คำถาม-คำตอบ โยมสามารถเตือนพระได้ด้วยหรือ ?

คำถาม

 

โยมสามารถเตือนพระได้ด้วยหรือ ?

 

คำตอบ

 

โยมก็สามารถเตือนพระได้

หากเตือนพระด้วยพระบัญญัติ

(เช่น เตือนว่า พระรับ ให้รับ

หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ)

พระไม่แก้ไขก็จะต้องอาบัติเพิ่ม

หากยังไม่แก้ไขอีก

โยมก็สามารถประกาศความไม่เลื่อมใส

หรือไม่ใส่บาตรพระก็ได้

ในสมัยพุทธกาลก็มีเรื่องภิกษุชาวโกสัมภี

ที่มีหลักฐานบันทึกไว้

แม้กระทั่งไล่พระจนพระวิ่งไปตกหลุมขี้

ในสมัยพุทธกาลก็ยังมีหากพระทำผิด

 

อ้างอิง

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม

ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

เมื่อโยมเตือนพระด้วยพระบัญญัติ

แล้วพระไม่ฟัง พระต้องอาบัติเพิ่ม

 

“ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่

ด้วยพระบัญญัติก็ดี

ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติก็ดี

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า

ข้อนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา

ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด

ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส

ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม

ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

ต้องอาบัติทุกกฏ.”

 

https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/889-4-646

 

เล่ม ๔ หน้า ๖๔๖-๖๔๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๔๗-๖๕๐ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒

 

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉันนะ

 

         [๕๙๒] โดยสมัยนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม

เขตพระนครโกสัมพี

ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจาร

ภิกษุทั้งหลายได้ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า

อาวุโสฉันนะ ท่านอย่าได้ทำเช่นนั้น

การกระทำเช่นนั้นไม่ควร

ท่านพระฉันนะไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่อย่างเดิม

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...

ต่างก็พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนท่านพระฉันนะจึงได้ไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่เล่า

แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า...

 

ทรงสอบถาม

 

         พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า

ดูก่อนฉันนะ

ข่าวว่า เธอไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่ จริงหรือ.

         ท่านพระฉันนะทูลรับ ว่า

จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

 

         พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า

ดูก่อนโมฆบุรุษ

ไฉนเธอจึงได้ไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่อีกเล่า

การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไป

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว...

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

 

พระบัญญัติ

 

๑๐๓.๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.

 

เรื่องพระฉันนะ จบ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ ๖๔๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

สิกขาบทวิภังค์

 

         [๕๙๓] ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อ

ได้แก่ความไม่เอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง คือ

ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ๑

ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ๑.

         ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ได้แก่

ภิกษุผู้อันอุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติ

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า

ท่านผู้นี้ถูกยกวัตร ถูกดูหมิ่น หรือถูกติเตียน

เราจักไม่ทำตามถ้อยคำของท่านผู้นี้ ดังนี้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

         ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ได้แก่

ภิกษุผู้อันอุปสัมบัน ว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติ

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า

ไฉนธรรมข้อนี้จะพึงเสื่อม สูญหาย

หรืออันตรธานเสีย ดังนี้ก็ดี

ไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัตินั้น

จึงแสดงความไม่เอื้อเฟื้อก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

 

         [๕๙๔] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

         อุปสัมบัน ภิกษุสงสัยแสดงความไม่เอื้อเฟื้อ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 

ทุกกฎ

 

         [๕๙๕] ภิกษุอุปสัมบันว่ากล่าวอยู่

ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติ

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า

ข้อนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา

ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด

ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส

ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม

ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ ๖๔๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

         ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่

ด้วยพระบัญญัติก็ดี

ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติก็ดี

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า

ข้อนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา

ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด

ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส

ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม

ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

ต้องอาบัติทุกกฏ.

         [๕๙๖] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ

ต้องอาบัติทุกกฏ

         อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ

ต้องอาบัติทุกกฏ.

         อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ

ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

อนาปัตติวาร

 

         [๕๙๗] ภิกษุกล่าวชี้เหตุว่า

อาจารย์ทั้งหลายของพวกข้าพเจ้าเรียนมาอย่างนี้

สอบถามมาอย่างนี้ ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

 

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 

http://www.tripitaka91.com/4-646-1.html

 

-----------------------------------------------------------------------------------

 

เมื่อพระผิดโยมก็เตือนได้

 

เล่ม ๓ หน้า ๖๖๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๒๕ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ อนิยตสิกขาบทที่ ๑

 

ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น

นางได้เห็นท่านพระอุทายี นั่งในที่ลับ

คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับหญิงสาวนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายีว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้าสำเร็จการนั่งในที่ลับ

คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้

ไม่เหมาะ ไม่ควร แม้พระคุณเจ้าจะไม่ต้องการด้วยธรรมนั้น ก็จริง

ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใส จะบอกให้เชื่อได้โดยยาก

          ท่านพระอุทายี

แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา

ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้เชื่อฟัง

          เมื่อนางวิสาขา มิคารมาตา กลับไปแล้ว

ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ

ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ

คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า

แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 

http://www.tripitaka91.com/3-663-4.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------

 

ภิกษุแก่รูปหนึ่ง

ทำทีถามปัญหากับพระสารีบุตร

ขณะที่กำลังแสดงธรรมแก่บริษัท ๔

พระเถระจึงหยุดเทศน์แล้วกลับที่พัก

พวกมนุษย์จึงพากันไล่ให้หนี

พระแก่หนีไปตกในวัจจกุฏีเต็มด้วยคูถ

 

เล่ม ๕๗ หน้า ๑๗-๑๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๕-๑๖ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓

 

บางส่วนของ อรรถกถาสูกรชาดกที่ ๓

 

          พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

ทรงปรารภพระเถระแก่รูปหนึ่ง

ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า

จตุตปฺปโห อหํ สมฺม  ดังนี้

          ในวันหนึ่งเมื่อการฟังธรรมยังเป็นไปอยู่ในตอนกลางคืน

เมื่อพระศาสดาประทับยืน ณ แผ่นหินแก้วมณี ใกล้ประตูพระคันธกุฏี

ประทานสุคโตวาทแก่หมู่ภิกษุแล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฏี

พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรถวายบังคมพระศาสดา แล้วได้ไปยัง

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ ๑๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

บริเวณของตน.

พระมหาโมคคัลลานะก็ไปยังบริเวณของตนเหมือนกัน

พักอยู่ครู่หนึ่งจึงมาหาพระเถระ แล้วถามปัญหา.

พระธรรมเสนาบดีได้แก้ปัญหาที่พระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว ๆ

ได้ทำให้ชัดเจนดุจทำพระจันทร์ให้ปรากฏบนท้องฟ้า.

แม้บริษัทสี่ก็นั่งฟังธรรมอยู่.

ณ ที่นั้นพระเถระแก่รูปหนึ่งคิดว่า

หากเราจะเย้าพระสารีบุตร ถามปัญหาในท่ามกลางบริษัทนี้.

บริษัทนี้รู้ว่า ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ก็จักกระทำสักการะและยกย่อง

จึงลุกขึ้นจากระหว่างบริษัทเข้าไปหาพระเถระ

ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า

ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ข้าพเจ้าจักถามปัญหาข้อหนึ่งกะท่าน

ขอจงให้โอกาสแก่เราบ้าง ขอท่านจงให้การวินิจฉัยแก่ข้าพเจ้า

โดยอ้อมก็ตาม โดยตรงก็ตาม ในการติเตียนก็ตาม ในการยกย่องก็ตาม

ในการวิเศษก็ตาม ในการไม่วิเศษก็ตาม.

พระเถระแลดูพระแก่นั้นแล้วคิดว่า

หลวงตานี่ตั้งอยู่ในความริษยา โง่ ไม่รู้อะไรเลย จึงไม่พูดกับพระแก่นั้น

ละอายใจวางพัดวีชนี ลงจากอาสนะเข้าไปยังบริเวณ.

แม้พระมหาโมคคัลลานเถระก็ได้เข้าไปยังบริเวณของตนเหมือนกัน.

พวกมนุษย์พากันลุกขึ้นประกาศว่า

พวกท่านจงจับพระแก่ใจร้ายนี้

ไม่ให้พวกเราได้ฟังธรรมอันไพเราะ

แล้วก็พากันติดตามไป

พระเถระนั้นหนีไปตกในวัจจกุฏีเต็มด้วยคูถ

ซึ่งมีไม้เรียบหักพังท้ายวิหาร

ลุกขึ้นมาทั้งที่เปื้อนคูถ.

พวกมนุษย์เห็นดังนั้นพากันรังเกียจได้ไปเฝ้าพระศาสดา.

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ ๑๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นมนุษย์เหล่านั้น จึงตรัสถามว่า

อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านมาทำไมนอกเวลา.

พวกมนุษย์พากันกราบทูลเนื้อความให้ทรงทราบ.

พระศาสดาตรัสว่า

อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ภิกษุแก่นี้ผยอง

ไม่รู้กำลังของตน ทำทัดเทียมกับผู้มีกำลังมาก แล้วก็เปื้อนคูถ

มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนภิกษุแก่นี้ก็เคยผยองไม่รู้กำลังของตน

ทำทัดเทียมกับผู้มีกำลังมากแล้วก็เปื้อนคูถ

 

http://www.tripitaka91.com/57-17-12.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------

 

พระโลฬุทายีอวดอ้างว่าเป็นพระนักเทศน์

เมื่อพวกเขาอาราธนาแล้วก็เทศไม่ออกสั่นอยู่

มหาชนจึงไล่เอาก้อนดิน ท่อนไม้ ตามไปจนตกหลุมคูถ

 

เล่ม ๔๓ หน้า ๒๑-๒๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๗-๑๙ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔

 

บางส่วนของ เรื่องพระโลฬุทายีเถระ

 

๔. เรื่องพระโลฬุทายีเถระ [๑๘๕]

 

ข้อความเบื้องต้น

 

          พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน

ทรงปรารภพระโลฬุทายีเถระ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า

"อสชฺฌายมลา มนฺตา"  เป็นต้น.

 

พระโลฬุทายีอวดดีอยากแสดงธรรม

 

          ดังได้สดับมา พวกอริยสาวกประมาณ ๕ โกฏิในพระนครสาวัตถี

ถวายทานในเวลาก่อนภัตแล้ว ในเวลาหลังภัตจึงถือวัตถุทั้งหลาย

มีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และผ้าเป็นต้น ไปวิหารแล้วฟังธรรมกถาอยู่,

ก็ในเวลาฟังธรรมแล้วเดินไป

ย่อมกล่าวคุณของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ.

          พระอุทายีเถระ สดับถ้อยคำของอริยสาวกเหล่านั้นแล้ว จึงพูดว่า

" พวกท่านฟังธรรมกถาของพระเถระทั้งสองนั้น ยังกล่าวถึงอย่างนั้นก่อน,

ฟังธรรมกถาของฉันแล้ว จักกล่าวอย่างไรหนอแล ?"

          พวกมนุษย์ ฟังถ้อยคำของท่านแล้วคิดว่า

" พระเถระแม้นี้ จักเป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง,

พวกเราฟังธรรมกถาของพระเถระแม้นี้ควร."

วันหนึ่ง พวกเขาอาราธนาพระเถระว่า

" ท่านขอรับ วันนี้เป็นวันฟังธรรมของพวกกระผม,"

ถวายทานแก่พระสงฆ์แล้วพูดว่า

" ท่านขอรับ ขอท่านพึงกล่าวธรรมกถาในกลางวันเถิด."

ฝ่ายพระเถระนั้น รับนิมนต์ของพวกมนุษย์นั้นแล้ว.

 

พระเถระไม่สามารถแสดงธรรมได้

 

เมื่อพวกมนุษย์นั้นมาในเวลาฟังธรรมแล้ว พูดว่า "ท่านขอรับ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๒๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ขอท่านจงกล่าวธรรมแก่พวกกระผมเถิด,"

พระโลฬุทายีเถระนั่งบนอาสนะแล้ว จับพัดอันวิจิตรสั่นอยู่,

ไม่เห็นบทธรรม แม้บทหนึ่งพูดว่า

" ฉันจักสวดสรภัญญะ, ขอภิกษุรูปอื่นจงกล่าวธรรมกถา"

ดังนี้แล้ว ก็ลง (จากอาสนะ).

มนุษย์พวกนั้น นิมนต์ภิกษุรูปอื่นให้กล่าวธรรมกถาแล้ว

นิมนต์พระโลฬุทายีขึ้นอาสนะอีก เพื่อต้องการสวดสรภัญญะ.

พระโลฬุทายีนั้นไม่เห็นบทธรรมอะไร ๆ แม้อีก จึงพูดว่า

" ฉันจักกล่าวในกลางคืน, ขอภิกษุรูปอื่นจงสวดสรภัญญะ" แล้วก็ลง

มนุษย์พวกนั้น นิมนต์ภิกษุรูปอื่นให้สวดสรภัญญะแล้ว

นำพระเถระมาในกลางคืนอีก.

พระเถระนั้น ก็ยังไม่เห็นบทธรรมอะไร ๆ แม้ในกลางคืน พูดว่า

" ฉักจักกล่าวในเวลา ใกล้รุ่งเทียว,

ขอภิกษุรูปอื่นจงกล่าวในเวลากลางคืน" แล้วก็ลง.

มนุษย์พวกนั้น นิมนต์ภิกษุรูปอื่นให้กล่าวแล้ว

ในเวลาใกล้รุ่ง ก็นำพระเถระนั้นมาอีก.

พระเถระนั้น แม้ในเวลาใกล้รุ่ง ก็มิได้เห็นบทธรรมอะไร ๆ.

 

พระเถระถูกมหาชนไล่ไปตกหลุมคูถ

 

          มหาชน ถือวัตถุทั้งหลาย

มีก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น คุกคามว่า

"พระอันธพาล

เมื่อพวกข้าพเจ้ากล่าวสรรเสริญ

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ

ท่านพูดอย่างนั้นและอย่างนั้น,

บัดนี้ เหตุไรจึงไม่พูด ?"

ดังนี้แล้ว ก็ติดตามพระเถระผู้หนีไป.

พระเถระนั้นหนีไปตกลงในเวจกุฎีแห่งหนึ่ง.

          มหาชนสนทนากันว่า

"พระโลฬุทายี เมื่อถ้อยคำสรรเสริญคุณ

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นไปอยู่

อวดอ้างประกาศความที่ตนเป็นธรรมกถึก,

เมื่อพวกมนุษย์ทำสักการะแล้ว พูดว่า

' พวกกระผมจะฟังธรรม,'

นั่งบนอาสนะถึง ๔ ครั้ง ไม่เห็นบทธรรมอะไร ๆ ที่สมควรจะพึงกล่าว

ถูกพวกมนุษย์ถือวัตถุทั้งหลายมีก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๒๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

คุกคามว่า

' ท่านถือตัวเท่าเทียมกับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระ

ผู้เป็นเจ้าของพวกเรา'

ไล่ให้หนีไปตกลงในเวจกุฎีแล้ว.

 

บุรพกรรมของพระโลฬุทายี

 

          พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า

" ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร ?"

เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้,"

จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น,

แม้ในกาลก่อน โลฬุทายีนี้ ก็จมลงในหลุมคูถเหมือนกัน "

 

http://www.tripitaka91.com/43-21-1.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------

 

“อุบาสกหวังอยู่

พึงประกาศความไม่เลื่อมใสแก่ภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ”

 

เล่ม ๓๗ หน้า ๖๘๗-๖๘๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๖๓-๕๖๔ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔

 

๘.  อัปปสาทสูตร

 

          [๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความไม่เลื่อมใสแก่ภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ

ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุพยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

พยายามเพื่อความฉิบหายแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

ด่าบริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

ติเตียนพระพุทธเจ้า ๑

ติเตียนพระธรรม ๑

ติเตียนพระสงฆ์ ๑

และเทวดาย่อมเห็นภิกษุนั้นโดยประการนั้น ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความไม่เลื่อมใสแก่ภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล.

          [๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความเลื่อมใสแก่ภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ

ธรรม ๘ ประการไฉน คือ

ภิกษุไม่พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

ไม่พยายามเพื่อความฉิบหายแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

ไม่ด่าไม่บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

ไม่ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

สรรเสริญพระพุทธเจ้า ๑

สรรเสริญพระธรรม ๑

สรรเสริญพระสงฆ์ ๑

และเพราะเหตุนี้ เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญอุบาสกนั้น ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความเลื่อมใสแก่ภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล.

 

จบ   ปสาทสูตรที่   ๘

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

เล่ม ๔ - หน้าที่ ๖๘๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

อรรถกถาอัปปสาทสูตรที่   ๘

 

          อัปปสาทสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

          บทว่า  อปฺปสาทํ    ปเวเทยฺยุํ  ได้แก่

พึงทำให้เขาเข้าใจถึงความเป็นผู้ไม่เลื่อมใส.

ถามว่า

ก็เมื่อจะประกาศความไม่เลื่อมใส จะต้องทำอย่างไร  ?

ตอบว่า

ไม่ลุกจากอาสนะที่ตนนั่ง

ไม่ไหว้

ไม่ออกไปทำการต้อนรับ

ไม่ถวายไทยธรรม.

บทว่า  อโคจเร  ได้แก่ อโคจร ๕ อย่าง.

