ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล เจดีย์ และนวกรรม เป็นทุกกฏ

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตน

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล เจดีย์ และนวกรรม

เป็นทุกกฏ

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๓ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ พรรณนารูปิยสิกขาบท

 

วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้

(และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด

จัดเป็นวัตถุแห่งนิสสัคคีย์,

วัตถุนี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ

ทับทิม บุษราคัม ธัญชาติ ๗ ชนิด ทาสหญิง ทาสชาย

นาไร่ สวนดอกไม้ สวนผลไม้เป็นต้น

จัดเป็นวัตถุแห่ทุกกฏ.

วัตถุนี้ คือ ด้าย ผาลไถ ผืนผ้า ฝ้ายอปรัณชาติมีอเนกประการ

และเภสัช มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยงบเป็นต้น

จัดเป็นกัปปิยวัตถุ.

          บรรดานิสสัคคิยวัตถุและทุกกฎวัตถุนั้น

ภิกษุจะรับนิสสัคคิยวัตถุเพื่อประโยชน์ตนเอง

หรือเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะบุคคลและเจดีย์เป็นต้น

ย่อมไม่ควร,

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

แก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง.

เป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่สิ่งที่เหลือ

เป็นทุกกฏอย่างเดียว แก่ภิกษุผู้รับทุกกฏวัตถุ เพื่อประโยชน์ทุกอย่าง,

ไม่เป็นอาบัติในกัปปิยวัตถุ.

เป็นปาจิตตีย์ด้วยอำนาจที่มาในรัตนสิกขาบทข้างหน้า

แก่ภิกษุผู้รับวัตถุมีเงินเป็นต้นแม้ทั้งหมด

ด้วยหน้าที่แห่งภัณฑาคาริกเพื่อต้องการจะเก็บไว้

 

http://www.tripitaka91.com/3-946-6.html

 

เล่ม ๔ หน้า ๘๑๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๐๙ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒

 

บางส่วนของ รัตนสิกขาบทที่ ๒

 

ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน

เพื่อประโยชน์แก่ตน

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี

เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล เจดีย์ และนวกรรม

เป็นทุกกฏ.

 

http://www.tripitaka91.com/4-816-14.html