โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙ (พระบัญญัติ ภิกษุ ซื้อขายด้วยเงินมีประการต่างๆ ต้องอาบัติ)
- ฮิต: 5474
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙
(พระบัญญัติ ภิกษุ ซื้อขายด้วยเงินมีประการต่างๆ ต้องอาบัติ)
“อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ
มีประการต่าง ๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”
เล่ม ๓ หน้า ๙๕๗-๙๗๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๐๓-๙๑๕ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๐๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่
ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นพระฉัพพัคคีย์ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการต่าง ๆ
ชาวบ้านพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
จึงได้ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ
เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาอยู่ บรรดาผู้ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ
มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา
ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ถึงการซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการต่าง ๆ เล่า
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอถึงการซื้อขายด้วยรูปิยะ
มีประการต่าง ๆ จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า
ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
ไฉนพวกเธอจึงได้ถึงการซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการต่าง ๆ เล่า
การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว
ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ
ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย
ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส
การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น
ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย
แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ
มีประการต่าง ๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๐] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ
ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด
มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด
เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม
นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง...ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า
ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว
ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา
ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน
อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบท
ให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ
นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ คือ
เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณบ้าง
เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณบ้าง
ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณ ได้แก่
เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับคอ
เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นรูปพรรณ คือที่เรียกกันว่าเป็นแท่ง
ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ได้แก่ ของ ๒ อย่างนั้น
ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่
ทองคำ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ
มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง
ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.
บทว่า ถึงความซื้อขาย คือ
เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อของที่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย
เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่มิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ
ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณเละมิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์
ของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ ซึ่งเป็นนิสสัคคีย์นั้น
ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แลภิกษุพึงเสียสละของนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า
นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ
ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ
ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ
ถ้าคนทำการวัด หรืออุบาสกเดินมาในสถานที่เสียสละนั้น
พึงบอกเขาว่า
ท่านจงรู้ของสิ่งนี้
ถ้าเขาถามว่า
จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา
อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา
ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น
เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย
ถ้าเขานำของสิ่งนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย
เว้นภิกษุผู้ซื้อขายด้วยรูปิยะ
ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป
ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่ได้ พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของสิ่งนี้
ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี
ถ้าเขาไม่ทิ้งให้
พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
องค์ ๕ นั้น คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ
๕. รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้ง หรือไม่เป็นอันทิ้ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-
วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ
การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น
พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก
ถ้าทิ้งหมายที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
บทภาชนีย์
[๑๑๑] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ... ต้องอาบัติทุกกฏ
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ... ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
[๑๑๒] ภิกษุวิกลจริต ๑
ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙
พรรณนารูปิยสัพโยหารสิกขาบท
รูปิยสัพโยหารสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในรูปิยสัพโยหารสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า นานปฺปการก ได้แก่ มีประการมิใช่น้อย
ด้วยอำนาจรูปิยะที่ทำ (เป็นรูปภัณฑ์)
และมิได้ทำ (เป็นรูปภัณฑ์) เป็นต้น .
บทว่า รูปิยสพฺโยหาร ได้แก่
การแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงิน.
บทว่า สมาปชฺชนฺติ มีความว่า
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มองไม่เห็นโทษ
ในการแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงินที่ตนรับไว้แล้ว
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการรับอย่างเดียว
จึงกระทำ (การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ).
ในคำว่า สีสุปค เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
ทองเงินรูปภัณฑ์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ที่ชื่อว่าสีสูปคะ เพราะอรรถว่า ประดับศีรษะ.
ก็ในคัมภีร์ทั้งหลายเขียนไว้ว่า สีสูปก ก็มี.
คำว่า สีสูปก นี้ เป็นชื่อของเครื่องประดับศีรษะชนิดใดชนิดหนึ่ง.
ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
ในบทว่า กเตน กต เป็นต้นนี้
บัณฑิตพึงทราบการซื้อขาย
ด้วยรูปิยะล้วน ๆ เท่านั้น.
ข้าพเจ้า จักกล่าววินิจฉัยในบทว่า รูปิเย รูปิยสญี เป็นต้นต่อไป:-
บรรดาวัตถุที่กล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน
เมื่อภิกษุซื้อขายนิสสัคคิยวัตถุด้วยนิสสัคคิยวัตถุ
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทก่อน
ในเพราะการรับมูลค่า,
ในเพราะการซื้อขายของอื่น ๆ
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้แล.
แต่เมื่อซื้อขายทุกกฎวัตถุ
หรือกัปปิยวัตถุด้วยนิสสัคคิยวัตถุ
ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
[ว่าด้วยการซื้อขายรูปิยะด้วยรูปิยะเป็นต้น]
จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบติกะว่า
ภิกษุมีความสำคัญในรูปิยะว่าเป็นรูปิยะ
ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะ เป็นต้น
นี้ เป็นอีกติกะหนึ่ง ซึ่งแม้มิได้ตรัสไว้
เพราะอนุโลมแก่ติกะที่สองที่ตรัสไว้ว่า
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่มิใช่รูปิยะว่าเป็นรูปิยะ
ซื้อขายรูปิยะ เป็นต้นนี้.