 

จบ   อรรถกถาอัปปสาทสูตรที่  ๘

 

http://www.tripitaka91.com/37-687-1.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------

 

พวกอุบาสกทรมานพระภิกษุ

 

เล่ม ๔๐ หน้า ๗๘-๙๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๘-๗๐ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑

 

๕. เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี [๕]

 

ข้อความเบื้องต้น

 

          พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน

ทรงปรารภพวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  "ปเร จ น วิชานนฺติ"  เป็นต้น.

 

พระวินัยธรกับพระธรรมกถึกเถียงกันเรื่องวินัย

 

          ความพิสดารว่า ภิกษุ ๒ รูป คือ

พระวินัยธรรูป ๑

พระธรรมกถึกรูป ๑

มีบริวารรูปละ ๕๐๐ ได้อยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี.

วันหนึ่ง ในภิกษุ ๒ รูปนั้น

พระธรรมกถึก ไปถานแล้ว

เว้นน้ำชำระที่เหลือไว้ในภาชนะ ที่ซุ้มน้ำแล้ว ก็ออกมา.

ภายหลัง พระวินัยธร เข้าไปที่ซุ้มน้ำนั้น เห็นน้ำนั้น

ออกมาถามพระธรรมกถึกนอกนี้ว่า

"ผู้มีอายุ ท่านเหลือน้ำไว้หรือ ?"

          ธ. ขอรับ ผู้มีอายุ.

          ว. ท่านก็ไม่รู้ว่าอาบัติ ในเพราะการเหลือน้ำไว้นี้หรือ ?

          ธ. ขอรับ ผมไม่ทราบ

          ว. ไม่รู้ก็ช่างเถิด ผู้มีอายุ เป็นอาบัติในข้อนี้.

          ธ. ถ้าอย่างนั้น ผมจักทำคืนอาบัตินั้นเสีย.

          ว. ผู้มีอายุ ก็ถ้าว่าข้อนั้นท่านไม่แกล้งทำ เพราะความไม่มีสติ, อาบัติไม่มี.

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๗๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          พระธรรมกถึกนั้น ได้เป็นผู้มีความเห็นอาบัตินั้นว่ามิใช่อาบัติ.

          ฝ่ายพระวินัยธร ได้บอกแก่พวกนิสิตของตนว่า

"พระธรรมกถึกรูปนี้ แต่ต้องอาบัติก็ไม่รู้."

พวกนิสิตพระวินัยธรนั้น เห็นพวกนิสิตของพระธรรมกถึกนั้นแล้ว ได้กล่าวว่า

"พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน แม้ต้องอาบัติแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ."

พวกนิสิตของพระธรรมกถึกนั้น ไปแจ้งแก่พระอุปัชฌาย์ของตนแล้ว.

พระธรรมกถึกนั้น พูดอย่างนี้ว่า

"พระวินัยธรรูปนี้

เมื่อก่อนพูดว่า 'ไม่เป็นอาบัติ,'

เดี๋ยวนี้พูดว่า ' เป็นอาบัติ,'

พระวินัยธรนั้น พูดมุสา;"

พวกนิสิตของพระธรรมกถึกนั้นไปกล่าวว่า

"พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน พูดมุสา."

พวกนิสิตของพระวินัยธรและพระธรรมกถึกนั้น

ทำความทะเลาะกันและกันให้เจริญแล้ว ด้วยประการอย่างนี้.

          ภายหลัง พระวินัยธรได้โอกาสแล้ว

จึงได้ทำอุกเขปนียกรรมแก่พระธรรมกถึก เพราะโทษที่ไม่เห็นอาบัติ.

จำเดิมแต่กาลนั้น

แม้พวกอุปัฏฐากผู้ถวายปัจจัยของภิกษุ ๒ รูปนั้น ก็ได้เป็น ๒ ฝ่าย.

พวกภิกษุณีผู้รับโอวาทก็ดี พวกอารักขเทวดาก็ดี ของภิกษุ ๒ รูปนั้น

พวกอากาสัฏฐเทวดา ผู้เพื่อนเห็น

เพื่อนคบ ของพวกอารักขเทวดาเหล่านั้นก็ดี

พวกปุถุชนทั้งปวงก็ดี ได้เป็น ๒ ฝ่าย

ตลอดจนพรหมโลกก็โกลาหลกึกก้องเป็นเสียงเดียว

ได้ขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐภพ.

 

พระศาสดาตรัสสอนให้สามัคคีกัน

 

          ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระตถาคตเจ้า กราบทูลการ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๘๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ที่พวกภิกษุผู้ยกวัตรถือว่า

"พระธรรมกถึกรูปนี้ สงฆ์ยกเสียแล้วด้วยกรรมที่ประกอบด้วยธรรมแท้,"

และการที่พวกภิกษุผู้ประพฤติตามพระธรรมกถึกผู้ที่สงฆ์ยกเสียแล้วถือว่า

"พระอุปัชฌาย์ของพวกเรา สงฆ์ยกเสียแล้ว ด้วยกรรมซึ่งมิได้ประกอบด้วยธรรม,"

และการที่พวกภิกษุผู้ประพฤติตามพระธรรมกถึกผู้ที่สงฆ์ยกวัตรเหล่านั้น

แม้อันพวกภิกษุผู้ยกวัตรห้ามอยู่ ก็ยังขืนเที่ยวตามห้อมล้อมพระธรรมกถึกนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงส่งโอวาทไปว่า

"นัยว่า ภิกษุทั้งหลายจงพร้อมเพรียงกัน" ถึง ๒ ครั้ง ทรงสดับว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน,"

ครั้นหนที่ ๓ ทรงสดับว่า

"ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว"

ดังนี้ จึงเสด็จไปสู่สำนักของเธอทั้งหลายแล้ว

ตรัสโทษในการยกวัตรของพวกภิกษุผู้ยกวัตร

และโทษในการไม่เห็นอาบัติของพวกภิกษุนอกนี้แล้ว

ทรงอนุญาตสังฆกรรมทั้งหลายมีอุโบสถเป็นต้น

ในสีมาเดียวกันที่โฆสิตารามนั่นเอง แก่เธอทั้งหลายอีกแล้ว

ทรงบัญญัติวัตรในโรงฉันว่า

"ภิกษุทั้งหลาย พึงนั่งในแถวมีอาสนะหนึ่ง ๆ ในระหว่าง ๆ"

ดังนี้เป็นต้น แก่เธอทั้งหลาย

ผู้เกิดการแตกร้าวในสถานที่ทั้งหลาย มีโรงฉันเป็นต้น

แล้วทรงสดับว่า "ถึงเดี๋ยว นี้ ภิกษุทั้งหลาย ก็ยังเกิดการแตกร้าวกันอยู่"

จึงเสด็จไปที่โฆสิตารามนั้นแล้ว ตรัสห้ามว่า

"อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านอย่าได้ทำการแตกร้าวกัน"

ดังนี้เป็นต้นแล้ว ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการแตกร้าว การทะเลาะ

การแก่งแย่งและการวิวาทนั่น ทำความฉิบหายให้.

แท้จริง

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๘๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

แม้นางนกลฏุกิกา อาศัยการทะเลาะกัน

ยังอาจทำพระยาช้างให้ถึงความสิ้นชีวิต"

ดังนี้แล้ว ตรัสลฏุกิกชาดกแล้ว ตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย ขอพวกท่านจงพร้อมเพรียงกันเถิด อย่าวิวาทกันเลย,

เพราะว่า แม้นกกระจาบตั้งหลายพัน อาศัยความวิวาทกัน ได้ถึงความสิ้นชีวิต"

ดังนี้แล้ว ตรัสวัฏฏกชาดก.

 

ตรัสสอนเท่าไรก็ไม่เชื่อ

 

          แม้อย่างนี้ พวกภิกษุนั้นก็ไม่เชื่อถือถ้อยคำ,

เมื่อภิกษุผู้เป็นธรรมวาทีรูปใดรูปหนึ่ง

ไม่พอใจให้พระตถาคตเจ้าทรงลำบาก กราบทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เจ้าของแห่งธรรมทรงรอก่อน,

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีความขวนขวายน้อย

หมั่นประกอบธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่เถิด;

พวกข้าพระองค์จักปรากฏ

เพราะการแตกร้าว การทะเลาะ การแก่งแย่งและการวิวาทนั่นเอง;

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าถึงความที่

พระเจ้าทีฆีติโกศลราช ถูกพระเจ้าพรหมทัต ชิงเอาราชสมบัติ

ปลอมเพศไม่ให้ใครรู้จัก เสด็จอยู่ (ในเมืองพาราณสี) ถูกจับปลงพระชนม์เสีย

และความที่พระเจ้าพรหมทัต และทีฆาวุกุมารเหล่านั้นพร้อมเพรียงกัน

จำเดิมแต่ เมื่อทีฆาวุกุมารยกพระชนม์ของพระองค์ถวายว่า

"ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ได้เคยมีแล้ว

ในเมืองพาราณสี ได้มีพระเจ้ากรุงกาสี (พระองค์หนึ่ง)

ทรงพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต"

ดังนี้เป็นต้น แม้ตรัสสอนว่า "ภิกษุ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๘๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ทั้งหลาย ความอดกลั้นและความสงบเสงี่ยม เห็นปานนั้น

ยังได้มีแล้วแก่พระราชาเหล่านั้น ผู้มีไม้อันถือไว้แล้ว ผู้มีศัสตราอันถือไว้แล้ว;

ข้อที่ท่านทั้งหลายผู้บวชแล้วในธรรมวินัยที่กล่าวชอบแล้วอย่างนี้

ควรเป็นผู้อดกลั้นเป็นผู้สงบเสงี่ยม, จะพึงงามในธรรมวินัยนี้แล ภิกษุทั้งหลาย"

ดังนี้แล้ว ก็ไม่สามารถจะทำเธอทั้งหลาย ให้พร้อมเพรียงกันได้เลย.

 

พระศาสดาทรงระอาจึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ป่ารักขิตวัน

 

          พระองค์ทรงระอาพระทัย เพราะความอยู่อาเกียรณนั้น ทรงพระดำริว่า

"เดี๋ยวนี้เราอยู่อาเกียรณเป็นทุกข์.

และภิกษุเหล่านั้นไม่ทำ (ตาม) คำของเรา

ถ้าอย่างไร เราพึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว"

ดังนี้ เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี ไม่ตรัสบอกพระภิกษุสงฆ์

ทรงถือบาตรจีวรของพระองค์ เสด็จไปพาลกโลณการาม แต่พระองค์เดียว

ตรัสเอกจาริกวัตร แก่พระภคุเถระที่พาลกโลณการามนั้นแล้ว

ตรัสอานิสงส์แห่งสามัคคีรสแก่กุลบุตร ๓ คน ในมิคทายวัน ชื่อปาจีนวังสะแล้ว

เสด็จไปทางบ้านปาริเลยยกะ.

ดังได้สดับมา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยบ้านปาริเลยยกะ

เสด็จจำพรรษาอยู่ที่ควงไม้สาละใหญ่ ในราวป่ารักขิตวัน

อันช้างปาริเลยยกะอุปัฏฐากอยู่เป็นผาสุก.

 

พวกอุบาสกทรมานพระภิกษุ

 

          ฝ่ายพวกอุบาสก ผู้อยู่ในเมืองโกสัมพีแล ไปสู่วิหาร ไม่เห็นพระศาสดา จึงถามว่า

"พระศาสดาเสด็จอยู่ที่ไหน ? ขอรับ." ภิกษุ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๘๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เหล่านั้นกล่าวว่า.

"พระองค์เสด็จไปสู่ราวป่าปาริเลยยกะเสียแล้ว."

          อุ. เพราะเหตุอะไร ? ขอรับ.

          ภ. พระองค์ทรงพยายามจะทำพวกเราให้พร้อมเพรียงกัน.

แต่พวกเราหาได้เป็นผู้พร้อมเพรียงกันไม่.

          อุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ท่านทั้งหลายบวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว,

ถึงเมื่อพระองค์ทรงทำสามัคคี, ไม่ได้เป็นผู้สามัคคีกันแล้วหรือ ?

          ภ. อย่างนั้นแล ผู้มีอายุ.

          พวกมนุษย์คิดกันว่า

"ภิกษุพวกนี้ บวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว,

ถึงเมื่อพระองค์ทรงทำสามัคคีอยู่, ก็ไม่สามัคคีกันแล้ว;

พวกเราไม่ได้เห็นพระศาสดา เพราะอาศัยภิกษุพวกนี้;

พวกเราจักไม่ถวายอาสนะ

จักไม่ทำสามีจิกรรมมีการไหว้เป็นต้นแก่ภิกษุพวกนี้:"

จำเดิมแต่นั้นมา ก็ไม่ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุพวกนั้น.

เธอทั้งหลายซูบซีดเพราะมีอาหารน้อย,

โดยสองสามวันเท่านั้นก็เป็นคนตรง

แสดงโทษที่ล่วงเกินแก่กันและกัน

ต่างรูปต่างขอขมากันแล้ว กล่าวว่า

"อุบาสกทั้งหลาย พวกเราพร้อมเพรียงกันแล้ว.

ฝ่ายพวกท่าน ขอให้เป็นพวกเราเหมือนอย่างก่อน."

          อุ. พวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาแล้วหรือ ? ขอรับ.

          ภ. ยังไม่ได้ทูลขอขมา ผู้มีอายุ.

          อุ. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาเสีย,

ฝ่ายพวกข้าพเจ้าจักเป็นพวกท่านเหมือนอย่างก่อน

ในกาลเมื่อพวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาแล้ว.

          เธอทั้งหลายไม่สามารถจะไปสู่สำนักของพระศาสดา เพราะเป็น

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๘๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ภายในพรรษา ยังภายในพรรษานั้น ให้ล่วงไปด้วยความลำบาก.

 

ช้างปาริเลยยกะอุปัฏฐากพระศาสดา

 

          ฝ่ายพระศาสดา อันช้างนั้นอุปัฏฐากอยู่ ประทับอยู่สำราญแล้ว.

ฝ่ายช้างนั้น ละฝูงเข้าไปสู่ราวป่านั้น เพื่อต้องการความอยู่ผาสุก.

พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้อย่างไร ?

พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า

(ครั้งนั้น ความตรึกได้มีแก่พระยาช้างนั้นว่า)

" เราอยู่อาเกียรณด้วยพวกช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้นและลูกช้าง

เคี้ยวกินหญ้าที่เขาเด็ดปลายเสียแล้ว, และเขาคอยเคี้ยวกินกิ่งไม้ที่เราหักลง ๆ

และเราดื่มน้ำที่ขุ่น, เมื่อเราลงและขึ้นสู่ท่าแล้ว พวกช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป;

ถ้าอย่างไร เราจะหลีกออกจากหมู่อยู่ตัวเดียว."

ครั้งนั้นแล พระยาช้างนั้น หลีกออกจากโขลง

เข้าไป ณ บ้านปาริเลยยกะ ราวป่ารักขิตวัน ควงไม้สาละใหญ่

(และ) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่แล้ว;

ก็แลครั้นเข้าไปแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แลดูอยู่ไม่เห็นวัตถุอะไร ๆ อื่น จึงกระทืบควงไม้สาละใหญ่ด้วยเท้า

ถาก (ให้เรียบ) ถือกิ่งไม้ด้วยงวงกวาด.

ตั้งแต่นั้นมา พระยาช้างนั้นจับหม้อด้วยงวง ตักน้ำฉันน้ำใช้มาตั้งไว้,

เมื่อทรงพระประสงค์ด้วยน้ำร้อน, ก็จัดน้ำร้อนถวาย.

พระยาช้างนั้นจัดน้ำร้อนได้อย่างไร ?

พระยาช้างนั้นสีไม้แห้งด้วยงวงให้ไฟเกิด, ใส่ฟืนให้ไฟลุกขึ้น

เผาศิลาในกองไฟนั้นแล้ว กลิ้งก้อนศิลาเหล่านั้นไปด้วยท่อนไม้

ทิ้งลงในสะพังน้อยที่ตัวกำหนดหมายไว้,

ลำดับนั้น หย่อนงวงลงไป รู้ว่าน้ำร้อนแล้ว,

จึงไปถวายบังคมพระศาสดา.

พระศาสดาตรัสว่า

"ปาริเลยยกะ น้ำเจ้าต้มแล้วหรือ ?"

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๘๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ดังนี้แล้ว เสด็จไปสรงในที่นั้น.

ในกาลนั้น พระยาช้างนั้นนำผลไม้ต่างอย่างมาถวายแด่พระศาสดา.

ก็เมื่อพระศาสดาจะเสด็จเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต

พระยาช้างนั้นถือบาตรจีวรวางไว้บนตระพอง ตามเสด็จพระศาสดาไป.

พระศาสดาเสด็จถึงแดนบ้านแล้วรับสั่งว่า

"ปาริเลยยกะ ตั้งแต่ที่นี้ เจ้าไม่อาจไปได้. เจ้าจงเอาบาตรจีวรของเรามา"

ดังนี้แล้ว ให้พระยาช้างนั้นเอาบาตรจีวรมาถวายแล้ว เสด็จเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต.

ส่วนพระยาช้างนั้นยืนอยู่ที่นั้นเอง จนกว่าพระศาสดาจะเสด็จออกมา

ในเวลาพระศาสดาเสด็จมา ทำการต้อนรับแล้ว ถือบาตรจีวรโดยนัยก่อน

(นำไป) ปลงลง ณ ที่ประทับอยู่แล้ว ถวายงานพัดด้วยกิ่งไม้ แสดงวัตรอยู่.

