ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง

 

"ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง,

รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง,

ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง,

ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."

 

เล่ม ๔๓ หน้า ๓๒๓-๓๒๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๔๗-๒๕๑ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔

 

๑๐. เรื่องท้าวสักกเทวราช [๒๔๙]

 

ข้อความเบื้องต้น

 

          พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน

ทรงปรารภท้าวสักกเทวราช

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพทานํ " เป็นต้น.

 

ปัญหา ๔ ข้อของเทวดา

 

          ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง

เทพดาในดาวดึงสเทวโลกประชุมกันแล้ว

ตั้งปัญหาขึ้น ๔ ข้อว่า

" บรรดาทานทั้งหลาย ทานชนิดไหนหนอแล  ?

บัณฑิตกล่าวว่าเยี่ยม,

บรรดารสทั้งหลาย รสชนิดไหน ?

บัณฑิตกล่าวว่ายอด,

บรรดาความยินดีทั้งหลาย ความยินดีชนิดไหน ?

บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ,

ความสิ้นไปแห่งตัณหาแล

บัณฑิตกล่าวว่าประเสริฐที่สุด เพราะเหตุไร ?

แม้เทพดาองค์หนึ่ง ก็มิสามารถจะวินิจฉัยปัญหาเหล่านั้นได้.

ก็เทพดาองค์หนึ่ง ถามกะเทพดาองค์หนึ่ง,

แม้เทพดาองค์นั้น ก็ถามเทพดาองค์อื่นอีก,

ก็เทพดาทั้งหลาย ถามกันและกันอย่างนั้น

ด้วยอาการอย่างนั้น ได้ท่องเที่ยวไปในหมื่นจักรวาลถึง ๑๒ ปี.

 

เทวดาพากันไปถามปัญหาท้าวมหาราชทั้ง ๔

 

          เทวดาในหมื่นจักรวาล

ไม่เห็นเนื้อความแห่งปัญหาโดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้

ประชุมกันแล้ว ไปยังสำนักของท้าวมหาราชทั้ง ๔,

เมื่อท้าวมหาราชกล่าวว่า

" พ่อทั้งหลาย ทำไมจึงมีเทพสันนิบาตกันใหญ่  ? "

 

จึงกล่าวว่า

" พวกผมตั้งปัญหาขึ้น ๔ ข้อแล้ว

เมื่อไม่สามารถจะวินิจฉัยได้จึงมายังสำนักของท่าน,

" เมื่อท้าวมหาราชกล่าวว่า "

ชื่อปัญหาอะไรกัน ? พ่อ "

(จึงบอกเนื้อความนั้น) ว่า

" พวกผมไม่สามารถวินิจฉัยปัญหา

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๓๒๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เหล่านี้ได้ คือ

' บรรดาทาน รส และความยินดี

ทาน รส และความยินดี ชนิดไหนหนอแล ประเสริฐสุด ?

ความสิ้นไปแห่งตัณหาเทียว ประเสริฐสุด เพราะเหตุไร ? " จึงมาหา

          ท้าวมหาราชทั้ง ๔ กล่าวว่า

" พ่อทั้งหลาย แม้พวกเราก็หารู้เนื้อความแห่งปัญหาเหล่านี้ไม่;

แต่พระราชาของพวกเรา ทรงดำริอรรถที่ชนตั้งพันคิดแล้ว

ย่อมทรงทราบโดยขณะเดียวเท่านั้น,

พระองค์ประเสริฐวิเศษกว่าพวกเราทั้งหลาย

ทั้งทางปัญญาและทางบุญ,

พวกเราจงไปยังสำนักของพระองค์เถิด "

แล้วพาหมู่เทพดานั้นนั่นแลไปยังสำนักของท้าวสักกเทวราช,

ถึงเมื่อท้าวสักกเทวราชนั้นตรัสว่า

" พ่อทั้งหลาย ทำไมจึงมีเทพสันนิบาตกันใหญ่ ? " 

ก็กราบทูลเนื้อความนั้น.