แท้จริง ภิกษุซื้อขายรูปิยะของผู้อื่น
ด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะของตนก็ดี
ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะของผู้อื่นด้วยรูปิยะของตนก็ดี
แม้โดยการซื้อขายทั้งสองประการ
ก็จัดเป็นทำการซื้อขายด้วยรูปิยะเหมือนกัน.
เพราะฉะนั้น ในบาลี จึงตรัสไว้ติกะเดียวเท่านั้น
ในฝ่ายรูปิยะข้างเดียวฉะนี้แล.
ก็เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์
ด้วยวัตถุแห่งทุกกฎ เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ทุกกฎด้วยสิกขาบทก่อน
ในเพราะการรับมูลค่า.
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทนี้
ในเพราะแลกเปลี่ยนในภายหลัง
เพราะซื้อขายของหนัก.
เมื่อซื้อขายทุกกฎวัตถุนั่นแหละ หรือกัปปิยวัตถุ
ด้วยวัตถุแห่งทุกกฎ เป็นทุกกฎด้วยสิกขาบทก่อน
ในเพราะการรับมูลค่า,
เป็นทุกกฎเช่นกันด้วยสิกขาบทนี้
แม้ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง.
เพราะเหตุไร ?
เพราะซื้อขายด้วยอกัปปิยวัตถุ.
ส่วนในอรรถกถาอันธกะ ท่านกล่าวว่า
ถ้าภิกษุถึงการซื้อขายเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
คำนั้น ท่านกล่าวไว้ไม่ชอบ.
เพราะเหตุไร ?
เพราะชื่อว่าการซื้อขาย
นอกจากการให้และการรับ ไม่มี.
และกยวิกกยสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา
การแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุด้วยกัปปิยวัตถุเท่านั้น.
ก็แลการแลกเปลี่ยนนั้นนอกจากพวกสหธรรมิก.
สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการซื้อขายรูปิยะ
และสิ่งมิใช่รูปิยะด้วยรูปิยะ
และการซื้อขายรูปิยะด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะ,
ส่วนการซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎด้วยวัตถุแห่งทุกกฎ
มิได้ตรัสไว้ในบาลีในสิกขาบทนี้ (และ)
มิได้ตรัสไว้ในบาลีในกยวิกกยสิกขาบทนั้นเลย.
ก็ในการซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎ ด้วยวัตถุแห่งทุกกฎนี้
ไม่ควรจะ (เป็นอนาบัติ).
เพราะฉะนั้น พวกอาจารย์ผู้รู้พระประสงค์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้กล่าวคำว่า ในเพราะรับวัตถุแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏ ฉันใด,
แม้ในเพราะซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎนั้น
ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏนั้นนั่นแล เป็นทุกกฎ
ก็ชอบแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน.
อนึ่ง เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุนิสสัคคีย์
ด้วยกัปปิยวัตถุ เป็นอนาบัติ
ด้วยสิกขาบทก่อนในเพราะการรับมูลค่า,
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
สิกขาบทนี้ ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งมิใช่รูปิยะว่าไม่ใช่รูปิยะ
ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎ
ด้วยกัปปิยวัตถุนั้นนั่นแหละ ไม่เป็นอาบัติ
เหมือนอย่างนั้น ในเพราะการรับมูลค่า,
เป็นทุกกฎด้วยสิกขาบทนี้
ในเพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง.
เพราะเหตุไร ?
เพราะซื้อขายสิ่งเป็นอกัปปิยะ.
อนึ่ง เมื่อภิกษุแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุ ด้วยกัปปิยวัตถุ
นอกจากพวกสหธรรมิก ไม่เป็นอาบัติ
ด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า.
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยวิกกยสิกขาบทข้างหน้า
เพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง.
เมื่อภิกษุถือเอาพ้นการซื้อขายไป ไม่เป็นอาบัติ
แม้โดยสิกขาบทข้างหน้า.
(แต่) เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ประกอบการหาผลกำไร.
[อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์]
อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบปัตตจตุกกะนี้
อันแสดงถึงความที่รูปิยสัพโยหารสิกขาบทนี้หนัก.
ความพิสดารว่า
ภิกษุใด รับเอารูปิยะ
แล้วจ้างให้ขุดแร่เหล็กขึ้นด้วยรูปิยะนั้น,
ให้ช่างเหล็กถลุงแร่เหล็กนั้น
แล้วให้ทำบาตรด้วยโลหะนั้น.
บาตรนี้ ชื่อว่า เป็นมหาอกัปปิยะ
ภิกษุนั้นไม่อาจทำให้เป็นกัปปิยะได้ด้วยอุบายไร ๆ.