ในราตรี พระยาช้างนั้นถือท่อนไม้ใหญ่ด้วยงวง

เที่ยวไปในระหว่าง ๆ แห่งราวป่ากว่าอรุณจะขึ้น

เพื่อกันอันตรายอันจะมีแต่เนื้อร้ายด้วยตั้งใจว่า "จักรักษาพระศาสดา"

ได้ยินว่า ราวป่านั้นชื่อว่ารักขิตวันสัณฑะ จำเดิมแต่กาลนั้นมา.

ครั้นอรุณขึ้นแล้ว,

พระยาช้างนั้นทำวัตรทั้งปวง โดยอุบายนั้นนั่นแล

ตั้งต้นแต่การถวายน้ำสรงพระพักตร์.

 

วานรถวายรวงน้ำผึ้ง

 

          ในกาลนั้น วานรตัวหนึ่ง เห็นช้างนั้นลุกขึ้นแล้ว ๆ

ทำอภิสมาจาริกวัตร ( คือการปฏิบัติ ) แด่พระตถาคตเจ้าแล้ว คิดว่า

"เราก็จักทำอะไร ๆ ถวายบ้าง" เที่ยวไปอยู่,

วันหนึ่ง เห็นรวงผึ้งที่กิ่งไม้หาตัวมิได้ หักกิ่งไม้แล้ว

นำรวงผึ้งพร้อมทั้งกิ่งไม้ไปสู่สำนักพระศาสดา ได้เด็ดใบตองรองถวาย.

พระศาสดาทรงรับแล้ว.

วานรแลดูอยู่ ด้วย

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๘๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

คิดว่า "พระศาสดาจักทรงทำบริโภคหรือไม่ ?"

เห็นพระศาสดาทรงรับแล้วนั่งเฉยอยู่ คิดว่า "อะไรหนอแล"

จึงจับปลายกิ่งไม้พลิก พิจารณาดู เห็นตัวอ่อนแล้ว

จึงค่อย ๆ นำตัวอ่อนเหล่านั้นออกเสียแล้ว จึงได้ถวายใหม่.

พระศาสดาทรงบริโภคแล้ว.

วานรนั้นมีใจยินดี ได้จับกิ่งไม้นั้น ๆ ยืนฟ้อนอยู่.

ในกาลนั้น กิ่งไม้ที่วานรนั้นจับแล้วก็ดี

กิ่งไม้ที่วานรนั้นเหยียบแล้วก็ดี หักแล้ว.

วานรนั้นตกลงที่ปลายตออันหนึ่ง มีตัวอันปลายตอแทงแล้ว

มีจิตเลื่อมใส ทำกาลกิริยาแล้ว

เกิดในวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ ในภพดาวดึงส์ มีนางอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร.

 

พระยาช้างสังเกตดูวัตรพระอานนท์

 

          การที่พระตถาคตเจ้า อันพระยาช้างอุปัฏฐาก

ประทับอยู่ในราวป่ารักขิตวันนั้น ได้ปรากฏในชมพูทวีปทั้งสิ้น.

ตระกูลใหญ่ ๆ คือ

ท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะและนางวิสาขามหาอุบาสิกา อย่างนี้เป็นต้น

ได้ส่งสาสน์จากนครสาวัตถี ไปถึงพระอานนท์เถระว่า

"ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงพระศาสดาแก่พวกข้าพเจ้า."

ฝ่ายภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้อยู่ในทิศ จำพรรษาแล้ว

เข้าไปหาพระอานนท์เถระ วอนขอว่า

"อานนท์ผู้มีอายุ ธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ฟังนานมาแล้ว;

อานนท์ผู้มีอายุ ดีละข้าพเจ้าทั้งหลาย

พึงได้ฟังธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด."

พระเถระพาภิกษุเหล่านั้นไป ณ ที่นั้นแล้ว คิดว่า

"การเข้าไปสู่สำนักพระตถาคตเจ้า ผู้เสด็จอยู่พระองค์เดียว ตลอดไตรมาส

พร้อมกับภิกษุมีประมาณถึงเท่านี้ หาควรไม่"

ดังนี้แล้ว จึงพักภิกษุเหล่านั้น

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๘๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ไว้ข้างนอกแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแต่รูปเดียวเท่านั้น.

พระยาช้างปาริเลยยกะ เห็นพระอานนทเถระนั้นแล้ว ถือท่อนไม้วิ่งไป.

พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ตรัสว่า

"หลีกไปเสียปาริเลยยกะ อย่าห้ามเลย,

ภิกษุนั่น เป็นพุทธอุปัฏฐาก."

พระยาช้างปาริเลยยกะนั้น ทิ้งท่อนไม้เสียในที่นั้นเองแล้ว

ได้เอื้อเฟื้อถึงการรับบาตรจีวร,

พระเถระมิได้ให้แล้ว.

พระยาช้างได้คิดว่า

"ถ้าภิกษุรูปนี้จักมีวัตรอันได้เรียนแล้ว.

ท่านคงจักไม่วางบริขารของตนไว้บนแผ่นศิลาที่ประทับของพระศาสดา."

พระเถระได้วางบาตรจีวรไว้ที่พื้นแล้ว.

 

ไม่ได้สหายที่มีปัญญาเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐว่า

 

          จริงอยู่ ชนผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวัตร

ย่อมไม่วางบริขารของตนไว้บนที่นั่งหรือบนที่นอนของครู.

พระยาช้างนั้น เห็นอาการนั้น ได้เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว.

พระเถระอภิวาทพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสถามว่า

"อานนท์ เธอมาผู้เดียวเท่านั้นหรือ ?"

ทรงสดับความที่พระเถระเป็นผู้มาพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ แล้ว ตรัสว่า

ก็ภิกษุเหล่านั้น อยู่ที่ไหน ?"

เมื่อพระเถระทูลว่า

"ข้าพระองค์ไม่ทราบน้ำพระทัยของพระองค์

จึงพักเธอทั้งหลายไว้ข้างนอกมาแล้ว (แต่รูปเดียว) "

ตรัสว่า "เรียกเธอทั้งหลายมาเถิด"

พระเถระได้ทำตามรับสั่งแล้ว.

ภิกษุเหล่านั้น มาถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเธอทั้งหลายแล้ว.

เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นพระพุทธเจ้าอันสุขุม และเป็นกษัตริย์อันสุขุม

พระองค์เสด็จยืนและ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๘๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ประทับนั่งพระองค์เดียวตลอดไตรมาส ทำกิจที่ทำได้ด้วยยาก,

ผู้ทำวัตรและปฏิวัตรก็ดี ผู้ถวายน้ำสรงพระพักตร์ก็ดี ชะรอยจะมิได้มีแล้ว."

ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย กิจทั้งปวงของเรา อันพระยาช้างปาริเลยยกะทำแล้ว

ก็อันบุคคลผู้ได้สหายเห็นปานนี้ อยู่ด้วยกันควรแล้ว,

เมื่อไม่ได้สหาย (เห็นปานนี้) ความเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า"

ดังนี้แล้ว ได้ภาษิต ๓ คาถาในนาควรรคเหล่านี้ว่า:-

                    ถ้าบุคคลได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน มีปัญญาทรงจำ

          มีคุณธรรมเป็นเครื่องอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จไว้ เป็นผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้,

          (บุคคลผู้ได้สหายเห็นปานนั้น) ควรมีใจยินดี มีสติ

          ครอบงำอันตราย ซึ่งคอยเบียดเบียนรอบข้าง ทั้งปวงเสียแล้ว เที่ยวไปกับสหายนั้น,

          ถ้าบุคคลไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน มีปัญญาทรงจำ

          มีคุณธรรมเป็นเครื่องอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จไว้ เป็นผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้,

          บุคคลนั้นควรเที่ยวไปคนเดียว

          เหมือนพระราชาผู้ละแว่นแคว้นที่พระองค์ทรงชำนะแล้วเสด็จอยู่แต่องค์เดียว,

          (และ) เหมือนพระยาช้างอันชื่อว่ามาตังคะเที่ยวอยู่ในป่าแต่เชือกเดียว,

          การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า ความเป็นสหายไม่มีในเพราะชนพาล,

          บุคคลผู้ไม่ได้สหายเห็นปานนั้น ควรมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปผู้เดียว

          และไม่ควรทำบาปทั้งหลายเหมือนพระยา

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๘๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ช้างชื่อมาตังคะผู้มีความขวนขวายน้อย

          เที่ยวไปในป่าแต่เชือกเดียว และหาได้ทำบาปไม่."

          ในกาลจบคาถา ภิกษุเหล่านั้นทั้ง ๕๐๐ รูป ตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว.

พระอานนทเถระกราบทูลสาสน์ที่ตระกูลใหญ่ ๆ

มีท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะเป็นต้นส่งมาแล้ว กราบทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อริยสาวก ๕ โกฏิ มีท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะเป็นหัวหน้า

หวังความเสด็จมาของพระองค์อยู่."

พระศาสดาตรัสว่า "ถ้าอย่างนั้นเธอจงรับบาตรจีวร"

ดังนี้แล้ว ให้พระเถระรับบาตรจีวรแล้ว เสด็จออกไป.

พระยาช้างได้ไปยืนขวางทางไว้.

ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระยาช้างทำอะไร ?"

พระศาสดาตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ช้างหวังจะถวายภิกขาแก่เธอทั้งหลาย,

ก็แลช้างนี้ได้ทำอุปการะแก่เราตลอดราตรีนาน,

การยังจิตของช้างนี้ให้ขัดเคืองไม่ควร.

ภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายกลับเถิด."

พระศาสดาทรงพาภิกษุทั้งหลายเสด็จกลับแล้ว.

          ฝ่ายช้างเข้าไปสู่ราวป่าแล้ว รวบรวมผลไม้ต่าง ๆ

มีผลขนุนและกล้วยเป็นต้นมาทำให้เป็นกองไว้,

ในวันรุ่งขึ้น ได้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุ ๕๐๐ รูปไม่อาจฉันผลไม้ทั้งหลายให้หมดสิ้น.

ในกาลเสร็จภัตกิจ พระศาสดาทรงถือบาตรจีวรเสด็จออกไปแล้ว.

พระยาช้างไปตามระหว่าง ๆ แห่งภิกษุทั้งหลาย ยืนขวางพระพักตร์พระศาสดาไว้.

ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างนี้ทำอะไร ?"

          ศ. ภิกษุทั้งหลาย

ช้างนี้จะส่งพวกเธอไปแล้ว ชวนให้เรากลับ.

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๙๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ภ. อย่างนั้นหรือ ? พระองค์ผู้เจริญ.

          ศ. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย.

 

ช้างทำกาละไปเกิดเป็นเทพบุตร

 

          ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะช้างนั้นว่า

"ปาริเลยยกะ นี้ความไปไม่กลับของเรา,

ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคและผลก็ดี ย่อมไม่มีแก่เจ้าด้วยอัตภาพนี้, เจ้าหยุดอยู่เถิด"

พระยาช้างได้ฟังรับสั่งดังนั้นแล้ว

ได้สอดงวงเข้าปากร้องไห้ เดินตามไปข้างหลัง ๆ.

ก็พระยาช้างนั้น เมื่อเชิญพระศาสดาให้กลับได้

พึงปฏิบัติโดยอาการนั้นแลจนตลอดชีวิต.

ฝ่ายพระศาสดาเสด็จถึงแดนบ้านนั้นแล้ว ตรัสว่า

"ปาริเลยยกะ จำเดิมแต่นี้ไป มิใช่ที่ของเจ้า, เป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์.

มีอันตรายเบียดเบียนอยู่รอบข้าง, เจ้าจงหยุดอยู่เถิด"

ช้างนั้นยืนร้องไห้อยู่ในที่นั้น,

ครั้นเมื่อพระศาสดาทรงละคลองจักษุไป, มีหัวใจแตก. ทำกาละแล้ว

เกิดในท่ามกลางนางเทพอัปสรพันหนึ่ง

ในวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ ในภพดาวดึงส์

เพราะความเลื่อมใสในพระศาสดา

ชื่อของเทพบุตรนั้นว่า "ปาริเลยยกเทพบุตร."

ฝ่ายพระศาสดาได้เสด็จถึงพระเชตวันแล้วโดยลำดับ.

 

ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทูลขอขมาพระศาสดา

 

          ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี สดับว่า

"ได้ยินว่า พระศาสดาเสด็จถึงกรุงสาวัตถีแล้ว."

ได้ไป ณ ที่นั้นเพื่อจะกราบทูลขอขมาพระศาสดา.

พระเจ้าโกศลทรงสดับว่า

"ได้ยินว่า พวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ผู้ก่อการแตกร้าวเหล่านั้นมาอยู่"

จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๙๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

หม่อมฉันจักไม่ยอมให้ภิกษุเหล่านั้น เข้ามาสู่แว่นแคว้นของหม่อมฉัน."

พระศาสดา ตรัสตอบว่า

" ดูก่อนมหาราช ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีล,

แต่ไม่ถือเอาคำของอาตมภาพ เพราะวิวาทกันและกันเท่านั้น,

บัดนี้ เธอทั้งหลายมาเพื่อขอขมาอาตมภาพ,

ดูก่อนมหาราช ขอภิกษุเหล่านั้นจงมาเถิด."

          ฝ่ายท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะ ทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไม่ยอมให้ภิกษุเหล่านั้นเข้ามาสู่วิหาร"

ดังนี้แล้ว ถูกพระศาสดาทรงห้ามเสียเหมือนอย่างนั้น ได้นิ่งแล้ว.

ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้นถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับแล้ว,

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประทานเสนาสนะ ณ ส่วนข้างหนึ่ง

ทำให้เป็นที่สงัดแก่เธอทั้งหลาย.

ภิกษุเหล่าอื่น ไม่นั่ง ไม่ยืน ร่วมกับภิกษุพวกนั้น.

          พวกชนผู้มาแล้ว ๆ ทูลถามพระศาสดาว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกไหน ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ผู้ก่อการแตกร้าวเหล่านั้น ?"

พระศาสดาทรงแสดงว่า "พวกนั่น."

ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีเหล่านั้น ถูกพวกชนผู้มาแล้ว ๆ ชี้นิ้วว่า

"ได้ยินว่า นั่นพวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ผู้ก่อการแตกร้าวเหล่านั้น,

ได้ยินว่า นั่นพวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ผู้ก่อการแตกร้าวเหล่านั้น"

ดังนี้ ไม่อาจยกศีรษะขึ้น เพราะความอาย

ฟุบลงแทบบาทมูลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทูลขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

          พระศาสดา ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายทำกรรมหนักแล้ว.

ชื่อว่าเธอทั้งหลายแม้บวชแล้วในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้เช่นเรา,

เมื่อเราทำความสามัคคีอยู่ ไม่ทำ (ตาม) คำของเรา,

ฝ่ายบัณฑิตอันมีในปางก่อน สดับโอวาทของมารดาและบิดาผู้ต้องประหารชีวิต,

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๙๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เมื่อบิดามารดานั้นแม้ถูกปลงชีวิตอยู่, ก็ไม่ล่วงโอวาทนั้น

ภายหลังได้ครองราชสมบัติใน ๒ แว่นแคว้น"

ดังนี้แล้ว ตรัสทีฆาวุกุมารชาดก อีกเหมือนกันแล้ว ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุกุมาร ถึงเมื่อพระชนนีและพระชนกถูกปลงชีวิตอยู่อย่างนั้น,

ก็ไม่ก้าวล่วงโอวาทของพระชนนีและพระชนกเหล่านั้นแล้ว

ภายหลังได้ธิดาของพระเจ้าพรหมทัต

ครองราชสมบัติในแว่นแคว้นกาสีและแว่นแคว้นโกศลทั้งสองแล้ว,

ส่วนพวกเธอทั้งหลายไม่ทำ (ตาม) คำของเรา ทำกรรมหนัก"

ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

          ๕. ปเร จ น วิชานนฺติ      มยเมตฺถ ยมามฺหเส

          เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ        ตโต สมฺมนฺติ เมธคา.

                    "ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้ตัวว่า

          'พวกเราพากันย่อยยับอยู่ในท่ามกลางสงฆ์นี้'

          ฝ่ายชนเหล่าใดในหมู่นั้นย่อมรู้ชัด,

          ความหมายมั่นกันและกัน ย่อมสงบเพราะการปฏิบัติของชนพวกนั้น ."

 

แก้อรรถ

 

          บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  ปเร  เป็นต้น ความว่า

เหล่าชนผู้ทำความแตกร้าว ยกบัณฑิตทั้งหลายเสีย

คือพวกอื่นจากบัณฑิตนั้น ชื่อว่าชนพวกอื่น,

ชนพวกอื่นนั้น ทำความวุ่นวายอยู่ในท่ามกลางสงฆ์นั้น ย่อมไม่รู้สึกตัวว่า

"เราทั้งหลาย ย่อมย่อยยับ คือป่นปี้ ฉิบหาย

ได้แก่ ไปสู่ที่ใกล้ คือสำนักมฤตยูเป็นนิตย์."

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๙๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) 

 

          บาทพระคาถาว่า  เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ  ความว่า

ชนเหล่าใดผู้เป็นบัณฑิตในหมู่นั้น ย่อมรู้สึกตัวว่า "เราทั้งหลายไปสู่ที่ใกล้มฤตยู."

