ว.

  

http://www.tripitaka91.com/10-520-19.html

 

------------------------------------------------------------------------------------------------

 

พระใดรู้อยู่ว่ารับทอง-เงิน แล้วต้องอาบัติ

แต่หลอกลวงโยมว่าถวายได้เลยไม่ต้องอาบัติไม่มีโทษ

เมื่อพระได้เงินมาตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป

ต้องอาบัติปาราชิก (ขาดจากการเป็นพระ)

 

“ปาราชิกอาบัติพึงมีแก่ภิกษุ

ผู้หลอกลวงฉ้อเอา

หรือขู่กรรโชก คือ แสดงภัย

ถือเอาทรัพย์เป็นของชนเหล่านั้น

ด้วยอาการ ๕ อย่าง”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/909-2-12

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๒,๑๔,๓๐,๙๘,๑๐๘,๑๐๙ และ ๒๒๖-๒๒๗ (ปกสีน้ำเงิน)

/ หน้า ๑๑,๑๓,๒๙,๙๖-๙๗,๑๐๖,๑๐๗ และ ๒๑๓ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๑ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

พระอนุบัญญัติ

 

       ๒. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้

ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี

พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง

จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า

เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล

เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้

ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด

ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น

แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

 

http://www.tripitaka91.com/2-12-1.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๔ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๓ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

          [๘๘] ที่ชื่อว่า  เห็นปานนั้น  คือ

หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี.

          บทว่า  ถือเอา  คือ ตู่ วิ่งราว ฉ้อ ยังอิริยาบถให้กำเริบ

ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.

 

http://www.tripitaka91.com/2-14-18.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๐๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๐๖ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

          ส่วนความประกอบอำนาจเอกภัณฑะ พึงทราบดังนี้ :-

ทาสก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งมีเจ้าของ

ภิกษุตู่เอาก็ดี ลักไปก็ดี ฉ้อไปก็ดี

ให้อิริยาบถกำเริบก็ดี ให้เคลื่อนจากฐานก็ดี

ให้ก้าวล่วงเลยที่กำหนดไปก็ดี

โดยนัยมีตู่เอา เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้ว.

นี้เป็นความประกอบด้วยอำนาจเอกภัณฑะ

ในบทว่า  อาทิเยยฺย  เป็นต้นนี้.

 

http://www.tripitaka91.com/2-108-9.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๐๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๐๗ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

[ ปัญจกะ ๕ หมวด ๆ ละ ๕ ๆ รวมเป็นอวหาร ๒๕ ]

 

          ที่ชื่อว่า ปัญจกะ ๕ คือ

หมวดแห่งอวหาร ๕

ที่กำหนดด้วยภัณฑะต่างกันเป็นข้อต้น ๑

หมวดแห่งอวหาร ๕

ที่กำหนดด้วยภัณฑะชนิดเดียวเป็นข้อต่าง ๑

หมวดแห่งอวหาร ๕

ที่กำหนดด้วยอวหารที่เกิดแล้วด้วยมือของตนเป็นข้อต้น ๑

หมวดแห่งอวหาร ๕

ที่กำหนดด้วยบุพประโยคเป็นข้อต้น ๑

หมวดแห่งอวหาร ๕

ที่กำหนดด้วยการลักด้วยอาการขโมยเป็นข้อต้น ๑.

บรรดาปัญจกะทั้ง ๕ นั้น

นานาภัณฑปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ

ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านี้ คือ

อาทิเยยฺย พึงตู่เอา ๑

หเรยฺย พึงลักไป ๑

อวหเรยฺย พึงฉ้อเอา ๑

อิริยาปถํ วิโกเปยฺย พึงยังอิริยาบถให้กำเริบ ๑

ฐานา จาเวยฺย พึงให้เคลื่อนจากฐาน ๑.

ปัญจกะทั้งสองนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัย

ดังที่ข้าพเจ้าประกอบแสดงไว้แล้วในเบื้องต้นนั่นแล.

ส่วนบทที่ ๖ ว่า

สงเกตํ วีตินาเมยฺย ( พึงให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย ) นั้น

เป็นของทั่วไปแก่ปริกัปปาวหาร และนิสสัคคิยาวหาร.

เพราะฉะนั้น พึงประกอบบทที่ ๖ นั้น

เข้าด้วยอำนาจบทที่ได้อยู่ในปัญจกะที่ ๓ และที่ ๕.

นานาภัณฑปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว.