ก็ถ้าว่า ทำลายบาตรนั้นแล้วให้ช่างทำกระถาง.
แม้กระถางนั้นก็เป็นอกัปปิยะ.
ให้กระทำมีด
แม้ไม้สีฟันที่ตัดด้วยมีดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ.
ให้กระทำเบ็ด
แม้ปลาที่เขาให้ตายด้วยเบ็ดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ.
ภิกษุให้ช่างเผาตัวมีดให้ร้อนแล้ว
แช่น้ำ หรือนมสดให้ร้อน.
แม้น้ำและนมสดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะเช่นกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า
ก็ภิกษุใด รับรูปิยะแล้วซื้อบาตรด้วยรูปิยะนั้น,
แม้บาตรนี้ของภิกษุนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ
ไม่สมควรแม้แก่สหธรรมิกทั้ง ๕.
แต่ภิกษุนั้นอาจทำบาตรนั้น ให้เป็นกัปปิยะได้.
จริงอยู่ บาตรนั้น จะเป็นกัปปิยะได้
ต่อเมื่อให้มูลค่าแก่เจ้าของมูลค่า
และเมื่อให้บาตรแก่เจ้าของบาตร.
ภิกษุจะให้กัปปิยภัณฑ์
แล้วรับเอาไปใช้สอยสมควรอยู่.
ฝ่ายภิกษุใด ให้รับเอารูปิยะไว้แล้ว
ไปยังตระกูลช่างเหล็กกับด้วยกัปปิยการก
เห็นบาตรแล้วพูดว่า บาตรนี้ เราชอบใจ.
และกัปปิยการกให้รูปิยะนั้นแล้ว ให้ช่างเหล็กตกลง.
แม้บาตรใบนี้ อันภิกษุนั้นถือเอาโดยกัปปิยโวหาร
เป็นเช่นกับบาตรใบที่ ๒ นั่นเอง
จัด เป็นอกัปปิยะเหมือนกัน
เพราะภิกษุรับมูลค่า.
ถามว่า เพราะเหตุไร
จึงไม่ควรแก่สหธรรมิกที่เหลือ ?
แก้ว่า เพราะไม่เสียสละมูลค่า.
อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รับรูปิยะไปยังตระกูลช่างเหล็ก
พร้อมกับกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า
ท่านจงซื้อบาตรถวายพระเถระ
เห็นบาตรแล้ว ให้กัปปิยการกจ่ายกหาปณะว่า
เธอจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว ให้บาตรนี้แล้วได้ถือเอาไป.
บาตรนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุรูปนี้เท่านั้น เพราะจัดการไม่ชอบ,
แต่ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น เพราะไม่ได้รับมูลค่า.
ได้ทราบว่า อุปัชฌาย์ของพระมหาสุมเถระ มีชื่อว่าอนุรุทธเถระ.
ท่านบรรจุบาตรเห็นปานนี้ของตนให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว สละแก่สงฆ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๗๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
พวกสัทธิวิหาริกแม้ของพระจุลนาคเถระผู้ทรงไตรปิฎก
ก็ได้มีบาตรเช่นนั้นเหมือนกัน.
พระเถระสั่งให้บรรจุบาตรนั้นให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว
ให้เสียสละแก่สงฆ์ ดังนี้แล. นี้ชื่ออกัปปิยปัตตจตุกกะ.
ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่รับรูปิยะไปสู่ตระกูลแห่งช่างเหล็ก
พร้อมด้วยกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า เธอจงซื้อบาตรถวายพระเถระ
เห็นบาตรแล้วกล่าวว่า บาตรนี้เราชอบใจ หรือว่า เราจักเอาบาตรนี้,
และกัปปิยการกจ่ายรูปิยะนั้นให้แล้ว
ให้ช่างเหล็กยินยอมตกลง.
บาตรนี้สมควรทุกอย่าง ควรแก่การบริโภค
แม้แห่งพระพุทธทั้งหลาย.
สองบทว่า อรูปิเย รูปิยสญี ได้แก่
มีความสำคัญในทองเหลือง เป็นต้น ว่าเป็นทองคำเป็นต้น.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า
ถ้าภิกษุซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะ.. ด้วยสิ่งที่มิใช่รูปิยะ
ซึ่งมีความสำคัญว่าเป็นรูปิยะนั้น เป็นอาบัติทุกกฏ.
ในภิกษุผู้มีความสงสัย ก็มีนัยอย่างนี้.
แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุมีความสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ
แม้กระทำการซื้อขาย กับด้วย สหธรรมิก ๕ ว่า
ท่านจงถือเอาสิ่งนี้แล้วให้สิ่งนี้.
คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา
โนสัญญาวิโมกข์ เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
รูปิยสัพโยหาร สิกขาบทที่ ๙ จบ
http://www.tripitaka91.com/3-957-10.html