          บาทพระคาถาว่า  ตโต สมฺมนฺติ เมธคา  ความว่า

ชนเหล่านั้นรู้อยู่อย่างนี้แล ยังการทำความในใจโดยอุบายที่ชอบให้เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมปฏิบัติเพื่อสงบความหมายมั่น คือความทะเลาะกัน,

เมื่อเป็นเช่นนั้น ความหมายมั่นเหล่านั้นย่อมสงบ

เพราะความปฏิบัตินั้นของบัณฑิตเหล่านั้น.

          อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอธิบายในพระคาถานี้ อย่างนี้ว่า

"คำว่า  ปเร จ  เป็นต้น ความว่า

ชนทั้งหลาย แม้อันเรา (ตถาคต) กล่าวสอนอยู่ว่า

'ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าได้ทำความแตกร้าวกัน'

ดังนี้เป็นต้น ในกาลก่อน ก็ไม่นับถือ เพราะไม่รับโอวาทของเรา ชื่อว่าชนพวกอื่น.

ชนพวกอื่นนั้น ย่อมไม่รู้สึกตัวว่า

'เราทั้งหลายถือผิด ด้วยอำนาจอคติมีฉันทะเป็นต้น ย่อมย่อยยับ

ได้แก่พยายามเพื่อความเจริญแห่งเหตุอันทำความพินาศ

มีแตกร้าวกันเป็นต้น ในท่ามกลางสงฆ์นี้.'

แต่บัดนี้ บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใด

ในระหว่างแห่งเธอทั้งหลายนั้น พิจารณาอยู่รู้ชัดว่า

' เมื่อก่อนเราทั้งหลายพยายามอยู่

ด้วยอำนาจอคติมีฉันทะเป็นต้น ปฏิบัติโดยไม่ชอบแล้ว'

ความหมายมั่น ที่นับว่าความทะเลาะกันในบัดนี้เหล่านี้

ย่อมสงบจากสำนักบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ๆ

คือเพราะอาศัยบุรุษผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้."

          ในกาลจบคาถา ภิกษุผู้ประชุมกัน

ได้ดำรงอยู่ในอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

 

เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี จบ.

 

http://www.tripitaka91.com/40-78-1.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------

 

พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท

ขับไล่พระธรรมิกะออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง

 

เล่ม ๓๖ หน้า ๖๙๔-๗๐๕ (ปกสีน้ำเงิน) / ๖๗๘-๖๘๗ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓

  

๑๒. ธรรมิกสูตร

ว่าด้วยธรรมของสมณะและศาสดาทั้ง ๖

 

          [๓๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎ ใกล้กรุงราชคฤห์ 

ก็สมัยนั้น ท่านธรรมิกะเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในอาวาส ๗ แห่ง ที่มีอยู่ในชาติภูมิชนบททั้งหมด

ทราบข่าวว่า ท่านพระธรรมิกะย่อมด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสี

ซึ่งภิกษุทั้งหลายที่จรมาอาศัยด้วยวาจาและภิกษุผู้จรมาอาศัยเหล่านั้น

ถูกท่านพระธรรมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง

เสียดสีด้วยวาจา ย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป

ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า

พวกเราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ ด้วยจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

ก็แต่ว่า พวกภิกษุที่จรมาอาศัยย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป

อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกภิกษุผู้จรมาอาศัยหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป

ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า

ท่านพระธรรมิกะนี้แลย่อมด่าบริภาษ เบียดเบียน

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๙๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุผู้จรมาอาศัยด้วยวาจา

และพวกภิกษุที่จรมาอาศัยเหล่านั้น

ถูกท่านพระธรรมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง

เสียดสีด้วยวาจา ย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป

ผิฉะนั้น พวกเราพึงขับไล่ท่านพระธรรมิกะให้หนีไป

ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท ได้พากันไปหาท่านพระธรรมิกะว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธรรมิกะจงหลีกไปจากอาวาสนี้ ท่านไม่ควรอยู่ในนี้ต่อไป.

          ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้จากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น

ทราบข่าวว่า แม้ที่อาวาสนั้น ท่านพระธรรมิกะก็ด่า บริภาษ...

ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทได้พากันไปหาท่านพระธรรมิกะถึงที่อยู่

แล้วได้กล่าวกะท่านพระธรรมิกะว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธรรมิกะจงหลีกไปจากอาวาสแม้นี้

ท่านไม่ควรอยู่ในอาวาสนี้.

          ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้จากอาวาสแม้นั้นไปสู่อาวาสอื่น

ทราบข่าวว่า แม้ในอาวาสนั้น ท่านพระธรรมิกะก็ด่า บริภาษ...

ผิฉะนั้น พวกเราพึงขับไล่ท่านพระธรรมิกะ

ให้หลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด

ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทได้พากันไปหาท่านพระธรรมิกะถึงที่อยู่

และได้กล่าวกะท่านพระธรรมิกะว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธรรมิกะ

จงหลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด.

          ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้คิดว่า

เราถูกพวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง

ในชาติภูมิชนบททั้งหมด

บัดนี้ เราจะไปที่ไหนหนอ

ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้คิดว่า

ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ลำดับนั้น ท่านพระธรรมิกะถือบาตรและจีวรหลีกไปทางกรุงราชคฤห์

ไปถึงกรุงราชคฤห์และภูเขาคิชฌกูฏโดยลำดับ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๙๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เออ เธอมาจากที่ไหนหนอ

ท่านพระธรรมิกะกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์ถูกพวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท

ขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด.

          พ. ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ

ควรแล้ว จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอด้วยการอยู่ในชาติภูมิชนบทนี้

เธอถูกขับไล่ให้ออกจากอาวาสนั้น ๆ แล้วมาในสำนักของเรา.

          ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว

พวกพ่อค้าทางสมุทรจับนกที่ค้นหาฝั่ง แล้วนำเรือออกเดินทางไปในสมุทร

เมื่อเดินเรือไปยังไม่เห็นฝั่ง พ่อค้าเหล่านั้นจึงปล่อยนกที่ค้นหาฝั่ง

มันบินไปทางทิศตะวันออก บินไปทางทิศตะวันตก บินไปทางทิศเหนือ

บินไปทางทิศใต้ บินขึ้นสูง บินไปตามทิศน้อย

ถ้ามันเห็นฝั่งอยู่ใกล้ ก็บินเข้าหาฝั่งไปเลยทีเดียว

แต่ถ้ามันไม่เห็นฝั่งอยู่ใกล้ ก็กลับมาที่เรือนั้น ฉันใด

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ

เธอถูกขับไล่ให้ออกจากอาวาสนั้น ๆ

แล้วมาในสำนักของเรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

          ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว

ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะของพระเจ้าโกรัพยะมี ๕ กิ่ง ร่มเย็น น่ารื่นเริงใจ

ก็ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะมีปริมณฑลใหญ่สิบสองโยชน์

มีรากแผ่ไป ๕ โยชน์ มีผลใหญ่เหมือนกระทะ

หุงข้าวสารได้หนึ่งอาฬหกะ ฉะนั้น

มีผลอร่อย เหมือนรวงผึ้งเล็กซึ่งไม่มีโทษ ฉะนั้น

พระราชากับพวกสนมย่อมทรงเสวยและบริโภค

ผลไทรชื่อสุปติฏฐะเฉพาะกิ่งหนึ่ง

เหล่าทหารย่อมบริโภคเฉพาะกึ่งหนึ่ง

ชาวนิคมชนบทย่อมบริโภคเฉพาะกึ่งหนึ่ง

สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมบริโภคเฉพาะกิ่งหนึ่ง

เนื้อและนกย่อมกินกิ่งหนึ่ง

ก็ใคร ๆ ย่อมไม่รักษาผลแห่งต้นไทรใหญ่ชื่อ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๙๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

สุปติฏฐะ และไม่มีใคร ๆ ทำอันตรายผลของกันและกัน

ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งบริโภคผลแห่งต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ

พอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป

ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะได้คิดว่า

ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ

มนุษย์ใจบาปคนนี้ บริโภคผลของต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ

พอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป

ไฉนหนอ ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะไม่พึงออกผลต่อไป

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ ทีนั้นแลต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะก็ไม่ให้ผลต่อไป

ดูก่อน พราหมณ์ธรรมิกะ ครั้งนั้นพระเจ้าโกรัพยะ

เสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับ

แล้วทูลถามว่า ขอเดชะ ท่านผู้นิรทุกข์

พระองค์พึงทรงทราบเถิดว่า ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะไม่ออกผล

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร

ให้มีลมฝนที่แรงกล้าพัดโค่นต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบน

ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ

มีทุกข์ เสียใจ มีหน้านองด้วยน้ำตา ยืนร้องไห้อยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้เสด็จเข้าไปหา

เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ

แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนเทวดา เหตุไรหนอ ท่านจึงมีทุกข์ เสียใจ

มีหน้านองด้วยน้ำตา ยืนร้องไห้อยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง

เทวดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์

ลมฝนที่แรงกล้าได้พัดมาโค่นที่อยู่ (ภพ) ของข้าพระองค์ล้มลง

ทำให้มีรากอยู่ข้างบน ดังที่เห็นอยู่นี้ พระเจ้าข้า.

          ส. ดูก่อนเทวดา ก็เมื่อท่านดำรงอยู่ในรุกขธรรมแล้ว

(ธรรมที่เทวดาผู้สิ่งสถิตอยู่ที่ต้นไม้จะต้องประพฤติ)

ลมฝนที่แรงกล้า ได้พัดมาโค่นที่อยู่ของท่านล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบนได้อย่างไร.

          ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้

ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ให้รุกขธรรมอย่างไรฯ.

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๙๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ส. ดูก่อนเทวดา พวกชนที่ต้องการราก ย่อมนำรากต้นไม้ไป

พวกชนผู้ต้องการเปลือก ย่อมนำเปลือกไป พวกชนผู้ต้องการใบ ย่อมนำใบไป

พวกชนผู้ต้องการดอก ย่อมนำดอกไป พวกชนผู้ต้องการผล ย่อมนำผลไป

ก็แต่เทวดาไม่พึงกระทำความเสียใจหรือความดีใจเพราะการกระทำนั้น ๆ

ดูก่อนเทวดา เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในรุกขธรรมอย่างนี้แล.

          ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ไม่ดำรงอยู่ในรุกขธรรมเป็นแน่เทียว

ลมฝนที่แรงกล้าจึงได้พัดมาโค่นที่อยู่ให้ล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบน.

          ส. ดูก่อนเทวดา ถ้าว่าท่านพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรมไซร้

ที่อยู่ของท่านก็พึงมีเหมือนกาลก่อน.

          ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์จะพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรม

ขอให้ที่อยู่ของข้าพระองค์พึงมีเหมือนกาลก่อนเถิด.

          ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร

ให้มีลมฝนที่แรงกล้าพัดต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ ให้กลับตั้งขึ้นดังเดิม

ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะได้มีรากตั้งอยู่ดังเดิม ฉันใด

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เออก็ พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท

ได้ขับไล่เธอผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง

ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ฉันนั้นเหมือนกัน

ท่านพระธรรมิกะทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมณะย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมอย่างไร.

          พ. ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ สมณะในธรรมวินัยนี้

ย่อมไม่ด่าตอบบุคคลผู้ด่า ไม่เสียดสีตอบบุคคลผู้เสียดสี

ไม่ประหารตอบบุคคลผู้ประหาร

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ สมณะย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมอย่างนี้แล.

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๙๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ข้าพระองค์ผู้ไม่ดำรงอยู่ในสมณธรรม

ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง

ในชาติภูมิชนบททั้งหมด พระเจ้าข้า.

          พ. ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว

มีศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย

มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย

เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก

ก็สาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะแสดงธรรม

เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ไม่ยังจิตให้เลื่อมใส

สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไปแล้ว ได้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะแสดงธรรม

เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ได้ยังจิตให้เลื่อมใส

สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไปแล้ว ได้เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์.

          ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว

มีศาสดาจารย์ชื่อมูคปักขะ ฯลฯ

มีศาสดาจารย์ชื่ออรเนมิ ฯลฯ

มีศาสดาจารย์ชื่อกุททาลกะ ฯลฯ

มีศาสดาจารย์ชื่อหัตถิปาละ ฯลฯ

มีศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ

ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย

มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย

เพื่อความเป็นเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก

ก็สาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละ

แสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ไม่ยังจิตให้เลื่อมใส

สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไปแล้ว ได้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละแสดงธรรม

เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ได้ยังจิตให้เลื่อมใส

สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไปแล้ว ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

          ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย พึงด่า บริภาษ ท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๗๐๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย

มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก

ผู้นั้นพึงประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมากหรือ.

          ธ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

          พ. ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย

พึงด่า บริภาษ ท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นั้น

ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย

มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก

ผู้นั้นพึงประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมาก

ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย ย่อมด่า บริภาษ บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบูรณ์คนเดียว

ผู้นี้ย่อมประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมากกว่าผู้ด่าว่าบริภาษท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเราหากล่าวการขุดโค่นคุณความดีของตนภายนอกศาสนานี้

เหมือนการด่าว่าบริภาษในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันนี้ไม่

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

จิตของเราจักไม่ประทุษร้ายในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันของตน 

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

                    ได้มีท่านศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะ ชื่อมูคปักขะ

          ชื่ออรเนมิ ชื่อกุททาลกะ ชื่อหัตถิปาละ

          และได้มีพราหมณ์ปุโรหิตของพระราชาถึง ๗ พระองค์

          เป็นเจ้าแผ่นดินเป็นศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละ

          ท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ ผู้มียศเป็นผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต

          ท่านเหล่านั้นได้เป็นผู้หมดกลิ่นสาป คือ ความโกรธ

          มุ่งมั่นในกรุณา ผ่านพ้นกามสังโยชน์

          คลายกามราคะเสียได้ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๗๐๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          สาวกของท่านเหล่านั้นแม้หลายร้อย

          ได้เป็นผู้หมดกลิ่นสาป คือ ความโกรธ

          มุ่งมั่นในกรุณา ผ่านพ้นกามสังโยชน์

          คลายกามราคะเสียได้ ก็เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

          นรชนใดมีความดำรงทางใจประทุษร้าย ย่อมด่าบริภาษท่านเหล่านั้น

          ผู้เป็นฤาษี ผู้เป็นนักบวชนอกศาสนา ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่น

          ก็นรชนเช่นนั้นย่อมประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมาก

          ส่วนนรชนใดมีความดำริทางใจประทุษร้าย

          ย่อมด่าบริภาษภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีทิฏฐิสมบูรณ์รูปเดียว

          นรชนผู้นี้ย่อมประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมากกว่า

          ผู้ด่าว่าบริภาษท่านศาสดาจารย์เหล่านั้น

          นรชนไม่พึงเสียดสีท่านผู้มีความดี ผู้ละทิฏฐิ

          บุคคลใดเป็นผู้มีอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา สติ วิริยะ สมถะ และวิปัสสนา อ่อน

          บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม

          เราเรียกว่าเป็นบุคคลที่เจ็ด แห่งพระอริยสงฆ์

          นรชนใดเบียดเบียน ทำร้ายบุคคลเช่นนั้นผู้เป็นภิกษุ ในกาลก่อน

          นรชนนั้นชื่อว่าทำร้ายตนเอง ย่อมบั่นรอนอรหัตผลในภายหลัง

          ส่วนนรชนใดย่อมรักษาตน

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๗๐๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          นรชนนั้นชื่อว่า เป็นผู้รักษาตนที่เป็นส่วนภายนอก

          เพราะเหตุนั้น บัณฑิตไม่ขุดโค่นคุณความดีของตน ชื่อว่าพึงรักษาตนทุกเมื่อ.

 

จบธรรมิกสูตรที่ ๑๒

จบธรรมิกวรรคที่ ๕

 

อรรถกถาธรรมิกสูตร

 

          พึงทราบวินิจฉัยในธรรมิกสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้ :-

          บทว่า  สพฺพโส  แก้เป็น  สพฺเพสุ  ทั้งปวง.

บทว่า  สตฺตสุ อาวาเสสุ  ได้แก่ ในบริเวณ ๗ แห่ง.

บทว่า  ปริภาสติ  ได้แก่ ข่มขู่ คือ ก่อให้เกิดความกลัว.

บทว่า  วิหึสติ  แปลว่า เบียดเบียน.

บทว่า  วิตุทติ  แปลว่า ทิ่มแทง.

บทว่า  โรเสติ  คือ กระทบกระทั่งด้วยวาจา.

บทว่า  ปกฺกมนฺติ  คือ หลีกไปสู่ทิศทั้งหลาย.

บทว่า  น สณฺฐหนฺติ  คือ ไม่ดำรงอยู่.

บทว่า  ริญฺจนฺติ  คือทิ้ง ได้แก่สละ.

บทว่า  ปพฺพาเชยฺยาม  คือ พึงนำออก.

ศัพท์ว่า  หนฺท เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่า สละวาง.

บทว่า  อลํ  มีความหมายว่า

การที่อุบาสกทั้งหลาย

จะพึงขับไล่ท่านพระธัมมิกะนั้นออกไป

เป็นการสมควร.

          บทว่า  ตีรทสฺสึ สกุณํ  ได้แก่ กาบอกทิศ.

บทว่า  มุญฺจนฺติ  ได้แก่ พ่อค้าทั้งหลายเดินทางทะเล ปล่อย (กา) ไปเพื่อดูทิศ.

บทว่า  สามนฺตา  ได้แก่ ในที่ไม่ไกล.

ปาฐะเป็น  สมนฺตา  ดังนี้ก็มี. หมายความว่าโดยรอบ.