 

http://www.tripitaka91.com/2-109-9.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๓๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๙ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

อาการแห่งอวหาร

อาการ ๕ อย่าง

 

          [๑๒๒]  ปาราชิกอาบัติ

พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้

ด้วยอาการ ๕ อย่างคือ

ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑

มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑

ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑

ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑

ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฎ

ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑.

 

http://www.tripitaka91.com/2-30-15.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๒๒๖-๒๒๗ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๑๓ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

[อรรถาธิบายอวหาร ๕ อย่าง]

 

          จริงอยู่  ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แอบทำโจรกรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้น

ลักทรัพย์ซึ่งมีเจ้าของ ในเวลากลางคืนหรือกลางวัน

หรือหลอกลวงฉ้อเอาด้วยเครื่องตวงโกง

และกหาปณะปลอมเป็นต้น,

อวหารของภิกษุรูปนั้นนั่นแล

ผู้ถือเอาทรัพย์นั้น พึงทราบว่า เป็นเถยยาวหาร,

ฝ่ายภิกษุใด ข่มเหงผู้อื่น คือ

กดขี่เอาด้วยกำลัง,

ก็หรือขู่กรรโชก คือ แสดงภัย

ถือเอาทรัพย์เป็นของชนเหล่านั้น

เหมือนพวกโจรผู้ฆ่าเชลย ทำประทุษกรรม

มีฆ่าคนเดินทางและฆ่าชาวบ้านเป็นต้น

(และ) เหมือนอิสรชน  มีพระราชาและมหาอำมาตย์

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์

เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ของพระราชาเป็นต้น

ซึ่งทำการริบเอาเรือนของผู้อื่นด้วยอำนาจความโกรธ

และใช้พลการเก็บพลี เกินกว่าพลีที่ถึงแก่ตน,

อวหารของภิกษุนั้น ผู้ถือเอาอย่างนั้น

พึงทราบว่า เป็นปสัยหาวหาร

ส่วนอวหารของภิกษุผู้กำหนดหมายไว้แล้วถือเอา

ท่านเรียกว่า ปริกัปปาวหาร.

ปริกัปปาวหารนั้น มี ๒  อย่าง

เนื่องด้วยกำหนดหมายสิ่งของ และกำหนดหมายโอกาส.

 

http://www.tripitaka91.com/2-226-15.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๙๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๖-๙๗ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

          สองบทว่า  ปญฺจมาสโก ปาโท  ความว่า

ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ ๒๐ มาสก เป็นหนึ่งกหาปณะ ;

เพราะฉะนั้น ห้ามาสกจึงเป็นหนึ่งบาท.

ด้วยลักษณะนั้น ส่วนที่สี่ของกหาปณะ

พึงทราบว่า เป็นบาทหนึ่ง ในชนบททั้งปวง.

ก็บาทนั้นแล พึงทราบด้วยอำนาจแห่งนีลกหาปณะของโบราณ

ไม่พึงทราบด้วยอำนาจแห่งกหาปณะ

นอกนี้ มีรุทระทามกะกหาปณะเป็นต้น.

 

[ พระพุทธเจ้าทุกองค์ปรับโทษถึงที่สุดเพียงบาทเดียว ]

 

       แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว

ก็ทรงบัญญัติปาราชิกด้วยบาทนั้น

ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะมีในอนาคต

ก็จักทรงบัญญัติปาราชิกด้วยบาทนั้น.

จริงอยู่ ความเป็นต่างกัน ในวัตถุปาราชิกหรือในปาราชิก

ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ย่อมไม่มี.

วัตถุแห่งปาราชิก ๔ ก็เหมือนกันนี้แหละ

ปาราชิก ๔ ก็เหมือนกันนี้แหละ ไม่มีหย่อนหรือยิ่งกว่านี้.

เพราะเหตุนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนพระธนิยะแล้ว

เมื่อจะทรงบัญญัติทุติยปาราชิกด้วยบาทนั่นเทียว

จึงตรัสคำว่า  โย ปน ภิกฺขุ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ  เป็นต้น.

 

http://www.tripitaka91.com/2-98-7.html

 

------------------------------------------------------------------------------------------------

 

พระที่ต้องอาบัติปาราชิก

หรือต้องอาบัติเป็นประจำทั้งที่รู้อยู่แล้วไม่แก้ไข

สึกแล้วยังมีทางรอด

 

“พระศาสดา ประทับนั่งแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูกองไฟใหญ่โน้น

แล้วทรงแสดงอัคคิขันโธปมสูตร.