 

ท้าวสักกะทรงพาพวกเทวดาไปเฝ้าพระศาสดา

 

          ท้าวสักกะตรัสว่า

" พ่อทั้งหลาย คนอื่นย่อมไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งปัญหาเหล่านี้ได้,

ปัญหาเหล่านั่น เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า,

แล้วตรัสถามว่า

" ก็เดี๋ยวนี้ พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ไหน ? "

ทรงสดับว่า " ในพระเชตวันวิหาร" จึงตรัสว่า

" พวกเธอมาเถิด, พวกเราจักไปยังสำนักของพระองค์ "

ทรงพร้อมด้วยหมู่เทพดา

ให้พระเชตะวันทั้งสิ้นสว่างไสวในส่วนแห่งราตรี

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว

ประทับยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง,

เมื่อพระศาสดาตรัสว่า

" มหาบพิตร ทำไมพระองค์จึงเสด็จมาพร้อมกับหมู่เทพดามากมาย ? "

จึงกราบทูลว่า

" พระเจ้าข้า หมู่เทพดาพากันตั้งปัญหาชื่อเหล่านี้,

คนอื่นที่ชื่อว่าสามารถรู้เนื้อความแห่งปัญหาเหล่านี้ได้ หามีไม่,

ขอพระองค์ได้ทรงประกาศเนื้อความแห่งปัญหาเหล่านี้

แก่พวกข้าพระองค์เถิด. "

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๓๒๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

พระศาสดาทรงแก้ปัญหา

 

          พระศาสดาตรัสว่า

" ดีละ มหาบพิตร ตถาคตบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ

บริจาคมหาบริจาค แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว

ก็เพื่อตัดความสงสัยของชนผู้เช่นพระองค์นี่แหละ,

ขอพระองค์จงทรงสดับปัญหาที่พระองค์ถามแล้วเถิด:

บรรดาทานทุกชนิด ธรรมทานเป็นเยี่ยม,

บรรดารสทุกชนิด รสแห่งพระธรรมเป็นยอด,

บรรดาความยินดีทุกชนิด ความยินดีในธรรมประเสริฐ,

ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหาประเสริฐที่สุดแท้

เพราะความเป็นเหตุให้สัตว์บรรลุพระอรหัต "

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

                    ๑๐.  สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ   ชินาติ

          สพฺพํ    รสํ    ธมฺมรโส   ชินาติ

          สพฺพํ  รตึ  ธมฺมรตี  ชินาติ

          ตณฺหกฺขโย   สพฺพทุกฺขํ  ชนาติ.

          ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง,

          รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง,

          ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง,

          ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง. "

 

แก้อรรถ

 

          บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า สพฺพทานํ  เป็นต้น ความว่า

ก็ถ้าบุคคลถึงถวายไตรจีวรเช่นกับใบตองอ่อน

แด่พระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วพระขีณาสพทั้งหลาย

ผู้นั่งติด ๆ กัน ในห้องจักรวาลตลอด

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๓๒๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ถึงพรหมโลก.

การอนุโมทนาเทียว ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงทำด้วย

พระคาถา ๔ บาทในสมาคมนั้นประเสริฐ;

ก็ทานนั้น หามีค่าถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพระคาถานั้นไม่:

การแสดงก็ดี การกล่าวสอนก็ดี การสดับก็ดี ซึ่งธรรม

เป็นของใหญ่ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง บุคคลใดให้ทำการฟังธรรม,

อานิสงส์เป็นอันมากก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้นแท้.

ธรรมทานนั่นแหละ ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นให้เป็นไปแล้ว

แม้ด้วยอำนาจอนุโมทนาโดยที่สุดด้วยพระคาถา ๔ บาท

ประเสริฐที่สุดกว่าทานที่ทายกบรรจุบาตร

ให้เต็มด้วยบิณฑบาตอันประณีต

แล้วถวายแก่บริษัทเห็นปานนั้นนั่นแหละบ้าง

กว่าเภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตร

ให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้นแล้วถวายบ้าง

กว่าเสนาสนทานที่ทายกให้สร้างวิหารเช่นกับมหาวิหาร

และปราสาทเช่นกับโลหปราสาทตั้งหลายแสนแล้วถวายบ้าง

กว่าการบริจาคที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้น

ปรารภวิหารทั้งหลายแล้วทำบ้าง.

เพราะเหตุไร ?

เพราะว่าชนทั้งหลาย เมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น

ต่อฟังธรรมแล้วเท่านั้นจึงทำได้.