บทว่า  อภินิเวโส  ได้แก่ การหยุดอยู่ของกิ่งไม้ที่แผ่ออกไปคลุมอยู่.

บทว่า

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๗๐๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

มูลสนฺตานกานํ  ได้แก่ การหยุดอยู่ของรากไม้.

บทว่า  อาฬฺหกถาลิกา  หม้อหุงข้าว (บรรจุ) ข้าวสารได้ ๑ อาฬหกะ.

บทว่า  ขุทฺทมธุํ  ได้แก่ น้ำผึ้งติดไม้ที่พวกผึ้งตัวเล็ก ๆ ทำไว้.

บทว่า  อเนลกํ  ได้แก่ ไม่มีโทษ.

บทว่า  น จ สุทํ อญฺมญฺสฺส ผลานิ หึสนฺตึ  ความว่า

ผลไม้ทั้งหลายย่อมไม่เบียดส่วนของกันและกัน.

ขึ้นชื่อว่า ต้นไม้ที่จะเอาส่วนของมันตัดราก เปลือกหรือใบ (ของต้นอื่น) ไม่มี.

มนุษย์ทั้งหลายมีพระราชาเป็นต้น

จะบริโภคกันเฉพาะแต่ผลที่หล่นลงไปภายใต้กิ่งของมัน ๆ เท่านั้น.

แม้ผลที่หล่นจากส่วนของต้นหนึ่ง ไปสลับอยู่กับส่วนของอีกต้นหนึ่ง

มนุษย์ทั้งหลายมีพระราชาเป็นต้น พอทราบว่า

ไม่ใช่ผลจากกิ่งของเรา ก็ไม่ยอมเคี้ยวกิน.

          บทว่า  ยาวทตฺถํ ภกฺขิตฺวา  ได้แก่

เคี้ยวกินโดยประมาณถึงคอ (จนเต็มอิ่ม).

บทว่า  สาขํ ภญฺชิตฺวา  ความว่า

(ชายคนหนึ่ง) ตัดใบไม้ขนาดเท่าร่ม กั้นให้เกิดร่มเงาพลางหลีกไป.

บทว่า  ยตฺร หิ นาม  ได้แก่ โย หิ นาม  (ชายคนใดคนหนึ่ง).

บทว่า  ปกฺกมิสฺสติ  คือ หลีกไปแล้ว.

บทว่า  นาทาสิ  ความว่า

ต้นพญานิโครธก็มิได้ออกผลอีก ด้วยอานุภาพของเทวดา.

เพราะว่า เทวดานั้นได้อธิษฐานอย่างนี้.

          บทว่า  เตนุปสงฺกมิ  ความว่า

เมื่อชาวชนบทไปกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ต้นไม้ไม่ออกผลเลย

เป็นความผิดของพวกหม่อมฉันหรือของพระองค์

พระเจ้าโกรัพยะทรงดำริว่า ไม่ใช่ความผิดของเรา

ไม่ใช่ความผิดของพวกชาวชนบท

อธรรมย่อมไม่เป็นไปในแว่นแคว้นของเรา

ต้นไม้ไม่ออกผลเพราะเหตุอะไรหนอแล เราจักเข้าไปทูลถามท้าวสักกะ

ดังนี้แล้ว เข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพจนถึงภพดาวดึงส์.

บทว่า  ปวตฺเตสิ  แปลว่า พัดผัน.

บทว่า  อุมมูลมกาสิ  ได้แก่ ทำ (ต้นพญานิโครธ) ให้มีรากขึ้นข้างบน.

บทว่า

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๗๐๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

อปิ นุ ตฺวํ  เท่ากับ  อปิ นุ ตว.

บทว่า  อฏฺฐิตาเยว  คือ  อฏฺฐิตายเอว  ตั้งอยู่ไม่ได้เลย.

บทว่า  สจฺฉวินี  ได้แก่

(รากไม้) กลับมีผิวเหมือนเดิม คือตั้งอยู่ในที่ตามปกติ.

บทว่า  น ปจฺจกฺโกสติ  คือ ไม่ด่าตอบ.

บทว่า  โรสนฺตํ  ได้แก่ บุคคลผู้กระทบอยู่.

บทว่า  ภณฺฑนฺตํ  ได้แก่ บุคคลผู้ประหารอยู่.

          บทว่า  สุเนตฺโต  ความว่า นัยน์ตา เรียกว่า เนตตะ

เพราะนัยน์ตาคู่นั้นสวยงาม ครูนั้นจึง ชื่อว่า สุเนตตะ.

บทว่า  ติตฺถกโร  ได้แก่ ผู้สร้างท่า (ลัทธิ) เป็นที่หยั่งลงสู่สุคติ.

บทว่า  วีตราโค  ได้แก่ ผู้ปราศจากราคะด้วยอำนาจการข่มไว้.

บทว่า  ปสวติ  ได้แก่ ย่อมได้.

บทว่า  ทิฏฺฐสมฺปนฺนํ  ได้แก่

บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ อธิบายว่า คือ พระโสดาบัน.

บทว่า  ขนฺตํ  ได้แก่ การขุดคุณของตน.

บทว่า  ยถา มํ สพฺรหฺมจารีสุ  ความว่า

เทวดาและการบริภาษในเพื่อนสพรหมจารีนี้เป็นฉันใด

เราไม่กล่าวการขุดคุณแบบนี้ ว่าเป็นอย่างอื่น (จากการด่าและบริภาษนั้น).

          คนของตนเรียกว่า อามชน ในบทว่า  น โน อามสพฺรหฺมจารีสุ  นี้

เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงมีความหมายดังนี้ว่า

เราทั้งหลายจักไม่มีจิตประทุษร้ายในเพื่อนสพรหมจารีผู้เสมอกับของตน.

          บทว่า  โชติปาโล จ โควินฺโท  ความว่า

(ครูนั้น) ว่าโดยชื่อ มีชื่อว่า โชติปาละ ว่าโดยตำแหน่ง มีชื่อว่า มหาโควินทะ.

          บทว่า  สตฺตปุโรหิโต  ความว่า

เป็นปุโรหิตของพระราชา ๗ พระองค์ มีพระเจ้าเรณูเป็นต้น. 

บทว่า  อภิเสกา อตีตํเส  ความว่า

ครูทั้ง ๖ เหล่านี้ (มีครูมูคปักขะเป็นต้น)

ได้รับการอภิเษกมาแล้วในส่วนที่เป็นอดีต.

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๗๐๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บทว่า  นิรามคนฺธา  ได้แก่

ไม่มีกลิ่นคาว ด้วยกลิ่นคาว คือ ความโกรธ. 

บทว่า  กรุเณ วิมุตฺตา  ความว่า

หลุดพ้นแล้ว ในเพราะกรุณาฌาน คือ

ดำรงอยู่ในกรุณาและในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นของกรุณา.

          บทว่า  เย เต  แก้เป็น  เอเต.

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะเป็นอย่างนี้ (เอเต) ก็มีเหมือนกัน. 

บทว่า  น สาธุรูปํ อาสิเท  คือ ไม่พึงกระทบกระทั่งสภาวะที่ดี.

บทว่า  ทิฏฺฐิฏฺฐานปฺปหายินํ  คือ อันมีปกติละทิฏฐิ ๖๒.

          บทว่า  สตฺตโม  ได้แก่ เป็นบุคคลที่ ๗ นับตั้งแต่พระอรหันต์ลงมา.

บทว่า  อวีตราโค  คือ ยังไม่ปราศจากราคะ.

          ท่านปฏิเสธความเป็นอนาคามี ด้วยบทว่า  อวีตราโค  นั้น.

บทว่า  ปญฺจินฺทฺริยา มุทู  ความว่า อินทรีย์ในวิปัสสนา ๕ อ่อน.

จริงอยู่ อินทรีย์เหล่านั้นของพระโสดาบันนั้น

เปรียบเทียบกับพระสกทาคามีแล้ว นับว่า อ่อน. 

          บทว่า  วิปสฺสนา  ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องกำหนดสังขาร.

บทว่า  ปุพฺเพว อุปหญฺติ  ได้แก่ กระทบก่อนทีเดียว.

บทว่า  อกฺขโต  ได้แก่ ไม่ถูกขุด คือ ไม่ถูกกระทบกระทั่งโดยการขุดคุณ.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

 

จบธรรมิกวรรควรรณนาที่ ๕

 

http://www.tripitaka91.com/36-694-8.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------------

 

“ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน”

 

“บุคคลพึงเห็นผู้ใด ผู้แสดงโทษ กล่าวข่มขี่ มีปัญญา

ว่าเป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้

พึงคบหาบุคคลเช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต

เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณอันประเสริฐ

ไม่มีโทษลามกเลย

บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน

และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ

บุคคลนั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น

เป็นที่ชังของพวกอสัตบุรุษ ดังนี้.”

 

https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/919-66-620

 

เล่ม ๖๖ หน้า ๖๒๐-๖๒๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๗๗-๕๗๘ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒

 

บางส่วนของ สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

 

                    [๙๗๕] ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ

          พึงทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย

          พึงเปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต

          ไม่พึงคิดเพื่อธรรม คือการว่ากล่าวซึ่งชน.

 

ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน

 

          [๙๗๖] คำว่า ถูกตักเตือน ในคำว่า

ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ ความว่า

พระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ พระเถระปูนอุปัชฌายะ

พระเถระปูนอาจารย์ มิตรผู้เคยเห็นกัน

ผู้ที่เคยคบกันมา หรือสหาย ตักเตือนว่า

ท่านผู้มีอายุ กรรมนี้ไม่ควรแก่ท่าน กรรมนี้ยังไม่ถึงแก่ท่าน

กรรมนี้ไม่เหมาะแก่ท่าน กรรมนี้ไม่งดงามแก่ท่าน

ภิกษุ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๖๒๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้งสติยินดี ชอบใจ

เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์

ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น

เหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นสาวเป็นหนุ่ม

กำลังเจริญ ชอบแต่งตัว อาบน้ำดำเกล้าแล้ว

ได้พวงมาลัยดอกบัวก็ดี พวงมาลัยดอกมะลิก็ดี

พวงมาลัยดอกลำดวนก็ดี รับด้วยมือทั้งสองแล้ว

เอาวางไว้บนศีรษะ ซึ่งเป็นอวัยวะสูงสุด

พึงยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้

ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ฉันใด

ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้งสติยินดี ชอบใจ

เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา

รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

          สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

                    บุคคลพึงเห็นผู้ใด ผู้แสดงโทษ

          กล่าวข่มขี่ มีปัญญา

          ว่าเป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้

          พึงคบหาบุคคลเช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต

          เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณอันประเสริฐ

          ไม่มีโทษลามกเลย

          บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน

          และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ

          บุคคลนั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น

          ที่ชังของพวกอสัตบุรุษ ดังนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ.

 

http://www.tripitaka91.com/66-620-11.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------

 

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑

คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล”

 

https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/920-33-345

 

เล่ม ๓๓ หน้า ๓๔๕-๓๔๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๐๕-๓๐๖ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒

 

พาลวรรคที่ ๓

สูตรที่ ๑

ว่าด้วยคนพาล ๒ จำพวก

 

          [๒๖๗] ๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑

คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑

คนที่รับรองตามธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

 

จบสูตรที่ ๑

 

พาลวรรคที่ ๓ 

อรรถกถาสูตรที่ ๑

 

          พาลวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. 

          บทว่า  อจฺจยํ อจฺจยโต น ปสฺสติ  ความว่า

ทำผิดแล้ว ไม่เห็นความผิดของตนว่า เราทำผิด

ได้แก่ ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทำผิดแล้ว

นำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ.

บทว่า  อจฺจยํ เทเสนฺตสฺส  ความว่า 

เมื่อเขากล่าวอย่างนี้แล้วนำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ.

บทว่า  ยถาธมฺมํ น ปฏิคฺคณฺหาติ  ความว่า 

เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไม่กระทำอย่างนี้

 

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๔๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

อีก ขอท่านโปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ 

ก็ไม่ยอมรับการขอขมานี้ตามธรรม คือตามสมควร

คือไม่กล่าวว่า จำเดิมแต่นี้ ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้อีก

เรายกโทษแก่ท่าน ดังนี้.

ธรรมฝ่ายขาว 

พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

 

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

 

http://www.tripitaka91.com/33-345-1.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------

 

“ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า

ความลำบากจักมีแก่เรา

และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ

เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ

มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก

แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้

ก็เรื่องความลำบากของเรา

และความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัติ นี้เป็นเรื่องเล็กน้อย

ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล

ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า”

 

https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/923-22-65

 

เล่ม ๒๒ หน้า ๖๕-๗๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๒-๖๘ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑

 

๓.  กินติสูตร

พระพุทโธวาทเรื่องสามัคคี

 

          [๔๒] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

          สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในป่าชัฏ

สถานที่บวงสรวงพลีกรรม ณ กรุงกุสินารา

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.

          พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอมีความดำริในเราบ้างหรือว่า

สมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร

หรือเพราะเหตุบิณฑบาต

หรือเพราะเหตุเสนาสนะ

หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้.

          ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์ไม่มีความดำริ

ในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้เลยว่า

พระสมณโคดมทรงแสดงธรรม

เพราะเหตุจีวรหรือเพราะเหตุบิณฑบาต

หรือเพราะเหตุเสนาสนะ

หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้.

          [๔๓] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เป็นอันว่า พวกเธอไม่มีความดำริในเราอย่างนี้เลยว่า

พระสมณโคดมแสดงธรรม

เพราะเหตุจีวร หรือเพราะเหตุบิณฑบาต

หรือเพราะเหตุเสนาสนะ

หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ ด้วยอาการนี้

ถ้าเช่นนั้น พวกเธอมีความดำริในเราอย่างไรเล่า.

          ภิ.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์มีความดำริ

ในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์

ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล

ทรงอาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม.

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๖๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          [๔๔] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เป็นอันว่าพวกเธอมีความดำริในเราอย่างนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อนุเคราะห์

แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล

อาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม

เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่าใด

อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ

สติปัฏฐาน ๔

สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕

พละ ๕

โพชฌงค์ ๗

อริยมรรคมีองค์ ๘

เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน

ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ในธรรมเหล่านั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน

ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่

จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกันในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป.

          [๔๕] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสองนี้  มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ

พวกเธอสำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า

ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น

แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ

ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนั้น

แม้โดยอาการที่ต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ

ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย

ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่น ๆ

ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่ากัน

พึงเข้าไปหารูปนั้น  แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ

ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น

แม้โดยอาการที่ต่างกัน โดยอรรถและโดยพยัญชนะ

ท่านทั้งสองอย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้

พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด

โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจำได้แล้ว

ข้อใดเป็นธรรมเป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

          [๔๖] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสองนี้แล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ

ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ พวกเธอ

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๖๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

สำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า

ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น

แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถ

ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ

ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น

แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยพยัญชนะ

ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย

ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่น ๆ

ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า

พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกัน แต่โดยอรรถ

ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ

ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น

แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยพยัญชนะ

ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย

ด้วยประการนี้

พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิด

และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูกโดยเป็นข้อถูกไว้

ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

          [๔๗] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสองนี้แล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ

ยังต่างกันแต่โดยพยัญชนะ

พวกเธอสำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน

พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสอง มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ

ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ

ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น

แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยอรรถ

ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ

ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย

ท่านทั้งสองอย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย

ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่น ๆ

ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า

พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสอง มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ

ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ

ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น

แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยอรรถ

ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ

ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย

ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย

ด้วยประการนี้

พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูกโดยเป็นข้อถูก

และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๖๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้

ครั้นจำได้แล้ว

ข้อใดเป็นธรรมเป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

          [๔๘] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสองนี้แล มีวาทะสมกันลงกัน

ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ

พวกเธอสำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน

พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสอง มีวาทะสมกันลงกัน

ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ

ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น

แม้โดยอาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ

ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย

ต่อนั้นพวกเธอสำคัญภิกษุอื่น ๆ

ที่เป็นฝ่ายเดียวกัน รูปใดว่า ว่าง่ายกว่า

พึงเข้าไปหารูปนั้นแล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า

ท่านทั้งสอง มีวาทะสมกันลงกัน

ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ

ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น

แม้โดยอาการที่สมกันลงกันได้

ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ

ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย

ด้วยประการนี้

พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูก

โดยเป็นข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว

ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

          [๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน

ยินดีต่อกันไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่

ภิกษุรูปหนึ่งพึงมีอาบัติ มีวีติกกมโทษ

พวกเธออย่าเพ่อโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท

พึงสอบสวนบุคคลก่อนว่า

ด้วยอาการนี้ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา

และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ

เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ

ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย

และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

          อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า

ความลำบากจักมีแก่เรา

และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ

เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๖๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น แต่ยอมสละคืนได้ง่าย

และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้

ก็เรื่องความลำบากของเรา

และความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย

ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล

ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

          อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า

ความลำบากจักมีแก่เรา

และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ

เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ

ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย

และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้

ก็เรื่องความลำบากของเรา เป็นเรื่องเล็กน้อย

ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล

ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

       ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า

ความลำบากจักมีแก่เรา

และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ

เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ

มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก

แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้

ก็เรื่องความลำบากของเรา

และความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัติ นี้เป็นเรื่องเล็กน้อย

ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล

ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

          แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า

ความลำบากจักมีแก่เรา

และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ

เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ

มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก

ทั้งเราก็ไม่อาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้

พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้.