 

ก็เมื่อตรัสไวยากรณ์นี้อยู่

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปรากเลือด.

ภิกษุประมาณ ๖๐ ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์.

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปมีจิตไม่ยึดมั่น

ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย.

 

ก็เพราะได้ฟังไวยากรณ์นั้น

นามกายของภิกษุประมาณ ๖๐ รูปก็กลัดกลุ้ม

เมื่อนามกายกลัดกลุ้ม กรัชกายก็รุ่มร้อน

เมื่อกรัชกายรุ่มร้อน โลหิตอุ่นที่คั่งก็พุ่งออกจากปาก.

ภิกษุ (อีก) ประมาณ ๖๐ รูป

คิดว่าการประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต

ในพระพุทธศาสนา ทำได้ยากหนอ

แล้วพากันลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป

ส่งญาณมุ่งตรงต่อเทศนาของพระศาสดา

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุเหล่าใด รากเลือด ภิกษุเหล่านั้นต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุเหล่าใดสึกเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุเหล่านั้นพากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย.

ภิกษุเหล่าใดบรรลุพระอรหัต

ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล.

พระธรรมเทศนาของพระศาสดา

เกิดมีผลแม้แก่ภิกษุ ๓ จำพวก ดังกล่าวนี้.

 

ถามว่า พระธรรมเทศนาเกิดมีผลแก่ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัต

ยกไว้ก่อน อย่างไรจึงเกิดผลแก่ภิกษุนอกนี้. ?

ก็ว่า ก็ภิกษุแม้เหล่านั้น

ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้

เป็นผู้ประมาท ไม่พึงอาจละฐานะได้

แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น

จะพึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว

แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิดความสังเวช ละฐานะ.

ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐

ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ

บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นพระสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลก.

พระธรรมเทศนาได้มีผล

แม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการอย่างนี้.

 

ฝ่ายภิกษุนอกนี้

ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้

เมื่อกาลล่วงไป ๆ

ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง ปาราชิกบ้าง

ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า

พระพุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ

พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้

จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม

จักพ้นจากทุกข์ได้

ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์.

ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในสรณะ ๓

รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม

บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล.

พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุเหล่านั้น

ด้วยอาการอย่างนี้.”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/922-32-112

 

เล่ม ๓๒ หน้า ๑๑๒-๑๒๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๕-๑๐๔ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑

 

อรรถกถาสูตรที่ ๓

 

          สูตรที่ ๓ กล่าวไว้แล้วในเหตุเกิดเรื่อง.

กล่าวไว้ในเหตุเกิดเรื่องไหน ?

ในเหตุเกิดเรื่อง อัคคิขันโธปมสูตร.

          ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า 

อาศัยประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี.

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ทรงอาศัยอยู่ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

ก็มิได้ทรงละกิจ ๕ อย่างเลย

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ชื่อว่า พุทธกิจ ๕ อย่าง คือ 

ปุเรภัตตกิจ ๑

ปัจฉาภัตตกิจ ๑

ปุริมยามกิจ ๑

มัชฌิมยามกิจ ๑

ปัจฉิมยามกิจ ๑

 

          ในพุทธกิจ ๕ นั้น

ปุเรภัตตกิจ กิจก่อนเสวยอาหารมีดังต่อไปนี้

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกขึ้นแต่เช้า

ทรงการทำปริกรรมพระสรีระ มีล้างพระพักตร์เป็นต้น

เพื่ออนุเคราะห์อุปัฏฐาก

และเพื่อความผาสุกแห่งพระสรีระ

ทรงยับยั้งอยู่เหนืออาสนะอันสงัด จนถึงเวลาภิกขาจาร

พอได้เวลาภิกขาจาร ก็ทรงนุ่งอันตรวาสก

ทรงคาดประคดเอว ห่มจีวร ถือบาตร

บางครั้งก็พระองค์เดียว บางครั้งก็แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์

เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม.

บางคราวเสด็จเข้าไปตามปกติ

บางคราวเสด็จไปด้วยปาฏิหาริย์เป็นอันมาก.

คือเมื่อพระโลกนาถเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

ลมอ่อน ๆ ก็พัดไปข้างหน้าเป่าแผ่นดินให้สะอาด

เมฆหลั่งเมล็ดฝนดับฝุ่นละอองบนหนทาง

กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน.

ลมอีกพวกหนึ่งก็นำดอกไม้เข้าไปโปรยลงบนหนทาง

ภูมิประเทศที่ดอนก็ยุบลง.

