คำถาม-คำตอบ กิจกรรมแจกสื่อ หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนาฯ มีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ?

คำถาม

 

กิจกรรมแจกสื่อ หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา

หยุดทำบาปให้กับตนเอง

หยุดถวายทอง-เงิน แด่พระภิกษุและสามเณร

มีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ?

 

คำตอบ

 

มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้คือ

๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐

มาตรา ๖๓ และ มาตรา ๖๗

 

๒. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕

มาตรา ๑๕ ตรี (๔)

เพิ่มโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

 

๓. พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓

มาตรา ๘

 

๔. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙

มาตรา ๑๕๗ , ๓๔๑ , ๓๔๒ และ ๓๔๓

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐

https://www.senate.go.th/assets/portals/13/files/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%20%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%20%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%96%E0%B9%90.pdf

 

มาตรา ๖๓

รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน

และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตราย

ที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพ

เพื่อป้องกันและขจัดการทุจริต

และประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวด

รวมทั้งกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกัน

เพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส

โดยได้รับความคุ้มครอง

จากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ

 

มาตรา ๖๗

รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น

ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา

อันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน

รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา

และการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท

เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา

และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกัน

มิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด

และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชน

มีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการ

หรือกลไกดังกล่าวด้วย

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

 

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕

http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A401/%A401-20-9998-update.pdf

มาตรา ๑๕ ตรี (๔)

เพิ่มโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

 

มาตรา ๑๕ ตรี

มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

...

(๔) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

 

พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา

โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓

http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A410/%A410-20-2493-001.htm

https://www.royalthaipolice.go.th/downloads/laws/laws_08.pdf 

มาตรา ๘  พระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่การโฆษณา

๑. คำสอนในทางศาสนา

 

-----------------------------------------------------------------------------------------

 

ส่วนพระที่หลอกลวงประชาชนว่าถวายเงินได้ไม่ผิดไม่ต้องอาบัติ

ทั้งที่รู้อยู่ว่าผิดทำให้ประชาชนหลงเชื่อได้เงินไป

ก็เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง

ตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙

มาตรา ๓๔๑ , ๓๔๒ และ ๓๔๓

ส่วนเจ้าพนักงานเมื่อมีผู้กระทำผิดแล้วละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

ก็เข้าข่าย มาตรา ๑๕๗

 

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙

http://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%BB06/%BB06-20-9999-update.htm

https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=443287&ext=pdf

มาตรา ๓๔๑

ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ

หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม

หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม

ทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฉ้อโกง

ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี

หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔

แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]

 

มาตรา ๓๔๒

ถ้าในการกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทํา

(๑) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ

(๒) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก

หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง

ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี

หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔

แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]

 

มาตรา ๓๔๓

ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๓๔๑

ได้กระทําด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน

หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน

ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี

หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๕๗

ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี

หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗

แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]

 

--------------------------------------------------------------------------------------------

 

รวมเรื่อง พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ

หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ อาบัติ

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/823-sum

 

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbsNWJaa_PTjRst5_A

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994