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          [๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็พวกเธอนั้นที่พร้อมเพรียงกัน

ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่

พึงเกิดการพูดยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ

ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้น

บรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันในที่นั้น

หมายสำคัญเฉพาะรูปใดว่าเป็นผู้ว่าง่าย

เธอพึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน

ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่

เกิดการพูดยุแหย่กัน ตีเสมอกัน ด้วยทิฏฐิ

ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น

พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อภิกษุจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุ

เรี่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน

ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่

เกิดการยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ

ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น

พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้

ก็ภิกษุอื่น ๆ จะพึงถามเธอว่า

ท่านผู้มีอายุ

ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว

จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ

ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ

พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุ

ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว

จะพึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้

ต่อนั้น พวกเธอสำคัญในเหล่าภิกษุอื่น ๆ

ที่เป็นฝ่ายเดียวกันเฉพาะรูปใดว่า เป็นผู้ว่าง่าย

พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุ

เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน

ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่

เกิดการพูดยุแหย่กัน ตีเสมอกัน ด้วยทิฏฐิ

ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น

พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุ

เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน

ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่

เกิดการพูดยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ

ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น

พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงติเตียนได้

ก็ภิกษุอื่น ๆ จะพึงถามเธอว่า

ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุ

ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว

จะพึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าภิกษุอื่น ๆ พึงถามเธออย่างนี้ว่า

ท่านให้ภิกษุเหล่านี้ของพวกเรา ออกจากอกุศล

ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ

ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุ ในเรื่องนี้

ข้าพเจ้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าฟังธรรมของพระองค์แล้ว

ได้กล่าวแก่ภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมแล้ว

ออกจากอกุศล และดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล

ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มคนอื่น

พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรมด้วย

ทั้งวาทะของศิษย์อะไร ๆ อันชอบด้วยเหตุ

ย่อมไม่ประสบข้อน่าตำหนิด้วย.

          พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

 

จบ  กินติสูตรที่  ๓

 

http://www.tripitaka91.com/22-65-1.html

 

-------------------------------------------------------------------------------------

 

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง

ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว

ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท

ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น

โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.

[๑๖๕] ดูก่อนภัททาลิ

เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง

ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว

ในเมื่อเรากำลังบัญญัติสิกขาบท

ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ

แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษของเธอนั้น

ข้อที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว

ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป

นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ.”

 

“[๑๖๖] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา

เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า

ถ้ากระไรเราพึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ

ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ

ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟางเถิด

บางทีเราพึงทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ

คือความรู้ความเห็นของพระอริยะ

ผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ดังนี้

เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ

ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ

ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง

เมื่อเธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น

พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้

เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้

เทวดาก็ติเตียนได้ แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้

เธออันพระศาสดาติเตียนบ้าง

เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายติเตียนบ้าง

เทวดาติเตียนบ้าง ตนเองติเตียนตนบ้าง

ก็ไม่ทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษคือความรู้

ความเห็นของพระอริยะผู้สามารถ

ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ดูก่อนภัททาลิ

ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ในศาสนาของพระศาสดา

 

เล่ม ๒๐ หน้า ๓๒๑-๓๓๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๐๕-๓๑๙ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑

 

๕. ภัททาลิสูตร

คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว

 

          [๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

          สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว

เมื่อเราฉันอาหารในเวลาภัตครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือ

ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายจงมา

จงฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว

จักรู้สึกคุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคบางเบา

กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ.

 

พระภัททาลิฉันอาหารหนเดียวไม่ได้

 

          [๑๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว

ท่านพระภัททาลิ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวได้

เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว

จะพึงมีความรำคาญ ความเดือดร้อน.

          ดูก่อนภัททาลิ ถ้าอย่างนั้น เธอรับนิมนต์ ณ ที่ใดแล้ว

พึงฉัน ณ ที่ นั้นเสียส่วนหนึ่ง แล้วนำส่วนหนึ่งมาฉันอีกก็ได้

เมื่อเธอฉันได้ แม้อย่างนี้ ก็จักยังชีวิตให้เป็นไปได้.

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันแม้ด้วยอาการอย่างนั้นได้

เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันแม้ด้วยอาการอย่างนั้น

จะพึงมีความรำคาญ ความเดือดร้อน

ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว

ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังจะทรงบัญญัติสิกขาบท

ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิไม่ได้ให้ตนประสบพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตลอดไตรมาสนั้นทั้งหมด เหมือนภิกษุอื่นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในสิกขา

ในพระศาสนาของพระศาสดาฉะนั้น.

 

พระภัททาลิขอขมาพระพุทธเจ้า

 

          [๑๖๒] ก็สมัยนั้นแล

ภิกษุมากรูปด้วยกันช่วยกันทำจีวรกรรมสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งใจว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จเที่ยวจาริกไปโดยล่วงไตรมาส

ครั้งนั้น ท่านพระภัททาลิเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่

โดยปราศรัยกับภิกษุเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวว่า

ดูก่อนภัททาลิผู้มีอายุ จีวรกรรมนี้แล

ภิกษุทั้งหลายช่วยกันทำสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยตั้งใจว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จเที่ยวจาริกไปโดยล่วงไตรมาส

ดูก่อนภัททาลิผู้มีอายุ เราขอเตือนท่าน ท่านจงมนสิการความผิดนี้ให้ดีเถิด

ความกระทำที่ยากกว่าอย่าได้มีแก่ท่านในภายหลังเลย.

          ท่านพระภัททาลิรับคำของภิกษุเหล่านั้น

แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล

เป็นคนหลงไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อ

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท

ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น

โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.

          [๑๖๓] ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน

โทษได้ครอบงำเธอ

ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด

ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะแล้ว

ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท

ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงทราบเราว่า

ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้

เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว

ดูก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า

ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี

แม้ภิกษุเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้

เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว

ดูก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า

ภิกษุณีมากด้วยกันเข้าจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี

แม้ภิกษุณีเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้

เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดมาแล้ว

ดูก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า

อุบาสกมากด้วยกันอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี

แม้อุบาสกเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้

เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว

ดูก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า

อุบาสิกามากด้วยกันอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี

แม้อุบาสิกาเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้

เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดว่า

สมณพราหมณ์ต่างลัทธิมากด้วยกันเข้าอยู่กาลฝนในพระนครสาวัตถี

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

แม้สมณพราหมณ์เหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ

สาวกของพระสมณโคดมเป็นพระเถระองค์หนึ่ง

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดาดังนี้

เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว.

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด

ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว

ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท

ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น

โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.

          [๑๖๔] ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน

โทษครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด

ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว

ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท

ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

ดูก่อนภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคลชื่ออุภโตภาควิมุต

เราพึงกล่าวกะภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดังนี้

ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น

หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ.

          ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

          ดูก่อนภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นอริยบุคคลชื่อปัญญาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อกายสักขี

เป็นอริยบุคคลชื่อทิฏฐิปัตตะ เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธาวิมุต

เป็นอริยบุคคลชื่อธรรมานุสารี เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธานุสารี

เราพึงกล่าวกะภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดังนี้

ภิกษุนั้น พึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น

หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ.

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

          ดูก่อนภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยนั้น

เธอเป็นพระอริยบุคคลชื่อว่าอุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี

ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต ธรรมานุสารี หรือสัทธานุสารี บ้างหรือหนอ.

        มิได้เป็นเลย พระเจ้าข้า.

        ดูก่อนภัททาลิ ในสมัยนั้น

เธอยังเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิดมิใช่หรือ.

        เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

โทษได้ครอบงำ ข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล

เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว

ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท

ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น

โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.

     [๑๖๕] ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน

โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด

ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว

ในเมื่อเรากำลังบัญญัติสิกขาบท

ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ

แล้วทำคืนตามธรรม

เราจึงรับโทษของเธอนั้น

ข้อที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว

ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป

นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ.

 

ผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

 

          [๑๖๖] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา

เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า

ถ้ากระไรเราพึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ

ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ที่แจ้ง ลอมฟางเถิด บางทีเราพึงทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ

คือความรู้ความเห็นของพระอริยะผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ ดังนี้

เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา

ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง

เมื่อเธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น

พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้

เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้

เทวดาก็ติเตียนได้ แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้

เธออันพระศาสดาติเตียนบ้าง เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายติเตียนบ้าง

เทวดาติเตียนบ้าง ตนเองติเตียนตนบ้าง

ก็ไม่ทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษคือความรู้ความเห็นของพระอริยะผู้สามารถ

ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ดูก่อนภัททาลิ

ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ในศาสนาของพระศาสดา

 

ผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

 

          [๑๖๗] ดูก่อนภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้

เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา

เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า

ถ้ากระไรเราพึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ

ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง

บางทีเราพึงทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ

คือความรู้ความเห็นของพระอริยะผู้สามารถ

ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ ดังนี้

เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา

ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง

เมื่อเธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น แม้พระศาสดาก็ไม่ทรงติเตียน

แม้เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ไม่ติเตียน

แม้เทวดาก็ไม่ติเตียน แม้ตนเองก็ติเตียนตนไม่ได้

เธอแม้อันพระศาสดาไม่ทรงติเตียน

แม้เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน

แม้เทวดาไม่ติเตียน แม้ตนเองติเตียน

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ตนไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งคุณวิเศษ

คือความรู้ความเห็นของพระอริยะ

ผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์.

          ภิกษุนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน

ศาสดาไม่ทรงติเตียน แม้เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน

แม้เทวดาไม่ติเตียน แม้ตนเองติเตียนตนไม่ได้

ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งคุณวิเศษ

มีความรู้ความเห็นของพระอริยะผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์.

          ภิกษุนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาณ

มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ

ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ในศาสนาของพระศาสดา

          ดูก่อนภัททาลิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ

ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ในศาสนาของพระศาสดา.

          ดูก่อนภัททาลิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน

ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ

ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ในศาสนาของพระศาสดา.

          ดูก่อนภัททาลิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน

ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์

และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ

ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ในศาสนาของพระศาสดา.

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ญาณ ๓

 

          [๑๖๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน

ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ

ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง

ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง

สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง

แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง

ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า

ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น

มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ

มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น

แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น

มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ

มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้

เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ

ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ในศาสนาของพระศาสดา.

          ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้

ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย

เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า

สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ. ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ.

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้

เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ

ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ในพระศาสนาของพระศาสดา.

          ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส

อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้

ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น

ครั้นเมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ

ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ในศาสนาของพระศาสดา.

          เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว

ท่านพระภัททาลิได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย

สำหรับภิกษุทั้งหลายจะข่มแล้วข่มเล่า

ซึ่งภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้แล้วทำเป็นเหตุ

ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย

สำหรับภิกษุทั้งหลายจะไม่ข่มแล้วข่มเล่า

ซึ่งภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้แล้วทำเป็นเหตุ.

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๓๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

การระงับอธิกรณ์

 

          [๑๖๙] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ

เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่

ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น

นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน

ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ

ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่ทำขนให้ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก

ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์

ดูก่อนภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น

ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่างนี้ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ภิกษุนี้เป็นผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ

เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่

ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น

นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความโกรธ

ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ

ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่ทำขนให้ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก

ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์

ดีละหนอ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของภิกษุนี้

โดยประการที่อธิกรณ์นี้ไม่พึงระงับโดยเร็วฉะนั้นเถิด

ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น

โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะไม่ระงับโดยเร็วฉะนั้น.

          ดูก่อนภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ

เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่

ย่อมไม่ฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น

ไม่นำถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน

ไม่ทำความโกรธความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ

ประพฤติชอบ ทำขนให้ตก ประพฤติถอนตนออก

กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์

ดูก่อนภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่าง

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๓๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

นี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ภิกษุนี้เป็นผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ

เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่

ย่อมไม่ประพฤติฝ่าฝืนอย่างอื่นด้วยอาการอื่น

ไม่นำถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่ทำความโกรธ

ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ

ประพฤติชอบ ทำขนให้ตกประพฤติถอนตนออก

กล่าวว่าข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์

ดีละหนอ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงพิจารณาโทษของภิกษุนี้

โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะพึงระงับโดยเร็วฉะนั้นเถิด

ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมพิจารณาโทษของภิกษุนั้น

โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะระงับได้โดยเร็วฉะนั้น.

          [๑๗๐] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มากด้วยอาบัติ

เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่

ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น

นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความโกรธ

ความขัดเคืองและความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ

ไม่ประพฤติชอบ ไม่ทำขนให้ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก

ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์

ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่างนี้ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มากด้วยอาบัติ

เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น

นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความโกรธ

ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ

ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่ทำขนให้ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก

ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์

ดีละหนอ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงพิจารณาโทษของภิกษุนี้

โดยประการที่อธิกรณ์จะไม่พึงระงับโดยเร็วฉะนั้นเถิด

ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น

โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะไม่ระงับโดยเร็วฉะนั้น.

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๓๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ดูก่อนภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มากด้วยอาบัติ

เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่

ย่อมไม่ฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอย่างอื่น

ไม่นำถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่ทำความโกรธ

ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ

ประพฤติชอบ ทำขนให้ตก ประพฤติถอนตนออก

กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์

ดูก่อนภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น

ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่างนี้ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มากด้วยอาบัติ

เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่

ย่อมไม่ประพฤติฝ่าฝืนอย่างอื่นด้วยอาการอื่น

ไม่นำถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่ทำความโกรธความขัดเคือง

และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ

ประพฤติชอบ ทำขนให้ตก ประพฤติถอนตนออก

กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์

ดีละหนอ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของภิกษุนี้

โดยประการที่อธิกรณ์นี้พึงระงับได้โดยเร็วฉะนั้นเถิดด้วยประการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น

โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะระงับได้โดยเร็วฉะนั้น.

          [๑๗๑] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ

ดูก่อนภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ

ด้วยความรักพอประมาณนั้น

ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ภิกษุนี้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ

ถ้าเราทั้งหลายจักข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุนี้แล้วให้ทำเหตุ ด้วยความตั้งใจว่า

ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอประมาณ ของเธอนั้น อย่าเสื่อมไปจากเธอเลย

ดูก่อนภัททาลิ เปรียบเหมือนชนผู้เป็นมิตรอำมาตย์ญาติสายโลหิต

ของบุรุษผู้มีนัยน์ตาข้างเดียว พึงรักษา

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๓๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

นัยน์ตาข้างเดียวนั้นไว้ ด้วยความตั้งใจว่า

นัยน์ตาข้างเดียวของเขานั้น อย่าได้เสื่อมไปจากเขาเลย ฉันใด

ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น

นำชีวิตไปด้วยความศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ

ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ

ด้วยความรักพอประมาณนั้น

ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ภิกษุนี้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ

ถ้าเราทั้งหลายจักข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุนี้แล้วให้ทำเหตุ ด้วยความตั้งใจว่า

ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอประมาณ

ของเธออย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย

ดูก่อนภัททาลิ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย

สำหรับภิกษุทั้งหลายที่จะข่มแล้วข่มเล่า

ซึ่งภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ

อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย

สำหรับภิกษุทั้งหลายที่จะข่มแล้วข่มเล่า

ซึ่งภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ.

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย

ที่เมื่อก่อนได้มีสิกขาบทน้อยนักเทียว

แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลเป็นอันมาก

และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เดี๋ยวนี้ ได้มีสิกขาบทเป็นอันมาก

แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อยนัก.

 

อาสวัฏฐานิยธรรม

 

          [๑๗๒] ดูก่อนภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น

เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม พระสัทธรรมกำลังอันตรธาน

สิกขาบทมีอยู่มากมาย แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อยนัก

พระศาสดายังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย

ตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า

ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้

ต่อเมื่อใด อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า

ปรากฏขึ้นในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้

เมื่อนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย

เพื่อกำจัด

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๓๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

อาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น

อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้

ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่

ต่อเมื่อใด สงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่

เมื่อนั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า

จึงจะปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้

ครั้งนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย

เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น

อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏ ในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้

ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ...

ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ...

ยังไม่ถึงความเป็นพหูสูต...

ยังไม่ถึงความเป็นรัตตัญญู ต่อเมื่อใด สงฆ์ถึงความเป็นรัตตัญญู

เมื่อนั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าจึงปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้

ครั้งนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย

เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น.

          [๑๗๓] ดูก่อนภัททาลิ ณ สมัยที่เราแสดงธรรมปริยาย

เปรียบด้วยอาชาไนยหนุ่ม แก่เธอทั้งหลาย

ณ สมัยนั้น เธอทั้งหลายได้มีอยู่น้อย เธอยังระลึกถึงธรรมปริยายนั้นได้อยู่หรือ.

          ข้าพระองค์ระลึกถึงธรรมปริยายข้อนั้นไม่ได้ พระเจ้าข้า.

          ดูก่อนภัททาลิ ในการระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยอะไรเป็นเหตุเล่า.

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะข้าพระองค์นั้นมิได้ทำให้บริสุทธิ์ในสิกขา

ในศาสนาของพระศาสดา เป็นเวลานานเป็นแน่ พระเจ้าข้า.