ภูมิประเทศที่ลุ่มก็หนุนตัวขึ้น

เวลาที่ทรงย่างพระบาท ภูมิภาคย่อมมีพื้นราบเรียบ

หรือดอกปทุมมีสัมผัสอันอ่อนละมุน คอยรับพระบาท.

เมื่อพอทรงวางพระบาทเบื้องขวา ไว้ในภายในเสาเขื่อน.

ฉัพพัณณรังสี พระรัศมีมีพรรณ ๒ ประการ

เปล่งออกจากพระสรีระพวยพุ่งไปรอบด้าน

กระทำปราสาทและเรือนยอดเป็นต้น

ให้เป็นดุจสีเหลืองเหมือนทองคำ

และให้เป็นดุจแวดวงด้วยผ้าอันวิจิตร.

สัตว์ทั้งหลายมีช้างม้าและนกเป็นต้น

ที่อยู่ในที่ของตน ๆ ก็เปล่งเสียงไพเราะ.

ดนตรีมีกองและบัณเฑาะว์ เป็นต้น กับ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เครื่องอาภรณ์ที่สวมใส่อยู่ในกายของพวกมนุษย์ 

ก็เหมือนกัน คือ เปล่งเสียงไพเราะ

ด้วยสัญญาณนั้น พวกมนุษย์ย่อมรู้ว่าวันนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตในที่นี้.

มนุษย์เหล่านั้นนุ่งห่มเรียบร้อย

ถือเครื่องสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น

ออกจากเรือนดำเนินไปตามท้องถนน

บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยของหอม

และดอกไม้เป็นต้นโดยเคารพถวายบังคมแล้ว ทูลขอว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูป

แก่พวกข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป

แล้วรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปูอาสนะน้อมถวายบิณฑบาตโดยเคารพ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว

ทรงตรวจดูสันดานของมนุษย์เหล่านั้นแล้วทรงแสดงธรรม.

บางพวกจะตั้งอยู่ในสรณคมน์

บางพวกจะตั้งอยู่ในศีล ๕

บางพวกจะตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล

และอนาคามิผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

บางพวกจะบวชแล้ว ดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ

ด้วยประการใด ก็ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยประการนั้น

เสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จกลับไปพระวิหาร.

เสด็จไปที่พระวิหารนั้นแล้วประทับนั่ง บนบวรพุทธอาสน์

ที่เขาตกแต่งไว้ ณ ศาลากลมประกอบด้วยของหอม.

ในเวลาเสร็จภัตตกิจของภิกษุทั้งหลาย

อุปัฏฐากก็จะกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ทรงทราบ.

ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงจะเสด็จเข้าพระคันธกุฏี

ปุเรภัตตกิจ กิจก่อนเสวยอาหารมีเท่านี้ก่อน.

          ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำกิจก่อนเสวยอาหารอย่างนี้แล้ว

ก็ประทับนั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฏี ทรงล้างพระบาท

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า

ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจงยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด

การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าหาได้ยาก

กาลได้อัตภาพเป็นมนุษย์หาได้ยาก

การถึงพร้อมด้วยศรัทธาหาได้ยาก

การบรรพชาหาได้ยาก

การฟังธรรมหาได้ยากในโลก

บรรดาภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุบางรูปทูลถามกรรมฐาน กะพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระองค์ก็ประทานกรรมฐาน

อันเหมาะแก่ความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น

แต่นั้นภิกษุแม้ทั้งหมดถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วไปยังที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันของตน ๆ.

บางพวกไปป่า บางพวกอยู่โคนไม้

บางพวกไปภูเขาเป็นต้น แห่งใดแห่งหนึ่ง

บางพวกไปภพของท้าวจาตุมหาราช

บางพวกไปภพของท้าววสวัตตี.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฏี

ถ้าทรงจำนงก็ทรงมีสติ สัมปชัญญะ บรรทมตะแคงขวาครู่หนึ่ง

ครั้นมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่า

เสด็จลุกขึ้นตรวจดูสัตว์โลก ในภาคที่ ๒.

ในภาคที่ ๓ มหาชนในคามหรือนิคม

ที่พระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยประทับอยู่ ถวายทานก่อนอาหาร

ครั้นเวลาหลังอาหาร นุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว

ถือเอาสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น

ประชุมกันในพระวิหาร.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า 

เสด็จไปโดยปาฏิหาริย์อันเหมาะสมแก่บริษัทที่ประชุมกัน

ประทับนั่งแสดงธรรม บนบวรพุทธอาสน์

ที่ตกแต่งไว้ในโรงธรรม ให้เหมาะแก่กาล เหมาะแก่สมัย.

