ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน

  

“บุคคลพึงเห็นผู้ใด ผู้แสดงโทษ กล่าวข่มขี่ มีปัญญา  

ว่าเป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้

พึงคบหาบุคคลเช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต

เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณอันประเสริฐ

ไม่มีโทษลามกเลย

บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน 

และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ 

บุคคลนั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น

เป็นที่ชังของพวกอสัตบุรุษ ดังนี้.”

 

เล่ม ๖๖ หน้า ๖๒๐-๖๒๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๗๗-๕๗๘ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒

 

บางส่วนของ สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

 

                    [๙๗๕] ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ

          พึงทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย

          พึงเปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต

          ไม่พึงคิดเพื่อธรรม คือการว่ากล่าวซึ่งชน.

 

ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน

 

          [๙๗๖] คำว่า ถูกตักเตือน ในคำว่า

ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ ความว่า

พระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ พระเถระปูนอุปัชฌายะ

พระเถระปูนอาจารย์ มิตรผู้เคยเห็นกัน

ผู้ที่เคยคบกันมา หรือสหาย ตักเตือนว่า

ท่านผู้มีอายุ กรรมนี้ไม่ควรแก่ท่าน กรรมนี้ยังไม่ถึงแก่ท่าน

กรรมนี้ไม่เหมาะแก่ท่าน กรรมนี้ไม่งดงามแก่ท่าน

ภิกษุ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๖๒๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้งสติยินดี ชอบใจ

เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์

ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น

เหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นสาวเป็นหนุ่ม

กำลังเจริญ ชอบแต่งตัว อาบน้ำดำเกล้าแล้ว

ได้พวงมาลัยดอกบัวก็ดี พวงมาลัยดอกมะลิก็ดี

พวงมาลัยดอกลำดวนก็ดี รับด้วยมือทั้งสองแล้ว

เอาวางไว้บนศีรษะ ซึ่งเป็นอวัยวะสูงสุด

พึงยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้

ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ฉันใด

ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้งสติยินดี ชอบใจ

เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา

รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

          สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

                    บุคคลพึงเห็นผู้ใด ผู้แสดงโทษ

          กล่าวข่มขี่ มีปัญญา

          ว่าเป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้

          พึงคบหาบุคคลเช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต

          เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณอันประเสริฐ

          ไม่มีโทษลามกเลย

          บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน

          และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ

          บุคคลนั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น

          ที่ชังของพวกอสัตบุรุษ ดังนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ.

 

http://www.tripitaka91.com/66-620-11.html

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994