          ดูก่อนภัททาลิ ความเป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานี้

จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย หามิได้

แต่เรากำหนดใจด้วยใจ รู้เธอมานานแล้วว่า

โมฆบุรุษนี้ เมื่อเราแสดงธรรมอยู่

ไม่ต้องการ ไม่ใส่ใจ ไม่รวบรวมด้วยใจทั้งปวง ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม

แต่ก็เราจักแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่มแก่เธอ

เธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ท่านพระภัททาลิทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๓๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ธรรม ๑๐ ประการ

 

          [๑๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภัททาลิ เปรียบเหมือนนายสารถีฝึกม้าคนขยัน

ได้ม้าอาชาไนยตัวงามมาแล้ว

ครั้งแรกทีเดียว ฝึกให้รู้เหตุในการใส่บังเหียน

เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุในการใส่บังเหียน

ความประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ

การดิ้นรนบางอย่างบางประการยังมีอยู่ทีเดียว

เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น

มันจะสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ

เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ

ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น

เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ

นายสารถีฝึกม้า จึงฝึกให้มันรู้เหตุยิ่งขึ้นไป ในการเทียมแอก

เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุในการเทียมเอก

ความประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการยังมีอยู่ทีเดียว

เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้ให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น

มันจะสงบลงได้ ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ

เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ

ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ ในการพยศนั้น

เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ

นายสารถีผู้ฝึกม้าจึงฝึกให้มันรู้เหตุยิ่งขึ้นไป

ในการก้าวย่าง ในการวิ่งเป็นวงกลม ในการจรดกีบ ในการวิ่ง

ในประโยชน์ต่อเสียงร้อง ในการฝึกไม่ให้ตื่นตกใจ เพราะเสียงกึกก้องต่าง ๆ

ในการเป็นม้ามีคุณที่พระราชาพึงรู้ ในวงศ์พญาม้า ในความว่องไวชั้นเยี่ยม

ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม

เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุ ในการว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม

ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม ความประพฤติ

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๓๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการ ยังมีอยู่ทีเดียว

เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น

มันย่อมสงบลงได้ในการพยศนั้น.

เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ

ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น

เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ

สารถีผู้ฝึกม้าย่อมเพิ่มให้ซึ่งเหตุเป็นที่ตั้งแห่งคุณ

และเหตุเป็นที่ตั้งแห่งพละยิ่งขึ้นไป

ดูก่อนภัททาลิ ม้าอาชาไนยตัวงาม ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการนี้แล

ย่อมเป็นพาหนะควรแก่พระราชา เป็นพาหนะสำหรับใช้สอยของพระราชา

นับได้ว่าเป็นองค์ของพระราชา ฉันใด 

ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ก็ฉันนั้น

ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา

เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญยิ่งกว่า

ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ

ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล

ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ

เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่อัญชลีกรรม

เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ดังนี้.

          พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว

ท่านพระภัททาลิชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

 

จบภัททาลิสูตรที่ ๕

 

http://www.tripitaka91.com/20-321-1.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------

 

“ก็การที่บุคคลเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริง

แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวรต่อไป

นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะแล.”

 

https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/921-11-335

 

เล่ม ๑๑ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๘๗-๒๘๘ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

 

บางส่วนของ สามัญญผลสูตร

 

          (๑๓๙) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว

พระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร เจ้าแผ่นดินมคธ

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ภาษิตของพระองค์ไพเราะจับใจยิ่งนัก

เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง

หรือส่องประทีปในที่มืด  ด้วยคิดว่า

ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย

ฉันนั้นเหมือนกัน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

โปรดทรงจำข้าพระองค์

ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

โทษได้ครอบงำ

ข้าพระองค์ซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด

ข้าพระองค์ได้ปลงพระชนมชีพพระบิดา

ผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม

เพราะปรารถนาความเป็นใหญ่

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

โปรดทรงรับทราบความผิดของข้าพระองค์

โดยเป็นความผิดจริง เพื่อสำรวมต่อไป

พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสตอบว่า จริง มหาบพิตร

ความผิดได้ครอบงำมหาบพิตรซึ่งเป็นคน

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๓๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เขลา คนหลง ไม่ฉลาด

มหาบพิตร ได้ปลงพระชนมชีพพระบิดา

ผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม

เพราะปรารถนาความเป็นใหญ่

แต่เพราะมหาบพิตรทรงเห็นความผิด

โดยเป็นความผิดจริงแล้ว

ทรงสารภาพตามเป็นจริง ฉะนั้น

ตถาคตขอรับทราบความผิดของมหาบพิตร

ก็การที่บุคคลเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริง

แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวรต่อไป

นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะแล.

 

http://www.tripitaka91.com/11-335-9.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------

 

พระที่ต้องอาบัติปาราชิก

หรือต้องอาบัติเป็นประจำทั้งที่รู้อยู่แล้วไม่แก้ไข

หากแก้ไขสึกไปแล้วยังมีทางรอด

 

“พระศาสดา ประทับนั่งแล้ว

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูกองไฟใหญ่โน้น

แล้วทรงแสดงอัคคิขันโธปมสูตร.

 

ก็เมื่อตรัสไวยากรณ์นี้อยู่

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปรากเลือด.

ภิกษุประมาณ ๖๐ ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์.

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปมีจิตไม่ยึดมั่น

ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย.

 

ก็เพราะได้ฟังไวยากรณ์นั้น

นามกายของภิกษุประมาณ ๖๐ รูปก็กลัดกลุ้ม

เมื่อนามกายกลัดกลุ้ม กรัชกายก็รุ่มร้อน

เมื่อกรัชกายรุ่มร้อน โลหิตอุ่นที่คั่งก็พุ่งออกจากปาก.

ภิกษุ (อีก) ประมาณ ๖๐ รูป

คิดว่าการประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต

ในพระพุทธศาสนา ทำได้ยากหนอ

แล้วพากันลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป

ส่งญาณมุ่งตรงต่อเทศนาของพระศาสดา

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุเหล่าใด รากเลือด ภิกษุเหล่านั้นต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุเหล่าใดสึกเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุเหล่านั้นพากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย.

ภิกษุเหล่าใดบรรลุพระอรหัต

ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล.

พระธรรมเทศนาของพระศาสดา

เกิดมีผลแม้แก่ภิกษุ ๓ จำพวก ดังกล่าวนี้.

 

ถามว่า พระธรรมเทศนาเกิดมีผลแก่ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัต

ยกไว้ก่อน อย่างไรจึงเกิดผลแก่ภิกษุนอกนี้. ?

ก็ว่า ก็ภิกษุแม้เหล่านั้น

ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้

เป็นผู้ประมาท ไม่พึงอาจละฐานะได้

แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น

จะพึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว

แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิดความสังเวช ละฐานะ.

ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐

ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ

บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นพระสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลก.

พระธรรมเทศนาได้มีผล

แม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการอย่างนี้.

 

ฝ่ายภิกษุนอกนี้

ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้

เมื่อกาลล่วงไป ๆ

ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง ปาราชิกบ้าง

ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า

พระพุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ

พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้

จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม

จักพ้นจากทุกข์ได้

ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์.

ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในสรณะ ๓

รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม

บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล.

พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุเหล่านั้น

ด้วยอาการอย่างนี้.”

 

https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/922-32-112

 

เล่ม ๓๒ หน้า ๑๑๒-๑๒๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๕-๑๐๔ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑

 

อรรถกถาสูตรที่ ๓

 

          สูตรที่ ๓ กล่าวไว้แล้วในเหตุเกิดเรื่อง.

กล่าวไว้ในเหตุเกิดเรื่องไหน ?

ในเหตุเกิดเรื่อง อัคคิขันโธปมสูตร.

          ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า 

อาศัยประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี.

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ทรงอาศัยอยู่ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

ก็มิได้ทรงละกิจ ๕ อย่างเลย

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ชื่อว่า พุทธกิจ ๕ อย่าง คือ 

ปุเรภัตตกิจ ๑

ปัจฉาภัตตกิจ ๑

ปุริมยามกิจ ๑

มัชฌิมยามกิจ ๑

ปัจฉิมยามกิจ ๑

 

          ในพุทธกิจ ๕ นั้น

ปุเรภัตตกิจ กิจก่อนเสวยอาหารมีดังต่อไปนี้

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกขึ้นแต่เช้า

ทรงการทำปริกรรมพระสรีระ มีล้างพระพักตร์เป็นต้น

เพื่ออนุเคราะห์อุปัฏฐาก

และเพื่อความผาสุกแห่งพระสรีระ

ทรงยับยั้งอยู่เหนืออาสนะอันสงัด จนถึงเวลาภิกขาจาร

พอได้เวลาภิกขาจาร ก็ทรงนุ่งอันตรวาสก

ทรงคาดประคดเอว ห่มจีวร ถือบาตร

บางครั้งก็พระองค์เดียว บางครั้งก็แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์

เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม.

บางคราวเสด็จเข้าไปตามปกติ

บางคราวเสด็จไปด้วยปาฏิหาริย์เป็นอันมาก.

คือเมื่อพระโลกนาถเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

ลมอ่อน ๆ ก็พัดไปข้างหน้าเป่าแผ่นดินให้สะอาด

เมฆหลั่งเมล็ดฝนดับฝุ่นละอองบนหนทาง

กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน.

ลมอีกพวกหนึ่งก็นำดอกไม้เข้าไปโปรยลงบนหนทาง

ภูมิประเทศที่ดอนก็ยุบลง.

ภูมิประเทศที่ลุ่มก็หนุนตัวขึ้น

เวลาที่ทรงย่างพระบาท ภูมิภาคย่อมมีพื้นราบเรียบ

หรือดอกปทุมมีสัมผัสอันอ่อนละมุน คอยรับพระบาท.

เมื่อพอทรงวางพระบาทเบื้องขวา ไว้ในภายในเสาเขื่อน.

ฉัพพัณณรังสี พระรัศมีมีพรรณ ๒ ประการ

เปล่งออกจากพระสรีระพวยพุ่งไปรอบด้าน

กระทำปราสาทและเรือนยอดเป็นต้น

ให้เป็นดุจสีเหลืองเหมือนทองคำ

และให้เป็นดุจแวดวงด้วยผ้าอันวิจิตร.

สัตว์ทั้งหลายมีช้างม้าและนกเป็นต้น

ที่อยู่ในที่ของตน ๆ ก็เปล่งเสียงไพเราะ.

ดนตรีมีกองและบัณเฑาะว์ เป็นต้น กับ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เครื่องอาภรณ์ที่สวมใส่อยู่ในกายของพวกมนุษย์ 

ก็เหมือนกัน คือ เปล่งเสียงไพเราะ

ด้วยสัญญาณนั้น พวกมนุษย์ย่อมรู้ว่าวันนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตในที่นี้.

มนุษย์เหล่านั้นนุ่งห่มเรียบร้อย

ถือเครื่องสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น

ออกจากเรือนดำเนินไปตามท้องถนน

บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยของหอม

และดอกไม้เป็นต้นโดยเคารพถวายบังคมแล้ว ทูลขอว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูป

แก่พวกข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป

แล้วรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปูอาสนะน้อมถวายบิณฑบาตโดยเคารพ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว

ทรงตรวจดูสันดานของมนุษย์เหล่านั้นแล้วทรงแสดงธรรม.

บางพวกจะตั้งอยู่ในสรณคมน์

บางพวกจะตั้งอยู่ในศีล ๕

บางพวกจะตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล

และอนาคามิผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

บางพวกจะบวชแล้ว ดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ

ด้วยประการใด ก็ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยประการนั้น

เสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จกลับไปพระวิหาร.

เสด็จไปที่พระวิหารนั้นแล้วประทับนั่ง บนบวรพุทธอาสน์

ที่เขาตกแต่งไว้ ณ ศาลากลมประกอบด้วยของหอม.

ในเวลาเสร็จภัตตกิจของภิกษุทั้งหลาย

อุปัฏฐากก็จะกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ทรงทราบ.

ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงจะเสด็จเข้าพระคันธกุฏี

ปุเรภัตตกิจ กิจก่อนเสวยอาหารมีเท่านี้ก่อน.

          ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำกิจก่อนเสวยอาหารอย่างนี้แล้ว

ก็ประทับนั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฏี ทรงล้างพระบาท

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า

ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจงยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด

การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าหาได้ยาก

กาลได้อัตภาพเป็นมนุษย์หาได้ยาก

การถึงพร้อมด้วยศรัทธาหาได้ยาก

การบรรพชาหาได้ยาก

การฟังธรรมหาได้ยากในโลก

บรรดาภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุบางรูปทูลถามกรรมฐาน กะพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระองค์ก็ประทานกรรมฐาน

อันเหมาะแก่ความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น

แต่นั้นภิกษุแม้ทั้งหมดถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วไปยังที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันของตน ๆ.

บางพวกไปป่า บางพวกอยู่โคนไม้

บางพวกไปภูเขาเป็นต้น แห่งใดแห่งหนึ่ง

บางพวกไปภพของท้าวจาตุมหาราช

บางพวกไปภพของท้าววสวัตตี.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฏี

ถ้าทรงจำนงก็ทรงมีสติ สัมปชัญญะ บรรทมตะแคงขวาครู่หนึ่ง

ครั้นมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่า

เสด็จลุกขึ้นตรวจดูสัตว์โลก ในภาคที่ ๒.

ในภาคที่ ๓ มหาชนในคามหรือนิคม

ที่พระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยประทับอยู่ ถวายทานก่อนอาหาร

ครั้นเวลาหลังอาหาร นุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว

ถือเอาสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น

ประชุมกันในพระวิหาร.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า 

เสด็จไปโดยปาฏิหาริย์อันเหมาะสมแก่บริษัทที่ประชุมกัน

ประทับนั่งแสดงธรรม บนบวรพุทธอาสน์

ที่ตกแต่งไว้ในโรงธรรม ให้เหมาะแก่กาล เหมาะแก่สมัย.

ครั้นถึงเวลาอันควรแล้ว จึงส่งบริษัทกลับไป.

พวกมนุษย์ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วก็หลีกไป.

ปัจฉาภัตตกิจ กิจภายหลังอาหาร มีดังกล่าวนี้.

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ทรงทำปัจฉาภัตตกิจให้เสร็จอย่างนั้นแล้ว

ถ้าทรงประสงค์จะทรงสนานพระกาย

ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์

เสด็จเข้าสู่ซุ้มสำหรับสรงสนาน

ทรงรดพระกายด้วยน้ำอันอุปัฏฐากจัดถวาย.

แม้พระอุปัฏฐากก็นำเอาพุทธอาสน์

มาลาดถวายในบริเวณพระคันธกุฏี

พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนุ่งอันตรวาสก ๒ ชั้น ที่ย้อมดีแล้ว

ทรงคาดประคดเอว ทรงครองอุตตราสงฆ์

แล้วเสด็จมาประทับ ณ พุทธอาสน์นั้น

ทรงเร้นอยู่ครู่หนึ่งลำพังพระองค์

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้น

ไปยังที่เฝ้าพระศาสดา

บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกถามปัญหา

บางพวกขอกรรมฐาน บางพวกขอฟังธรรม.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจัดให้สมประสงค์ของภิกษุเหล่านั้น

ทรงยับยั้ง แม้ตลอดยามต้น.

ปุริมยามกิจ กิจในยามต้น มีดังกล่าวนี้.

          เวลาเสร็จกิจในยามต้น

เมื่อภิกษุทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป

เทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุ เมื่อได้โอกาส

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถามปัญหา

ชั้นที่สุดแม้อักษร ๔ ตัวตามที่แต่งมา

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงวิสัชนาปัญหาแก่เทวดาเหล่านั้น

ทรงยับยั้งอยู่ตลอดมัชฌิมยาม

มัชฌิมยามกิจ กิจในมัชฌิมยาม มีดังกล่าวนี้.

          ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแบ่งปัจฉิมยามเป็น ๓ ส่วน

แล้วทรงยับยั้งส่วนหนึ่งด้วยการเดินจงกรม

เพื่อทรงปลดเปลื้องความเมื่อยพระวรกายที่ประทับนั่งมาก

ตั้งแต่เวลาก่อนเสวยอาหาร ใน

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ส่วนที่ ๒

เสด็จเข้าไปพระคันธกุฏี ทรงมีพระสติและสัมปชัญญะ

บรรทมตะแคงข้างขวา ในส่วนที่ ๓

เสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง ตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ

เพื่อทอดพระเนตรบุคคลผู้ได้กระทำบุญญาธิการ

ไว้ด้วยทาน และศีลเป็นต้น

ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน

ปัจฉิมยามกิจ กิจในปัจฉิมยาม มีดังกล่าวนี้.

          วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำรงอยู่ในกิจนี้นี่แหละ

ทรงตรวจดูสัตว์โลก ก็ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า

เมื่อเราจาริกไปในมหาโกสลรัฐ

แสดงสูตรหนึ่งเปรียบเทียบด้วยกองเพลิง

ภิกษุ ๖๐ รูปจักบรรลุพระอรหัต

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปจักรากเลือด

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปจักสึกเป็นคฤหัสถ์.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น

พวกภิกษุผู้จักบรรลุพระอรหัต

ได้ฟังพระธรรมเทศนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

จักบรรลุได้ทีเดียว.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

มีพระประสงค์จะเสด็จจาริกไปเพื่อสงเคราะห์ภิกษุนอกจากนี้

จึงตรัสว่า อานนท์ เธอจงบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย.

          พระเถระไปตามบริเวณแล้วกล่าวว่า

ผู้มีอายุ พระศาสดา

มีพระประสงค์จะเสด็จจาริก เพื่ออนุเคราะห์มหาชน

ผู้ประสงค์จะไปตามเสด็จ ก็จงพากันมาเถิด.