ครั้นถึงเวลาอันควรแล้ว จึงส่งบริษัทกลับไป.

พวกมนุษย์ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วก็หลีกไป.

ปัจฉาภัตตกิจ กิจภายหลังอาหาร มีดังกล่าวนี้.

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ทรงทำปัจฉาภัตตกิจให้เสร็จอย่างนั้นแล้ว

ถ้าทรงประสงค์จะทรงสนานพระกาย

ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์

เสด็จเข้าสู่ซุ้มสำหรับสรงสนาน

ทรงรดพระกายด้วยน้ำอันอุปัฏฐากจัดถวาย.

แม้พระอุปัฏฐากก็นำเอาพุทธอาสน์

มาลาดถวายในบริเวณพระคันธกุฏี

พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนุ่งอันตรวาสก ๒ ชั้น ที่ย้อมดีแล้ว

ทรงคาดประคดเอว ทรงครองอุตตราสงฆ์

แล้วเสด็จมาประทับ ณ พุทธอาสน์นั้น

ทรงเร้นอยู่ครู่หนึ่งลำพังพระองค์

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้น

ไปยังที่เฝ้าพระศาสดา

บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกถามปัญหา

บางพวกขอกรรมฐาน บางพวกขอฟังธรรม.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจัดให้สมประสงค์ของภิกษุเหล่านั้น

ทรงยับยั้ง แม้ตลอดยามต้น.

ปุริมยามกิจ กิจในยามต้น มีดังกล่าวนี้.

          เวลาเสร็จกิจในยามต้น

เมื่อภิกษุทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป

เทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุ เมื่อได้โอกาส

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถามปัญหา

ชั้นที่สุดแม้อักษร ๔ ตัวตามที่แต่งมา

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงวิสัชนาปัญหาแก่เทวดาเหล่านั้น

ทรงยับยั้งอยู่ตลอดมัชฌิมยาม

มัชฌิมยามกิจ กิจในมัชฌิมยาม มีดังกล่าวนี้.

          ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแบ่งปัจฉิมยามเป็น ๓ ส่วน

แล้วทรงยับยั้งส่วนหนึ่งด้วยการเดินจงกรม

เพื่อทรงปลดเปลื้องความเมื่อยพระวรกายที่ประทับนั่งมาก

ตั้งแต่เวลาก่อนเสวยอาหาร ใน

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ส่วนที่ ๒

เสด็จเข้าไปพระคันธกุฏี ทรงมีพระสติและสัมปชัญญะ

บรรทมตะแคงข้างขวา ในส่วนที่ ๓

เสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง ตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ

เพื่อทอดพระเนตรบุคคลผู้ได้กระทำบุญญาธิการ

ไว้ด้วยทาน และศีลเป็นต้น

ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน

ปัจฉิมยามกิจ กิจในปัจฉิมยาม มีดังกล่าวนี้.

          วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำรงอยู่ในกิจนี้นี่แหละ

ทรงตรวจดูสัตว์โลก ก็ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า

เมื่อเราจาริกไปในมหาโกสลรัฐ

แสดงสูตรหนึ่งเปรียบเทียบด้วยกองเพลิง

ภิกษุ ๖๐ รูปจักบรรลุพระอรหัต

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปจักรากเลือด

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปจักสึกเป็นคฤหัสถ์.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น

พวกภิกษุผู้จักบรรลุพระอรหัต

ได้ฟังพระธรรมเทศนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

จักบรรลุได้ทีเดียว.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

มีพระประสงค์จะเสด็จจาริกไปเพื่อสงเคราะห์ภิกษุนอกจากนี้

จึงตรัสว่า อานนท์ เธอจงบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย.

          พระเถระไปตามบริเวณแล้วกล่าวว่า

ผู้มีอายุ พระศาสดา

มีพระประสงค์จะเสด็จจาริก เพื่ออนุเคราะห์มหาชน

ผู้ประสงค์จะไปตามเสด็จ ก็จงพากันมาเถิด.

ภิกษุทั้งหลาย มีใจยินดีเหมือนได้ลาภใหญ่ คิดว่า

เราจักได้ชมพระสรีระมีวรรณะเพียงดังทองคำ

ได้ฟังธรรมกถาอันไพเราะ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสดงธรรมแก่มหาชน

ผู้ที่มีผมขึ้นยาวก็ปลงผม มีบาตรถูกสนิมจับก็ระบมบาตร

มีจีวรหมอง ก็ซักจีวร ต่างเตรียมจะตามเสด็จ.

พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่กำหนดจำนวนไม่ได้

ออกจาริกไปยัง

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

โกศลรัฐ วันหนึ่ง ๆ เสด็จจาริกไป ๑ คาวุต ๒ คาวุต ๓ คาวุต 

และโยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ตามลำดับแห่งคามและนิคม

ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้มีโพรงต้นใหญ่แห่งหนึ่ง

ถูกไฟไหม้ลุกโพลง ทรงดำริว่า

เราจะทำต้นไม้นี้แล ให้เป็นวัตถุเหตุตั้งเรื่อง

แสดงธรรมกถาประกอบด้วยองค์ ๗ จึงงดการเสด็จ

เสด็จเข้าไปยังโคนไม้ต้นหนึ่ง

ทรงแสดงอาการจะประทับนั่ง.

พระอานนทเถระทราบพระประสงค์ของพระศาสดา คิดว่า

ชะรอยว่าจักมีเหตุแน่นอน

พระตถาคตไม่เสด็จต่อไป

แล้วจะหยุดประทับนั่งเสียโดยเหตุอันไม่สมควรหามิได้

จึงปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น.

 

       พระศาสดา ประทับนั่งแล้ว

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า 

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูกองไฟใหญ่โน้น

แล้วทรงแสดงอัคคิขันโธปมสูตร.

 

ก็เมื่อตรัสไวยากรณ์นี้อยู่

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปรากเลือด.

ภิกษุประมาณ ๖๐ ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์.

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปมีจิตไม่ยึดมั่น

ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย.

 

ก็เพราะได้ฟังไวยากรณ์นั้น

นามกายของภิกษุประมาณ ๖๐ รูปก็กลัดกลุ้ม

เมื่อนามกายกลัดกลุ้ม กรัชกายก็รุ่มร้อน

เมื่อกรัชกายรุ่มร้อน โลหิตอุ่นที่คั่งก็พุ่งออกจากปาก.

ภิกษุ (อีก) ประมาณ ๖๐ รูป

คิดว่าการประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต

ในพระพุทธศาสนา ทำได้ยากหนอ

แล้วพากันลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป

ส่งญาณมุ่งตรงต่อเทศนาของพระศาสดา

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุเหล่าใด รากเลือด ภิกษุเหล่านั้นต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เหล่าใดสึกเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุเหล่านั้นพากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย.

ภิกษุเหล่าใดบรรลุพระอรหัต

ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล.

พระธรรมเทศนาของพระศาสดา

เกิดมีผลแม้แก่ภิกษุ ๓ จำพวก ดังกล่าวนี้.

 

       ถามว่า

พระธรรมเทศนาเกิดมีผลแก่ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัต

ยกไว้ก่อน อย่างไรจึงเกิดผลแก่ภิกษุนอกนี้. ?

ก็ว่า ก็ภิกษุแม้เหล่านั้น

ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้

เป็นผู้ประมาท ไม่พึงอาจละฐานะได้

แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น

จะพึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว

แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิดความสังเวช ละฐานะ.

ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐

ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ

บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นพระสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลก.

พระธรรมเทศนาได้มีผล

แม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก

ด้วยอาการอย่างนี้.

 

ฝ่ายภิกษุนอกนี้

ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้

เมื่อกาลล่วงไป ๆ

ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง ปาราชิกบ้าง

ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า

พระพุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ

พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้

จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม

จักพ้นจากทุกข์ได้

ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์.

ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในสรณะ ๓

รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม

บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล.

พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้.

อนึ่งหมู่เทพได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว

ได้เที่ยวไปบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่ได้ฟังทุกรูปทีเดียว.

ภิกษุทั้งหลายฟังแล้วคิดว่า

ท่านผู้เจริญ การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์

บริบูรณ์ตลอดชีวิต ในพระพุทธศาสนาทำได้ยาก.

ภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง

บอกลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ไปทันที.

