คำถาม-คำตอบ เงินนิตยภัตที่ให้พระเปิดบัญชีรับเงินผิดหรือไม่ ?
- ฮิต: 4281
คำถาม
เงินนิตยภัตที่ให้พระเปิดบัญชีรับเงินผิดหรือไม่ ?
คำตอบ
ผิด เพราะให้พระรับเงินเข้าบัญชีโดยตรง
ซึ่งผิดเพี้ยนมาจากระบบเดิมที่มีสังฆการีเป็นผู้จัดการ
และ นิตยภัต ตามความหมายคือ อาหารประจำ
ไม่ใช่เงินประจำ ในพระไตรปิฎกมีหลักฐาน
ที่ปรากฏอยู่ในเรื่องนิตยภัต
ที่เป็นอาหารประจำไม่ใช่เงินประจำ
และเมื่อให้เจ้าอาวาสเปิดบัญชีรับเงินอยู่
หากรู้แล้วไม่แก้ไขปกปิดไว้
เจ้าอาวาสก็จะเป็นภิกษุอลัชชี พระที่อยู่ในวัดเดียวกัน
ก็จะต้องอาบัติด้วยเพราะอยู่ร่วมกับภิกษุอลัชชี
ทำให้พระต้องอาบัติเพิ่มขึ้นไปอีกหากไม่มีการแก้ไข
อ้างอิง
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม
ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
ตัวอย่างนิตยภัตรที่ถูกต้องในพระไตรปิฎก
https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/918-21-335
เล่ม ๒๑ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๑๙-๓๒๐ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒
เล่ม ๙ หน้า ๒๖๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๕๘ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒
เล่ม ๔ หน้า ๔๗๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๘๕ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒
เล่ม ๔๓ หน้า ๔๒๓-๔๒๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๒๖-๓๒๘ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔
เล่ม ๒๑ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๑๙-๓๒๐ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒
บางส่วนของ โฆฏมุขสูตร
อนึ่ง มีเบี้ยเลี้ยงประจำ
ที่พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานแก่ข้าพเจ้าทุกวัน
ข้าพเจ้าขอถวายส่วนหนึ่งจากเบี้ยเลี้ยงประจำนั้นแก่ท่านอุเทน.
[๖๔๕] อุ. ดูก่อนพราหมณ์
ก็พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานอะไร
เป็นเบี้ยเลี้ยงประจำทุกวันแก่ท่าน.
โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน
พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานกหาปณะ ๕๐๐
เป็นเบี้ยเลี้ยงประจำแก่ข้าพเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๓๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
อุ. ดูก่อนพราหมณ์
การรับทองและเงิน
ไม่สมควรแก่อาตมาทั้งหลาย.
โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน
ถ้าทองและเงินนั้นไม่สมควร
ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหารถวายท่านอุเทน.
อุ. ดูก่อนพราหมณ์
ถ้าแลท่านปรารถนาจะให้สร้างวิหารถวายอาตมา
ก็ขอให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์
ในเมืองปาตลีบุตรเถิด.
โฆ. ด้วยข้อที่ท่านอุเทนชักชวนข้าพเจ้าในสังฆทานนี้
ข้าพเจ้ามีใจชื่นชมยินดีเหลือประมาณ
ข้าแต่ท่านอุเทน
ข้าพเจ้าจะให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร
ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ด้วย
ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่นด้วย.
ครั้งนั้นแล
โฆฏมุขพราหมณ์ให้จัดสร้างโรงเลี้ยง
ถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร
ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้และส่วนอื่น
โรงเลี้ยงนั้น เดี๋ยวนี้เรียกว่า โฆฏมุขี ฉะนี้แล.
จบ โฆฏมุขสูตรที่ ๔
http://www.tripitaka91.com/21-335-16.html
“ภัตประจำ เรียกว่า นิตยภัต.”
เล่ม ๙ หน้า ๒๖๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๕๘ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒
บางส่วนของ เสนาสนักขันธกวรรณนา
[ภัตอีก ๓ ชนิด]
ภัตอื่นอีก ๓ ชนิดเหล่านี้ คือ ธุวภัต กุฏิภัต วารกภัติ.
ในภัต ๓ ชนิดนั้น
นิตยภัต เรียกว่า ธุวภัต.
ธุวภัตนั้น มี ๒ อย่าง คือ
ของสงฆ์ ๑.
ของเฉพาะบุคคล ๑.
