[อธิบายวิธีเสียสละและวิธีแสดงอาบัติ] (จีวรเป็นนิสสัคคีย์)
- ฮิต: 7374
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
[อธิบายวิธีเสียสละและวิธีแสดงอาบัติ]
(จีวรเป็นนิสสัคคีย์)
เล่ม ๓ หน้า ๗๐๙-๗๑๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๖๙-๖๗๓ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓
บางส่วนของ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑
พรรณนาปฐมกฐินสิกขาบท
[อธิบายวิธีเสียสละและวิธีแสดงอาบัติ]
ข้อว่า นิสฺสชฺชิตฺวา อาปตฺติ เทเสตพฺพา มีความว่า
ถามว่า พึงแสดงอาบัติอย่างไร ?
แก้ว่า พึงแสดงเหมือนอย่างที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในขันธกะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗๑๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ถามว่า ก็ตรัสไว้ในขันธกะนั้น อย่างไร ?
แก้ว่า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์
กระทำอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ไหว้เท้าแห่งภิกษุผู้แก่ทั้งหลายแล้ว
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนามํ อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทเสมิ
(ท่านเจ้าข้า ! กระผมต้องอาบัติมีชื่ออย่างนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น).
ก็ในอธิการนี้ ถ้าจีวรมีผืนเดียว พึงกล่าวว่า
เอกํ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ...
(ต้องแล้ว) ซึ่งนิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ตัวหนึ่ง.
ถ้าจีวร ๒ ผืน พึงกล่าวว่า
เทฺว... ซึ่งอาบัติ ๒ ตัว.
ถ้าจีวรมากผืนพึงกล่าวว่า สมฺพหุลา... ซึ่งอาบัติหลายตัว.
แม้ในการเสียสละ ถ้าว่า จีวรมีผืนเดียว
พึงกล่าวตามสมควรแก่บาลีนั่นแลว่า อิทํ เม ภนฺเต จีวรํ
ท่านเจ้าข้า ! จีวรของกระผมผืนนี้ เป็นต้น
ถ้าหากว่าจีวร ๒ ผืน หรือมากผืน พึงกล่าวว่า
อิมานิ เม ภน เต จีวรานิ ทสาหาติกฺกนฺตานิ นิสฺสคฺคิยานิ
อิมานาหํ สงฺฆสฺส นิสฺสชฺชามิ
(ท่านเจ้าข้า !
จีวรของกระผมเหล่านี้ล่วง ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์,
กระผมเสียสละจีวรเหล่านี้แก่สงฆ์)
เมื่อไม่สามารถจะกล่าวบาลีได้ พึงกล่าวโดยภาษาอื่นก็ได้.
ภิกษุพึงรับอาบัติโดยนัยดังกล่าวไว้ในขันธกะนั่นแลว่า
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ ในขันธกะนั้นอย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงสงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ระลึกได้ เปิดเผย กระทำให้ตื้น ย่อมแสดงซึ่งอาบัติ,
ถ้าความพรั่งพร้อมแห่งสงฆ์ถึงที่แล้ว,
ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุมีชื่ออย่างนี้ ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗๑๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุรับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า
ปสฺสสิ (เธอเห็นหรือ).
ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ! ผมเห็น)
ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (เธอพึงสำรวมต่อไป).
ผู้แสดง: สาธุ สุฏฺฐุ สํวริสฺสามิ (ดีละ ผมจะสำรวมให้ดี).
ก็ในอาบัติ ๒ ตัว หรือหลายตัวด้วยกัน
ผู้ศึกษาพึงทราบความต่างแห่งวจนะโดยนัยก่อนนั่นแล
แม้ในการให้จีวร (คืน)
ก็พึงทราบความแตกต่างแห่งวจนะด้วยอำนาจแห่งวัตถุ คือ
สงฺโฆ อิมํ จีวรํ อิมานิ จีวรานิ...
สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ พึงให้จีวรทั้งหลายเหล่านี้...
ถึงในการเสียสละแก่คณะ และแก่บุคคล ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
ก็ในการแสดงและการรับอาบัติในอธิการนี้ มีบาลีดังต่อไปนี้:-
เตน ภิกฺขุเว ภิกฺขุนา ฯ เปฯ เอวมสฺสุ วจนียา อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนามํ
อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทสมิ แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อันภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุมากรูป
กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ไหว้เท้าทั้งหลายแห่งภิกษุผู้แก่ทั้งหลายแล้ว
นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี พึงกล่าวอย่างนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ! ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ขอแสดงคืนซึ่งอาบัตินั้น.
อันภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงภิกษุเหล่านั้นให้ทราบว่า
สุณาตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา อยํ อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ อาปตฺตึ สรติ วิวรติ
อุตฺตานีกโรติ เทเสติ ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ อหํ อิตฺถนฺนามสฺส
ภิกฺขุโน อาปตฺตึ ปฏิคฺคณฺเหยฺยํ แปลว่า
ท่านเจ้าข้า ! ท่านผู้มีอายุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗๑๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ รูปนี้ย่อมระลึก ย่อมเปิดเผย
ย่อมกระทำให้ตื้น ย่อมแสดงอาบัติ,
ถ้าว่าความพรั่งพร้อมแห่งท่านผู้มีอายุทั้งหลายถึงที่แล้ว
ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุชื่อนี้.
ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุผู้รับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า
ปสฺสสิ (ท่านเห็นหรือ).
ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ! ผมเห็น).
ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (ท่านพึงสำรวมระวังต่อไป).
ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า
แล้วนั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูก่อนอาวุโส ! ข้าพเจ้าต้องอาบัติ มีชื่ออย่างนี้แล้ว, จะแสดงคืนอาบัติ,
ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุผู้รับอาบัตินั้นพึงกล่าวว่า
ปสฺสสิ (ท่านเห็นหรือ).
ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ! ผมเห็น).
ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (ท่านพึงสำรวมระวังต่อไป).
ในวิสัยแห่งการแสดงและรับอาบัตินั้น
ผู้ศึกษาพึงทราบการระบุชื่ออาบัติและความต่างแห่งวจนะ
โดยนัยก่อนนั่นแล.
และพึงทราบบาลี แม้ในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูป
เหมือนในการสละแก่คณะฉะนั้น.
ก็ถ้าว่าจะพึงมีความแปลกกันไซร้,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสบาลีไว้แผนกหนึ่ง
แม้ในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูปนี้
เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสปาริสุทธิอุโบสถแก่ภิกษุ ๓ รูป
โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย !
เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลภิกษุเหล่านั้นพึงทำอุโบสถเหล่านั้นอย่างนี้;
ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗๑๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
เหล่านั้นให้ทราบ แล้วตรัสปาริสุทธิอุโบสถแก่ภิกษุ ๒ รูปอีกแผนกหนึ่ง
ต่างหาก โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป
ทำปาริสุทธิอุโบสถ, ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลภิกษุเหล่านั้น พึงทำอุโบสถนั้นอย่างนี้
ภิกษุเถระพึงทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า ดังนี้ ฉะนั้น.
ก็เพราะไม่มีความแปลกกัน; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมิได้ตรัสไว้ ทรงผ่านไปเสีย
เพราะฉะนั้น บาลีในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูปนี้ เป็นบาลีที่ตรัสไว้แก่คณะเหมือนกัน.
ส่วนในการรับอาบัติมีความแปลกกันดังนี้:-
บรรดาภิกษุ ๒ รูป ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง อย่าตั้งญัตติ เหมือนภิกษุผู้รับอาบัติ ตั้งญัตติ
ในเมื่อภิกษุผู้ต้องอาบัติสละแก่คณะแล้วแสดงอาบัติ
พึงรับอาบัติเหมือนบุคคลคนเดียวรับฉะนั้น.
แท้จริง ชื่อว่าการตั้งญัตติสำหรับภิกษุ ๒ รูป ย่อมไม่มี.
ก็ถ้าหากจะพึงมี, พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงตรัสปาริสุทธิอุโบสถไว้แผนกหนึ่ง
สำหรับภิกษุ ๒ รูป แม้ในการให้จีวรที่เสียสละแล้วคืน จะกล่าวว่า
อิมํ จีวร อายสฺมโต เทม พวกเราใหัจีวรผืนนี้แก่ท่าน
เหมือนภิกษุรูปเดียวกล่าวว่า
อิมํ จีวรํ อายสฺมโต ทมฺมิ ผมให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้ ก็ควร.
จริงอยู่ แม้ญัตติทุติยกรรม ซึ่งหนักกว่านี้ ตรัสว่า ควรอปโลกน์ทำ ก็มี
วินัยกรรมมีการสละนี้ สมควรแก่ญัตติทุติยกรรมเหล่านั้น.
แต่จีวรที่สละแล้ว ควรให้คืนทีเดียว, จะไม่ให้คืนไม่ได้.
ก็การให้คืนจีวรที่สละเสียแล้วนี้เป็นเพียงวินัยกรรม.
จีวรนั้นเป็นอันภิกษุนั้นให้แก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล
หามิได้ทั้งนั้นแล.