          พระศาสดา เสด็จจาริกไปตามพอพระหฤทัย

ไม่เสด็จกลับไปพระเชตวันอีก จึงทรงเรียกภิกษุมาตรัสว่า 

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเมื่อเที่ยวจาริกไปอยู่คลุกคลีมานาน

ภิกษุทั้งหลายเราปรารถนาจะเร้นอยู่สักกึ่งเดือน

ใคร ๆ ไม่ต้องเข้าไปหาเรา

เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียวดังนี้

ทรงยับยั้งลำพังพระองค์เดียวกึ่งเดือน

เสด็จออกจากที่เร้น พร้อมด้วยพระอานนทเถระ

เสด็จจาริกกลับไปพระวิหาร ทรงเห็นภิกษุเบาบาง

ในที่ ๆ ทรงตรวจดูแล้วตรวจดูอีก

ถึงทรงทราบอยู่ ก็ตรัสถามพระอานนท์เถระว่า

อานนท์ ในเวลาอื่น ๆ

เมื่อตถาคตเที่ยวจาริกกลับมายังเชตวัน

ทั่ววิหารรุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวพัสตร์

คลาคล่ำไปด้วยผู้แสวงคุณ

แต่มาบัดนี้ ปรากฏว่าภิกษุสงฆ์เบาบางลง

และโดยมากภิกษุเกิดโรคผอมเหลืองขึ้น

นี่เหตุอะไรกันหนอ.

พระเถระกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ภิกษุทั้งหลายเกิดความวังเวช

จำเดิมแต่เวลาที่พระองค์แสดงพระธรรมเทศนา

อัคคิขันโธปมสูตร

คิดว่า พวกเรา ไม่สามารถจะปรนนิบัติธรรมนั้น

โดยอาการทั้งปวงได้

และการที่ภิกษุผู้ประพฤติไม่ชอบ

บริโภคไทยธรรม ที่เขาให้ด้วยศรัทธาของชน ไม่ควรเลย

จึงครุ่นคิดจะสึกเป็นคฤหัสถ์.

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดธรรมสังเวช.

ลำดับนั้น จึงตรัสกะพระเถระว่า

เมื่อเรายับยั้งอยู่ในที่หลีกเร้น

ใคร ๆ ไม่บอกฐานะอันเป็นที่เบาใจอย่างหนึ่ง

แก่เหล่าบุตรของเราเลย

เหตุอันเป็นที่เบาใจในศาสนานี้มีมาก

เหมือนท่าเป็นที่ลงสู่สาครทะเลฉะนั้น

ไปเถิด อานนท์ จงจัดพุทธอาสน์ ในบริเวณคันธกุฏี

จงให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน.

พระเถระได้กระทำอย่างนั้น.

พระศาสดา เสด็จสู่บวรพุทธอาสน์ 

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย นั่นเป็นส่วนเบื้องต้นทั้งหมดแห่งเมตตา

ไม่ใช่อัปปนา ไม่ใช่อุเบกขา

เป็นเพียงแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น.

จึงทรงแสดงอัจฉราสังฆาตสูตรนี้

เพื่อเป็นอัตถุปปัตติเหตุนี้.

          บรรดาบทเหล่านั้น 

บทว่า  อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตํ  ความว่า เพียงการดีดนิ้วมือ.

อธิบายว่า เพียงเอา ๒ นิ้วดีดให้มีเสียง.

บทว่า  เมตฺตจิตฺตํ  ได้แก่ 

จิตที่คิดแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์.

          บทว่า  อาเสวติ  ถามว่า ย่อมเสพอย่างไร ? 

แก้ว่า นึกถึงอยู่เสพ เห็นอยู่เสพ พิจารณาอยู่เสพ

ประคองความเพียรอยู่เสพ น้อมใจเชื่อเสพ

เข้าไปตั้งสติเสพ ตั้งจิตเสพ รู้ชัดด้วยปัญญาเสพ

รู้ยิ่งสิ่งที่ควรรู้ยิ่งเสพ กำหนดรู้สิ่งที่ควรกำหนดรู้เสพ

ละสิ่งที่ควรละเสพ เจริญสิ่งที่ควรเจริญเสพ

กระทำให้แจ้งสิ่งที่ควรทำให้แจ้งเสพ.

แต่ในที่นี้พึงทราบว่า

เสพด้วยเหตุสักว่าเป็นไปโดยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูล

ในส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา.

          บทว่า  อริตฺตชฺฌาโน  ได้แก่

ผู้มีฌานไม่ว่าง หรือไม่ละทิ้งฌาน.

บทว่า  วิหรติ  ความว่า 

ผลัดเปลี่ยนเป็นไปรักษาเป็นไปเอง

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ให้เป็นไป เที่ยวไป อยู่ 

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า  วิหรติ  ด้วยบทนี้

ท่านจึงกล่าวการอยู่ด้วยอิริยาบถ

ของภิกษุผู้เสพเมตตา.