ใน ๒ อย่างนั้น
ธุวภัตใด อันทายกถวายให้เป็นประจำว่า
ข้าพเจ้าถวายธุวภัตแก่สงฆ์ ดังนี้
ธุวภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน.
ก็แล ธุวภัตนั้น อันทายกบอกถวายว่า
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงรับภิกษาประจำของข้าพเจ้า ดังนี้
ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.
แม้ครั้นเมื่อธุวภัตเป็นของเฉพาะบุคคล อันทายกกล่าวว่า
ข้าพเจ้าถวายธุวภัต แก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้
ธุวภัตนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์เท่านั้น.
แต่เมื่อเขากล่าวว่า
ท่านทั้งหลายจงรับภิกษาประจำของข้าพเจ้า ดังนี้ ควรอยู่,
ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์พึงยินดี.
แม้ถ้าว่าภายหลัง เมื่อล่วงไปแล้ว ๒- ๓ วัน เขากล่าวว่า
ท่านทั้งหลายจงรับธุวภัต
ภัตนั้นควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์
เพราะเป็นของที่เธอรับไว้ดีแล้วในวันแรก.
http://www.tripitaka91.com/9-260-3.html
เล่ม ๔ หน้า ๔๗๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๘๕ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒
บางส่วนของ คณโภชนสิกขาบทที่ ๒
ภัตประจำ เรียกว่า นิตยภัต.
ชาวบ้านพูดว่า นิมนต์รับนิตยภัต
จะรับร่วมกันมากรูป ก็ควร.
แม้ในสลากภัตเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแล.
http://www.tripitaka91.com/4-476-9.html
เล่ม ๔๓ หน้า ๔๒๓-๔๒๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๒๖-๓๒๘ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔
๒๖. พราหมณวรรควรรณนา
๑. เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก [๒๖๔]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
" ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม " เป็นต้น.
พวกภิกษุรังเกียจวาทะของพราหมณ์
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นฟังธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส เริ่มตั้งนิตยภัตเพื่อภิกษุมีประมาณ ๑๖ รูป
ไว้ในเรือนของตน รับบาตรในเวลาภิกษุทั้งหลายมาแล้ว กล่าวว่า
" ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เจริญ จงมา,
ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เจริญ จงนั่ง"
เมื่อจะกล่าวคำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็กล่าวคำประกอบเฉพาะด้วยวาทะว่าพระอรหันต์เท่านั้น.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น พวกที่เป็นปุถุชนคิดกันว่า
" พราหมณ์นี้ มีความสำคัญในพวกเราว่าเป็นพระอรหันต์"
พวกที่เป็นพระขีณาสพก็คิดว่า
" พราหมณ์นี้ ย่อมรู้ความที่พวกเราเป็นพระขีณาสพ,"
ภิกษุแม้ทั้งหมดนั้น ประพฤติรังเกียจอยู่อย่างนี้
จึงไม่ไปสู่เรือนของพราหมณ์นั้น.
เขาเป็นผู้มีทุกข์เสียใจ คิดว่า
" ทำไมหนอแล พระผู้เป็นเจ้าจึงไม่มา"
จึงไปยังวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา
กราบทูลเนื้อความนั้น.
ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่ยินดีต่อวาทะนั้น
พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๔๒๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ทั้งหลาย ข้อนั้นอย่างไร "
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว, จึงตรัสว่า
" ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอยังยินดีวาทะว่า
เป็นพระอรหันต์ อยู่หรือ."
พวกภิกษุ. พวกข้าพระองค์ไม่ยินดี พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนั้น,
คำนั้น เป็นคำกล่าวด้วยความเลื่อมใสของมนุษย์ทั้งหลาย,
ภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติในเพราะการกล่าวด้วยความเลื่อมใส;
ก็แลอีกอย่างหนึ่ง
ความรักใคร่ในพระอรหันต์ทั้งหลายของพราหมณ์ มีประมาณยิ่ง;
เหตุนั้น แม้พวกเธอตัดกระแสตัณหา
แล้วบรรลุพระอรหันต์นั่นแล ควร"
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
๑. ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม กาเม ปนูท พฺราหฺมณ
สงฺขารานํ ขยํ ตฺวา อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ.
" พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา,
จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย,
ท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว
เป็นผู้รู้พระนิพพานอันอะไร ๆ กระทำไม่ได้นะ พราหมณ์."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปรกฺกมฺม เป็นต้น ความว่า
ขึ้นชื่อว่ากระแสตัณหา ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะตัดได้
ด้วยความพยายามมีประมาณน้อย;
เหตุนั้นท่านจงพยายามตัดกระแสนั้น
ด้วยความบากบั่นอย่างใหญ่ ซึ่งสัมปยุตด้วยญาณ
คือจงบรรเทา ได้แก่ จงขับไล่กามแม้ทั้งสองเสียเถิด.
คำว่า พฺราหฺมณ นั้น เป็นคำร้องเรียกพระขีณาสพทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๔๒๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
บทว่า สงฺขารานํ ความว่า รู้ความสิ้นไปแห่งขันธ์ ๕.
บทว่า อกตญฺญู ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น
ท่านจะเป็นผู้ชื่อว่าอกตัญญ.
เพราะรู้พระนิพพาน
อันอะไร ๆ บรรดาโลกธาตุทั้งหลาย
มีทองคำเป็นต้น ทำไม่ได้.
ในกาลจบเทศนา
ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก จบ.
http://www.tripitaka91.com/43-423-1.html
--------------------------------------------------------------------------------
เมื่ออยู่อาศัยพระภิกษุอลัชชี (พระที่รับเงิน) ก็ต้องอาบัติ
https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/888-6-351
เล่ม ๖ หน้า ๓๕๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๘๙-๑๙๐ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑
บางส่วนของ มหาขันธกะ
วิธีการให้นิสัย
[๑๓๖] ก็โดยสมัยนั้นแล
พระฉัพพัคคีย์ให้นิสัยแก่ภิกษุพวกอลัชชี
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุพวกอลัชชี
รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิธีการถือนิสัย
สมัยต่อมา
ภิกษุทั้งหลายอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี
ไม่ช้าไม่นานเท่าไรนัก
แม้พวกเธอก็กลายเป็นพวกอลัชชี เป็นภิกษุเลวทราม
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี
รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตให้สืบสวนก่อนถือนิสัย
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความดำริว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า
ไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุพวกอลัชชี
และไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี
ทำอย่างไรหนอพวกเราจึงจะรู้ว่า
เป็นภิกษุลัชชี หรืออลัชชี
แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้รอ ๔ - ๕ วัน
พอจะสืบสวนรู้ว่า ภิกษุผู้ให้นิสัยเป็นสภาคกัน.
http://www.tripitaka91.com/6-351-1.html
--------------------------------------------------------------------------------------
ภิกษุอลัชชีเป็นเช่นนี้
https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/914-10-665-52-225
เล่ม ๑๐ หน้า ๖๖๕-๖๖๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๐๕ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘
เล่ม ๕๒ หน้า ๒๒๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๑๒ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓
เล่ม ๑๐ หน้า ๖๖๕-๖๖๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๐๕ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘
บางส่วนของ คาถาสังคณิกะอีกนัยหนึ่ง
อลัชชีบุคคล
[๑,๐๗๐] อุ. อลัชชีเป็นคนเช่นไร
คำรับสารภาพของผู้ใดฟังไม่ขึ้น
ข้าพระพุทธเจ้าทูลถามพระองค์ถึงข้อนั้น
คนเช่นไร พระองค์ตรัสเรียกว่า อลัชชีบุคคล
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๖๖๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
พ. ผู้ที่แกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติและถึงอคติ
คนเช่นนี้เราเรียกว่า อลัชชีบุคคล.
http://www.tripitaka91.com/10-665-15.html
เล่ม ๕๒ หน้า ๒๒๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๑๒ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓
บางส่วนของ อรรถกถาสิริมัณฑเถรคาถาที่ ๑๓
บทว่า อติวสฺสติ ความว่า
ฝนคืออาบัติและฝนคือกิเลส ย่อมตกรดจนโชกโชน.
ท่านกล่าวการปกปิด คือเหตุแห่งการรั่วรดไว้ว่า
จริงอยู่การปิดอาบัติ
เป็นเช่นกับความเป็นคนอลัชชีเป็นต้นทีเดียว
เพราะการปิดอาบัติไว้
จึงพึงต้องอาบัติโดยประการอื่นจากนั้น
หรืออาบัติเห็นปานนั้นซ้ำอีก
หรืออาบัติที่ลามกกว่านั้น.
http://www.tripitaka91.com/52-225-10.html
------------------------------------------------------------------------------------
รวมเรื่อง พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ
หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ
และเรื่องที่เกี่ยวข้อง
http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/823-sum