ภิกษุทั้งหลาย มีใจยินดีเหมือนได้ลาภใหญ่ คิดว่า

เราจักได้ชมพระสรีระมีวรรณะเพียงดังทองคำ

ได้ฟังธรรมกถาอันไพเราะ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสดงธรรมแก่มหาชน

ผู้ที่มีผมขึ้นยาวก็ปลงผม มีบาตรถูกสนิมจับก็ระบมบาตร

มีจีวรหมอง ก็ซักจีวร ต่างเตรียมจะตามเสด็จ.

พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่กำหนดจำนวนไม่ได้

ออกจาริกไปยัง

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

โกศลรัฐ วันหนึ่ง ๆ เสด็จจาริกไป ๑ คาวุต ๒ คาวุต ๓ คาวุต 

และโยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ตามลำดับแห่งคามและนิคม

ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้มีโพรงต้นใหญ่แห่งหนึ่ง

ถูกไฟไหม้ลุกโพลง ทรงดำริว่า

เราจะทำต้นไม้นี้แล ให้เป็นวัตถุเหตุตั้งเรื่อง

แสดงธรรมกถาประกอบด้วยองค์ ๗ จึงงดการเสด็จ

เสด็จเข้าไปยังโคนไม้ต้นหนึ่ง

ทรงแสดงอาการจะประทับนั่ง.

พระอานนทเถระทราบพระประสงค์ของพระศาสดา คิดว่า

ชะรอยว่าจักมีเหตุแน่นอน

พระตถาคตไม่เสด็จต่อไป

แล้วจะหยุดประทับนั่งเสียโดยเหตุอันไม่สมควรหามิได้

จึงปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น.

       พระศาสดา ประทับนั่งแล้ว

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า 

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูกองไฟใหญ่โน้น

แล้วทรงแสดงอัคคิขันโธปมสูตร.

ก็เมื่อตรัสไวยากรณ์นี้อยู่

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปรากเลือด.

ภิกษุประมาณ ๖๐ ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์.

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปมีจิตไม่ยึดมั่น

ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย.

ก็เพราะได้ฟังไวยากรณ์นั้น

นามกายของภิกษุประมาณ ๖๐ รูปก็กลัดกลุ้ม

เมื่อนามกายกลัดกลุ้ม กรัชกายก็รุ่มร้อน

เมื่อกรัชกายรุ่มร้อน โลหิตอุ่นที่คั่งก็พุ่งออกจากปาก.

ภิกษุ (อีก) ประมาณ ๖๐ รูป

คิดว่าการประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต

ในพระพุทธศาสนา ทำได้ยากหนอ

แล้วพากันลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป

ส่งญาณมุ่งตรงต่อเทศนาของพระศาสดา

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุเหล่าใด รากเลือด ภิกษุเหล่านั้นต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เหล่าใดสึกเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุเหล่านั้นพากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย.

ภิกษุเหล่าใดบรรลุพระอรหัต

ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล.

พระธรรมเทศนาของพระศาสดา

เกิดมีผลแม้แก่ภิกษุ ๓ จำพวก ดังกล่าวนี้.

       ถามว่า

พระธรรมเทศนาเกิดมีผลแก่ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัต

ยกไว้ก่อน อย่างไรจึงเกิดผลแก่ภิกษุนอกนี้. ?

ก็ว่า ก็ภิกษุแม้เหล่านั้น

ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้

เป็นผู้ประมาท ไม่พึงอาจละฐานะได้

แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น

จะพึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว

แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิดความสังเวช ละฐานะ.

ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐

ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ

บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นพระสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลก.

พระธรรมเทศนาได้มีผล

แม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก

ด้วยอาการอย่างนี้.

ฝ่ายภิกษุนอกนี้

ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้

เมื่อกาลล่วงไป ๆ

ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง ปาราชิกบ้าง

ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า

พระพุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ

พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้

จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม

จักพ้นจากทุกข์ได้

ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์.

ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในสรณะ ๓

รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม

บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล.

พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้.

อนึ่งหมู่เทพได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว

ได้เที่ยวไปบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่ได้ฟังทุกรูปทีเดียว.

ภิกษุทั้งหลายฟังแล้วคิดว่า

ท่านผู้เจริญ การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์

บริบูรณ์ตลอดชีวิต ในพระพุทธศาสนาทำได้ยาก.

ภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง

บอกลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ไปทันที.

          พระศาสดา เสด็จจาริกไปตามพอพระหฤทัย

ไม่เสด็จกลับไปพระเชตวันอีก จึงทรงเรียกภิกษุมาตรัสว่า 

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเมื่อเที่ยวจาริกไปอยู่คลุกคลีมานาน

ภิกษุทั้งหลายเราปรารถนาจะเร้นอยู่สักกึ่งเดือน

ใคร ๆ ไม่ต้องเข้าไปหาเรา

เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียวดังนี้

ทรงยับยั้งลำพังพระองค์เดียวกึ่งเดือน

เสด็จออกจากที่เร้น พร้อมด้วยพระอานนทเถระ

เสด็จจาริกกลับไปพระวิหาร ทรงเห็นภิกษุเบาบาง

ในที่ ๆ ทรงตรวจดูแล้วตรวจดูอีก

ถึงทรงทราบอยู่ ก็ตรัสถามพระอานนท์เถระว่า

อานนท์ ในเวลาอื่น ๆ

เมื่อตถาคตเที่ยวจาริกกลับมายังเชตวัน

ทั่ววิหารรุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวพัสตร์

คลาคล่ำไปด้วยผู้แสวงคุณ

แต่มาบัดนี้ ปรากฏว่าภิกษุสงฆ์เบาบางลง

และโดยมากภิกษุเกิดโรคผอมเหลืองขึ้น

นี่เหตุอะไรกันหนอ.

พระเถระกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ภิกษุทั้งหลายเกิดความวังเวช

จำเดิมแต่เวลาที่พระองค์แสดงพระธรรมเทศนา

อัคคิขันโธปมสูตร

คิดว่า พวกเรา ไม่สามารถจะปรนนิบัติธรรมนั้น

โดยอาการทั้งปวงได้

และการที่ภิกษุผู้ประพฤติไม่ชอบ

บริโภคไทยธรรม ที่เขาให้ด้วยศรัทธาของชน ไม่ควรเลย

จึงครุ่นคิดจะสึกเป็นคฤหัสถ์.

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดธรรมสังเวช.

ลำดับนั้น จึงตรัสกะพระเถระว่า

เมื่อเรายับยั้งอยู่ในที่หลีกเร้น

ใคร ๆ ไม่บอกฐานะอันเป็นที่เบาใจอย่างหนึ่ง

แก่เหล่าบุตรของเราเลย

เหตุอันเป็นที่เบาใจในศาสนานี้มีมาก

เหมือนท่าเป็นที่ลงสู่สาครทะเลฉะนั้น

ไปเถิด อานนท์ จงจัดพุทธอาสน์ ในบริเวณคันธกุฏี

จงให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน.

พระเถระได้กระทำอย่างนั้น.

พระศาสดา เสด็จสู่บวรพุทธอาสน์ 

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย นั่นเป็นส่วนเบื้องต้นทั้งหมดแห่งเมตตา

ไม่ใช่อัปปนา ไม่ใช่อุเบกขา

เป็นเพียงแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น.

จึงทรงแสดงอัจฉราสังฆาตสูตรนี้

เพื่อเป็นอัตถุปปัตติเหตุนี้.

          บรรดาบทเหล่านั้น 

บทว่า  อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตํ  ความว่า เพียงการดีดนิ้วมือ.

อธิบายว่า เพียงเอา ๒ นิ้วดีดให้มีเสียง.

บทว่า  เมตฺตจิตฺตํ  ได้แก่ 

จิตที่คิดแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์.

          บทว่า  อาเสวติ  ถามว่า ย่อมเสพอย่างไร ? 

แก้ว่า นึกถึงอยู่เสพ เห็นอยู่เสพ พิจารณาอยู่เสพ

ประคองความเพียรอยู่เสพ น้อมใจเชื่อเสพ

เข้าไปตั้งสติเสพ ตั้งจิตเสพ รู้ชัดด้วยปัญญาเสพ

รู้ยิ่งสิ่งที่ควรรู้ยิ่งเสพ กำหนดรู้สิ่งที่ควรกำหนดรู้เสพ

ละสิ่งที่ควรละเสพ เจริญสิ่งที่ควรเจริญเสพ

กระทำให้แจ้งสิ่งที่ควรทำให้แจ้งเสพ.

แต่ในที่นี้พึงทราบว่า

เสพด้วยเหตุสักว่าเป็นไปโดยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูล

ในส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา.

          บทว่า  อริตฺตชฺฌาโน  ได้แก่

ผู้มีฌานไม่ว่าง หรือไม่ละทิ้งฌาน.

บทว่า  วิหรติ  ความว่า 

ผลัดเปลี่ยนเป็นไปรักษาเป็นไปเอง

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ให้เป็นไป เที่ยวไป อยู่ 

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า  วิหรติ  ด้วยบทนี้

ท่านจึงกล่าวการอยู่ด้วยอิริยาบถ

ของภิกษุผู้เสพเมตตา.

          บทว่า  สตฺถุ สาสนกโร  ได้แก่ 

ผู้กระทำตามอนุสาสนี ของพระศาสดา

บทว่า  โอวาทปฏิกโร  ได้แก่ ผู้กระทำตามโอวาท. 

ก็ในเรื่องนี้ การกล่าวคราวเดียว ชื่อว่า โอวาท

การกล่าวบ่อย ๆ ชื่อว่า อนุสาสนี.

แม้การกล่าวต่อหน้า ก็ชื่อว่า โอวาท

การส่ง (ข่าว) ไปกล่าวลับหลัง ชื่อว่า อนุสาสนี.

การกล่าวในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า โอวาท.

ส่วนการกล่าวในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นหรือยังไม่เกิดขึ้น

ชื่อว่า อนุสาสนี.

พึงทราบความแปลกกันอย่างนี้.

แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์

คำว่า โอวาท หรืออนุสาสนีนั้น เป็นอันเดียวกัน

มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เข้ากันได้ เกิดร่วมกันนั้นนั่นแล.

ก็ในที่นี้ คำว่าภิกษุทั้งหลาย

หากภิกษุเสพเมตตาจิต แม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว

นี้แล เป็นคำสอนและเป็นโอวาทของพระศาสนา

พึงทราบว่า ภิกษุนั้น ชื่อว่า ผู้ทำตามคำสอน

และผู้สนองโอวาท เพราะปฏิบัติคำสอนและโอวาทนั้น.

          บทว่า  อโมฆํ  แปลว่า ไม่เปล่า.

บทว่า  รฏฺฐปิณฺฑํ  ความว่า บิณฑบาต (อาหาร) นั่นแล

ท่านเรียกว่า รัฏฐบิณฑะ (ก้อนข้าวของชาวแคว้น)

เพราะอาหารนั้น ภิกษุผู้สละเครือญาติ

อาศัยชาวแว่นแคว้น บวชแล้วได้จากเรือนของคนอื่น.

          บทว่า  ปริภุญฺชติ  ความว่า บริโภค มี ๔ อย่าง คือ

เถยยบริโภค อิณบริโภค ทายัชชบริโภค สามิบริโภค.

ในบริโภค ๔ อย่างนั้น

การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่า  เถยยบริโภค.

การบริโภค

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ปัจจัยที่ไม่ได้พิจารณาของผู้มีศีล ชื่อว่า  อิณบริโภค.

การบริโภคของพระเสขบุคคล ๗ จำพวก

ชื่อว่า  ทายัชชบริโภค.

การบริโภคของพระขีณาสพ ชื่อว่า  สามิบริโภค.

ใน ๔ อย่างนั้น

การบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นนี้ ของภิกษุนี้

ย่อมไม่เสียเปล่าด้วยเหตุ ๒ ประการ.

ภิกษุผู้เสพเมตตาจิตแม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว

ชื่อว่าเป็นเจ้าของก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นบริโภค

แม้เพราะเหตุนั้น

การบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นของภิกษุนั้น

ชื่อว่า ไม่เสียเปล่า.

ทานที่เขาให้แก่ภิกษุผู้เสพเมตตาแม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว

ย่อมมีความสำเร็จมาก มีผลมาก มีอานิสงส์มาก

มีความรุ่งเรืองมาก มีความกว้างขวางมาก

เพราะเหตุนั้น การบริโภคข้าวของชาวแคว้นของภิกษุนั้น

ไม่เป็นโมฆะ ไม่เสียเปล่า

บทว่า  โก ปน วาโท เย นํ พหุลีกโรนฺติ  ความว่า 

ควรกล่าวได้แท้ในข้อนี้ว่า

ภิกษุเหล่าใด ส้องเสพ เจริญให้มาก ทำบ่อย ๆ ซึ่งเมตตาจิตนี้

ภิกษุเหล่านั้น

ย่อมบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ไม่เสียเปล่า

เพราะภิกษุ เห็นปานนี้

ย่อมเป็นเจ้าของก้อนข้าวชาวแว่นแคว้น ไม่เป็นหนี้

เป็นทายาทบริโภค.

 

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

 

http://www.tripitaka91.com/32-112-14.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------

 

“เหตุและปัจจัยที่ทำให้

พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน

และพระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน

เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”

 

“พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว

พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน

ดูก่อนกิมพิละ

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน

ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.”

 

“ดูก่อนกิมพิละ

เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว

พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม

เป็นผู้มีความเคารพมีความยำเกรงในสงฆ์

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน

ดูก่อนกิมพิละ

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน

ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.”

 

https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/895-36-446

 

เล่ม ๓๖ หน้า ๔๔๖-๔๔๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๓๙-๔๔๑ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓

 

๑. กิมพิลสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม

 

          [๒๐๑]  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันใกล้เมืองกิมิลา

ครั้งนั้น ท่านพระกิมพิละ

ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย

เครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน

ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว

พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน

ดูก่อนกิมพิละ

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน

ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

          กิม.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน

ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

       พ.   ดูก่อนกิมพิละ

เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว

พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม

เป็นผู้มีความเคารพ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๔๔๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

มีความยำเกรงในสงฆ์

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน

ดูก่อนกิมพิละ

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน

ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

 

จบกิมพิลสูตรที่  ๑

 

ปัญจมปัณณาสก์

กิมพิลวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถากิมพิลสูตร

 

          พึงทราบวินิจฉัยในกิมพิลสูตรที่ ๑ แห่งปัณณาสก์ที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

          บทว่า  กิมฺพิลายํ  ได้แก่ ในเมืองที่มีชื่ออย่างนี้.

บทว่า  เวฬุวเน  คือ ในป่ามุขจลินท์.

บทว่า  เอตทโวจ  ได้ยินว่า

พระเถระนี้ เป็นบุตรเศรษฐีในเมืองนั้น

บวชในสำนักของพระศาสดา ได้บุพเพนิวาสญาณ

พระเถระนั้น เมื่อระลึกถึงขันธสันดานสืบต่อขันธ์อันตนเคยอยู่แล้ว

บวชแล้ว ในเวลาที่ศาสนาของพระกัสสปทศพลเสื่อม.

เมื่อบริษัท ๔ ทำความไม่เคารพในศาสนาอยู่

จึงพาดบันไดขึ้นภูเขา ทำสมณธรรมบนภูเขานั้น

ได้เห็นความที่ตนเคยอยู่แล้ว.

ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว

หมายจะทูลถามถึงเหตุนั้นดังนี้

แล้วจึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า  โก   นุ  โข  ภนฺเต  ดังนี้

กะพระศาสดานั้นอย่างนี้.

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๔๔๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บทว่า  สตฺถริ  อคารวา  วิหรนฺติ  อปฺปติสฺสา  ความว่า

ย่อมไม่ตั้งความเคารพและความเป็นใหญ่

ไว้ในพระศาสดา.

แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

          ในบทเหล่านั้น

ภิกษุเมื่อเดินกั้นร่ม

สวมรองเท้าที่ลานพระเจดีย์ เป็นต้นก็ดี

พูดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มีประการต่าง ๆ ก็ดี

ชื่อว่า ไม่เคารพในพระศาสดา.

อนึ่ง นั่งหลับในโรงฟังธรรมก็ดี

พูดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มีประการต่าง  ๆ ก็ดี

ชื่อว่า ไม่เคารพในพระธรรม.

เมื่อพูดถึงเรื่องต่าง ๆ ยกแขนส่ายในท่ามกลางสงฆ์

ไม่ทำการยำเกรงในภิกษุผู้เถระ

ผู้นวกะ (ผู้ใหม่) และผู้มัชฌิมะ (ผู้ปานกลาง)

ชื่อว่า ไม่เคารพในสงฆ์อยู่.

เมื่อไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์

ชื่อว่า ไม่เคารพในสิกขา

เมื่อทำการทะเลาะบาดหมางเป็นต้น

กะกันและกัน

ชื่อว่า ไม่เคารพกันและกัน.

 

จบอรรถกถากิมพิลสูตรที่  ๑

 

http://www.tripitaka91.com/36-446-2.html

 

https://www.youtube.com/watch?v=-MYnq_GII3E

 

---------------------------------------------------------------------------------------

 

รวมเรื่อง พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ

หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/823-sum

 

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbsNWJaa_PTjRst5_A

 

รวมเรื่องโยม เตือนหรือขับไล่

พระภิกษุ ก็ได้ (ถ้าพระผิด)

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbpwchEk2prUGnOPFw

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994