          บทว่า  สตฺถุ สาสนกโร  ได้แก่ 

ผู้กระทำตามอนุสาสนี ของพระศาสดา

บทว่า  โอวาทปฏิกโร  ได้แก่ ผู้กระทำตามโอวาท. 

ก็ในเรื่องนี้ การกล่าวคราวเดียว ชื่อว่า โอวาท

การกล่าวบ่อย ๆ ชื่อว่า อนุสาสนี.

แม้การกล่าวต่อหน้า ก็ชื่อว่า โอวาท

การส่ง (ข่าว) ไปกล่าวลับหลัง ชื่อว่า อนุสาสนี.

การกล่าวในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า โอวาท.

ส่วนการกล่าวในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นหรือยังไม่เกิดขึ้น

ชื่อว่า อนุสาสนี.

พึงทราบความแปลกกันอย่างนี้.

แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์

คำว่า โอวาท หรืออนุสาสนีนั้น เป็นอันเดียวกัน

มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เข้ากันได้ เกิดร่วมกันนั้นนั่นแล.

ก็ในที่นี้ คำว่าภิกษุทั้งหลาย

หากภิกษุเสพเมตตาจิต แม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว

นี้แล เป็นคำสอนและเป็นโอวาทของพระศาสนา

พึงทราบว่า ภิกษุนั้น ชื่อว่า ผู้ทำตามคำสอน

และผู้สนองโอวาท เพราะปฏิบัติคำสอนและโอวาทนั้น.

          บทว่า  อโมฆํ  แปลว่า ไม่เปล่า.

บทว่า  รฏฺฐปิณฺฑํ  ความว่า บิณฑบาต (อาหาร) นั่นแล

ท่านเรียกว่า รัฏฐบิณฑะ (ก้อนข้าวของชาวแคว้น)

เพราะอาหารนั้น ภิกษุผู้สละเครือญาติ

อาศัยชาวแว่นแคว้น บวชแล้วได้จากเรือนของคนอื่น.

          บทว่า  ปริภุญฺชติ  ความว่า บริโภค มี ๔ อย่าง คือ

เถยยบริโภค อิณบริโภค ทายัชชบริโภค สามิบริโภค.

ในบริโภค ๔ อย่างนั้น

การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่า  เถยยบริโภค.

การบริโภค

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ปัจจัยที่ไม่ได้พิจารณาของผู้มีศีล ชื่อว่า  อิณบริโภค.

การบริโภคของพระเสขบุคคล ๗ จำพวก

ชื่อว่า  ทายัชชบริโภค.

การบริโภคของพระขีณาสพ ชื่อว่า  สามิบริโภค.

ใน ๔ อย่างนั้น

การบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นนี้ ของภิกษุนี้

ย่อมไม่เสียเปล่าด้วยเหตุ ๒ ประการ.

ภิกษุผู้เสพเมตตาจิตแม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว

ชื่อว่าเป็นเจ้าของก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นบริโภค

แม้เพราะเหตุนั้น

การบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นของภิกษุนั้น

ชื่อว่า ไม่เสียเปล่า.

ทานที่เขาให้แก่ภิกษุผู้เสพเมตตาแม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว

ย่อมมีความสำเร็จมาก มีผลมาก มีอานิสงส์มาก

มีความรุ่งเรืองมาก มีความกว้างขวางมาก

เพราะเหตุนั้น การบริโภคข้าวของชาวแคว้นของภิกษุนั้น

ไม่เป็นโมฆะ ไม่เสียเปล่า

บทว่า  โก ปน วาโท เย นํ พหุลีกโรนฺติ  ความว่า 

ควรกล่าวได้แท้ในข้อนี้ว่า

ภิกษุเหล่าใด ส้องเสพ เจริญให้มาก ทำบ่อย ๆ ซึ่งเมตตาจิตนี้

ภิกษุเหล่านั้น

ย่อมบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ไม่เสียเปล่า

เพราะภิกษุ เห็นปานนี้

ย่อมเป็นเจ้าของก้อนข้าวชาวแว่นแคว้น ไม่เป็นหนี้

เป็นทายาทบริโภค.

 

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

 

http://www.tripitaka91.com/32-112-14.html

 

------------------------------------------------------------------------------------------------

 

รวมเรื่อง พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ

หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/823-sum

 

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbsNWJaa_PTjRst5_A