ไม่ได้ฟัง ก็หาทำได้;

ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงฟังธรรมไซร้,

เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง

ภัตประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง;

เพราะเหตุนี้ ธรรมทานนั่นแหละ

จึงประเสริฐที่สุดกว่าทานทุกชนิด.

          อีกอย่างหนึ่ง เว้นพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเสีย

แม้พระสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น

ผู้ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งสามารถนับหยาดน้ำได้

ในเมื่อฝนตกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ก็ยังไม่สามารถ

จะบรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น โดยธรรมดาของตนได้;

ต่อฟังธรรมที่พระอัสสชิเถระเป็นต้นแสดงแล้ว

จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล, และทำให้แจ้งซึ่ง

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๓๒๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

สาวกบารมีญาณ

ด้วยพระธรรมเทศนาของพระศาสดา;

เพราะเหตุแม้นี้มหาบพิตร

ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุด.

เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า

"สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ  ชินาติ. "

          อนึ่ง รสมีรสเกิดแต่ลำต้นเป็นต้นทุกชนิด

โดยส่วนสูงแม้รสแห่งสุธาโภชน์ของเทพดาทั้งหลาย

ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยังสัตว์ให้ตกไปในสังสารวัฏ

แล้วเสวยทุกข์โดยแท้.

ส่วนพระธรรมรส

กล่าวคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

และกล่าวคือโลกุตรธรรม ๙ ประการนี้แหละ

ประเสริฐกว่ารสทั้งปวง.

เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า

" สพฺพรสํ  ธมฺมรโส  ชินาติ."

          อนึ่ง แม้ความยินดีในบุตร ความยินดีในธิดา

ความยินดีในทรัพย์ ความยินดีในสตรี

และความยินดีมีประเภทมิใช่อย่างเดียว

อันต่างด้วยความยินดีในการฟ้อนการขับการประโคมเป็นต้น

ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยังสัตว์ให้ตกไปในสังสารวัฏ แล้วเสวยทุกข์โดยแท้;

ส่วนความอิ่มใจ ซึ่งเกิดขึ้น ณ ภายใน

ของผู้แสดงก็ดี ผู้ฟังก็ดี ผู้กล่าวสอนก็ดี ซึ่งธรรม

ย่อมให้เกิดความเบิกบานใจ ให้น้ำตาไหล ให้เกิดขึ้นชูชัน

ความอิ่มใจนั้นย่อมทำที่สุดแห่งสังสารวัฏ

มีพระอรหัตเป็นปริโยสาน;

ความยินดีในธรรม เห็นปานนี้แหละ

ประเสริฐกว่าความยินดีทั้งปวง.

เพราะเหตุนั้นพระศาสดา จึงตรัสว่า

"สพฺพรตึ  ธมฺมรติ  ชินาติ."

          ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหา

คือพระอรหัตซึ่งเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๓๒๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ความสิ้นไปแห่งตัณหา,

พระอรหัตนั้น ประเสริฐกว่าทุกอย่างแท้

เพราะครอบงำวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น.

เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า

" ตณฺหกฺขโย  สพฺพทุกฺขํ  ชินาติ."

          เมื่อพระศาสดา ตรัสเนื้อความแห่งพระคาถานี้

ด้วยประการฉะนี้อยู่นั่นแล

ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พันแล้ว.

          แม้ท้าวสักกะ ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดา

ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ทูลว่า

พระเจ้าข้า เพื่อประโยชน์อะไร

พระองค์จึงไม่รับสั่งให้ให้ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์

ในธรรมทานอันชื่อว่าเยี่ยมอย่างนี้ ?

จำเดิมแต่นี้ไป

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ภิกษุสงฆ์

แล้วรับสั่งให้ ๆ ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า."

พระศาสดา ทรงสดับคำของท้าวเธอแล้ว

รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ตรัสว่า

" ภิกษุทั้งหลายตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

พวกเธอทำการฟังธรรมใหญ่ก็ดี

การฟังธรรมตามปกติก็ดี

กล่าวอุปนิสินนกถาก็ดี

โดยที่สุดแม้การอนุโมทนา

แล้วพึงให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวง. "

 

เรื่องท้าวสักกเทวราช  จบ.        

 

http://www.tripitaka91.com/43-323-1.html

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994